วัดฝ่าไห่ (ตอนที่ 2)

2021-12-30 18:09:53 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

วัดฝ่าไห่ (ตอนที่ 2)

วิหารหลักของวัดฝ่าไห่ ชาวจีนเรียกกันว่า “ต้าสงเป่าเตี้ยน” จะเป็นสิ่งก่อสร้างหลักของวัดทั่วไป วิหารแห่งนี้สร้างขึ้นมาเป็นหลังคาสีทอง แสดงว่าเป็นวัดที่มีความสำคัญยิ่ง ส่วนภาพวาดบนฝาผนังในวิหารนั้น เป็นฝีมือของช่างวาดจากพระราชวังสมัยราชวงศ์หมิง นับเป็นผลงานจิตรกรรมภาพวาดฝาฝนังสมัยในปักกิ่งที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานที่สุดและสมบูรณ์ที่สุด และมีฐานะสำคัญในศิลปะภาพวาดฝาผนังของจีน

วัดฝ่าไห่ (ตอนที่ 2)

ภาพวาดฝาผนังวาดอยู่บนผนังในวิหาร ทั้งภาพวาดของพระโพธิสัตว์และเรื่องเล่าทางด้านศาสนาพุทธ ภาพวาดเหล่านี้ แม้ว่าห่างจากปัจจุบันกว่า 580 ปีแล้ว แต่ยังมีสีสันสดใส เป็นอัญมณีล้ำค่าทางพุทธศิลป์ ในภาพวาดดังกล่าว มีเทพเซียนรวม 77 องค์ ท่าทีลีลาแตกต่างกัน  อาทิ องค์เง็กเซียนฮ่องเต้ มเหสี พระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้า สาวก เป็นต้น บุคคลเหล่านี้ บ้างสูงเกือบ 2 เมตร บ้างสูงเพียง 50 เซนติเมตร และมีเมฆมงคล ดอกไม้มงคล สัตว์มงคล ที่ขึ้นชื่อที่สุดคือภาพของจันทราวารีอวโลกิเตศวร ที่ชาวจีนเรียกกันว่า “สุ่ยเย่ว์กวนอิม” ใบหน้าเต็มไปด้วยเมตตา เครื่องแต่งกายมีความประณีต และประกอบด้วยวัตถุดิบที่ล้ำค่า จนกล่าวได้ว่า ภาพวาดเหล่านี้ บางจุดมีการปิดทอง ซึ่งทองคำที่ใช้เป็นวัตถุดิบชนิดหนึ่งนั้น นับเป็นวัตถุดิบที่ราคาถูกที่สุดในบรรดาวัตถุดิบที่ใช้ในการสร้างภาพวาดเหล่านี้

วัดฝ่าไห่ (ตอนที่ 2)

เนื่องจากว่าแสงจะมีผลกระทบต่อสีของภาพวาด ปัจจุบัน ภาพวาดเหล่านี้ได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นพิเศษ หากมีนักท่องเที่ยวสนใจอยากจะเข้าไปชมภาพวาดในวิหารหลัก ต้องจองตั๋วล่วงหน้า ไปถึงวิหารตามเวลาที่กำหนดไว้ ก่อนที่จะเข้าไปจะต้องสวมถุงคลุมรองเท้าเพื่อกันฝุ่นด้วย และเจ้าหน้าที่จะมีการแจกไฟฉายเพื่อส่องดูภาพวาดฝาผนัง มีเจ้าหน้าที่พาชมและอธิบายรายละเอียดให้ฟังด้วยการส่องไฟฉาย ห้ามถ่ายรูปหรือวิดีโอหากไม่ได้รับอนุญาต แต่เพื่อให้นักท่องเที่ยวสมหวังกับการได้ถ่ายรูป จึงมีการจำลองภาพวาดเหล่านี้ไว้ที่วิหารเภษัชยคุรุที่อยู่ข้างหลังวิหารหลัก สวยเหมือนกัน

Yim/Ping/Ping

  • เสียงข่าวประจำวัน (18-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (18-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (18-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (17-11-2567)

  • เกาะกระแสจีน (16-11-2567)

崔沂蒙