ประธานเหมาวัยหนุ่มกับชีวิต“เสมียน”ที่หอสมุด ม.ปักกิ่ง (2)

2021-10-07 17:13:23 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

การเดินทางจาก “บ้านนอก” มณฑลหูหนาน มายังกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงในเดือนสิงหาคมปี 1918  ทำให้เหมา เจ๋อตง (毛泽东,ค.ศ.1893-1976) หรือ “ประธานเหมา” เปิดหูเปิดตามากขึ้น นี่เป็นครั้งแรกที่เหมา เจ๋อตงเยือนกรุงปักกิ่ง ปีนั้น เขาอายุ 25 ปี

แต่เมืองหลวง “ข้าวยากหมากแพง” การใช้ชีวิตไม่ง่ายนัก เหมา เจ๋อตงจึงต้องการหางานทำเพื่อหารายได้ประทังชีพโดยเร็ว

ประธานเหมาวัยหนุ่มกับชีวิต “เสมียน” ที่หอสมุด ม.ปักกิ่ง (2)_fororder_2.1

ศ.หยาง ชางจี้ (杨昌济, ค.ศ.1871-1920)

เดือนกันยายนปี 1918 ศ.หยาง ชางจี้ (杨昌济, ค.ศ.1871-1920) ชาวมณฑลหูหนาน คุณครูของเหมา เจ๋อตง ผู้ซึ่งกำลังสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ได้เสนอให้เหมา เจ๋อตงไปเป็น “เสมียน” (พนักงานผู้ช่วย) ที่ห้องอ่านหนังสือของหอสมุดมหาวิทยาลัยปักกิ่ง หน้าที่คือจัดระเบียบหนังสือ (จัดเก็บหนังสือ) และทำความสะอาจห้อง เงินเดือน 8 หยวน ซึ่งถือว่าเป็นรายได้ค่อนข้างสูงแล้วเมื่อร้อยปีก่อน

ตอนนั้น นายหลี่ ต้าเจา (李大钊, ค.ศ. 1889-1927) เป็นผู้อำนวยการหอสมุดมหาวิทยาลัยปักกิ่ง อัตราเงินเดือนอยู่ที่ 120 หยวน เมื่อพบเหมา เจ๋อตงแล้ว เขาก็ชื่นชอบเหมา เจ๋อตงกัน และสังเกตว่า เหมา เจ๋อตงเป็นนักอ่านหนังสือ เป็นคนมีความสามารถ เป็น “ผู้นำวัยหนุ่มสาวมณฑลหูหนาน”

เมื่อมีคำถาม เหมา เจ๋อตงก็มักจะถามนายหลี่ ต้าเจา ผู้เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยปักกิ่ง

ประธานเหมาวัยหนุ่มกับชีวิต “เสมียน” ที่หอสมุด ม.ปักกิ่ง (2)_fororder_2.2

นายหลี่ ต้าเจาเป็นนักการปฏิวัติผู้เผยแพร่ลัทธิมาร์กซิสต์ ภายใต้การชี้นำของนายหลี่ ต้าเจา ทำให้เหมา เจ๋อตงกับเพื่อนนักศึกษาในมหาวิทยาลัยปักกิ่งและอีกหลายมหาวิทยาลัยในจีนเข้าใจการปฏิวัติเดือนสิบปี 1917 ของรัสเซียและลัทธิมาร์กซิสต์มากขึ้น ร่วมหาทางกู้ชาติ ช่วยชาติให้พ้นจากภาวะลำบากและเจริญรุ่งเรืองขึ้นใหม่ ให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีขึ้น

ห้องอ่านหนังสือของหอสมุดมหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นห้องอ่านหนังสือพิมพ์ มีหนังสือพิมพ์ทั้งภาษาจีน ภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่น รวม 15 ฉบับ เหมา เจ๋อตงทำหน้าที่บันทึกผู้อ่าน จัดเก็บหนังสือ และทำความสะอาจห้อง

เหมา เจ๋อตงในวัยหนุ่มถนอมวันเวลา มุ่งมั่นศึกษาเต็มที่ นอกเวลาทำงาน เขาขยันอ่านหนังสือที่หอสมุดมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ใช้ชีวิตอย่างสว่างไสว

ประธานเหมาวัยหนุ่มกับชีวิต “เสมียน” ที่หอสมุด ม.ปักกิ่ง (2)_fororder_2.3

ตำแหน่งงาน “เสมียน” (พนักงานผู้ช่วย) ที่ห้องอ่านหนังสือของหอสมุดมหาวิทยาลัยปักกิ่งทำให้เหมา เจ๋อตง วัย 25 ปีเข้าถึงความรู้ ทฤษฎี แนวคิดสมัยใหม่จากทั่วโลก รวมถึงสถานการณ์โลกมากขึ้น

เหมา เจ๋อตงย้อนรำลึกหลายครั้งว่า หนังสือที่เขาเคยอ่านที่กรุงปักกิ่ง รวมถึงหนังสือแถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto) ที่แปลเป็นฉบับภาษาจีน และหนังสือเกี่ยวกับสภาพของรัสเซีย “ทำให้ผมทราบว่าตั้งแต่มีประวัติศาสตร์มนุษย์เป็นต้นมา ก็มีการต่อสู้ระหว่างชนชั้น การต่อสู้ทางชนชั้นเป็นแรงขับเคลื่อนดั้งเดิมในการพัฒนาสังคม และทำให้ผมพบหนทางในการเข้าใจปัญหาต่างๆ ในเบื้องต้น”

ทั้งนี้ เรื่องประธานเหมาวัยหนุ่มกับชีวิต “เสมียน” (พนักงานผู้ช่วย) ที่หอสมุด ม.ปักกิ่ง ปี 1918 มีการเขียนไว้ในหนังสือ “Red Star Over China” ตอนที่ Edgar Snow ผู้สื่อข่าวสหรัฐสัมภาษณ์ประธานเหมาเมื่อปี  1935 ผู้ที่สนใจสามารถอ่านจากหนังสือเล่มนี้ได้

(TIM/LING)

(ลิขสิทธิ์เป็นของ China Face)

  • เสียงข่าวประจำวัน (28-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (28-03-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (28-03-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (27-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (27-03-2567)

崔沂蒙