ครบรอบ 5 ปีการจัดประชุมสุดยอด 1 แถบ 1 เส้นทาง : รู้จัก“เส้นทางสายไหมดิจิทัล”

2022-05-18 22:21:30 | CMG
Share with:

ครบรอบ 5 ปีการจัดประชุมสุดยอด 1 แถบ 1 เส้นทาง : รู้จัก“เส้นทางสายไหมดิจิทัล”

“Digital Silk Road” (DSR) หรือ เส้นทางสายไหมดิจิทัล เปิดตัวอย่างเป็นทางการโดย “สมุดปกขาว” (White Paper) ของรัฐบาลจีน หรือ รายงานทางการจากสำนักงานสารนิเทศแห่งคณะรัฐมนตรีจีน (国务院新闻办公室) ซึ่งเผยแพร่อย่างเป็นทางการในปี 2015 สมุดปกขาวฉบับนี้เป็นประกาศสะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่เป็นนโยบายของฝ่ายจีนต่อการประเมินสถานการณ์ทางด้านเทคโนโลยีในโลกดิจิทัลของประชาคมโลก

นโยบาย “เส้นทางสายไหมดิจิทัล” เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative : BRI) ซึ่งประกอบด้วยความเชื่องโยงหลายมิติ ได้แก่ (1) ความเชื่อมโยงของโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่งกับนานาประเทศ เช่น เส้นทางรถไฟอี้อู-ลอนดอน (Yiwu-London railway)  ระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน (China-Pakistan Economic Corridor)  ท่าเรือน้ำลึกฮัมบานโตตา ประเทศศรีลังกา (Hambantota port) และ “รถไฟจีน-ลาว” (China-Laos railway) ที่เปรียบเหมือนระบบกระดูกของมนุษย์ (Human Bones & Skeletal System) (2) ความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐานทางพลังงานกับนานาประเทศ เช่น ท่อส่งก๊าซจีน-รัสเซีย (China & Russia's Gas Pipeline Project)  โครงการไฟฟ้าพลังน้ำร่วมจีน-ปากีสถาน (China-Pakistan  joint Hydropower Project)  โครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ เซวานตอนล่างในประเทศกัมพูชา (The Lower Sesan 2 (LS2) dam is a Hydropower Project) และโครงการท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจีน-พม่า (China-Myanmar joint oil and gas Pipeline Project) ที่เปรียบเหมือนระบบโครงสร้างของเส้นเลือดที่ไหลเวียนในร่างกายของมนุษย์ (Circulatory System in Human) (3) ความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมและโครงสร้างดิจิทัล เช่น โครงการไฟเบอร์ออปติกปากีสถาน-จีน (Pakistan-China – Fiber Optic Project) ความร่วมมือจีน-ชาติอาหรับ (China-Arab States cooperation Forum หรือ CASCF) และ ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank หรือ AIIB) ที่เปรียบเหมือนระบบประสาทของมนุษย์ (Human Nervous System)

“การปักหมุดด้านดิจิทัล” ของนโยบายเส้นทางสายไหมดิจิทัล (DSR)  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) เรียกว่าคือ “ความฝันของชาวจีน” (Chinese Dream /中国梦) ในการผลักดันการฟื้นฟูครั้งใหญ่แห่งประชาชาติจีน (The Chinese Dream of Great National Rejuvenation  /中华民族伟大复兴) ซึ่งเห็นได้ชัดเจนในชีวิตประจำวันของประชากรยุคเทคโนโลยี 5G หรือ เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ที่กล่าวได้ว่าอุปกรณ์และสิ่งต่าง ๆ ได้ถูกเชื่อมโยงสู่โลกอินเตอร์เน็ต ทั้งเรื่องการเก็บข้อมูล Big Data ที่แม่นยำและเป็นปัจจุบัน การเชื่อมต่อของ IoT ถือเป็นตัวกำหนดการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจในอนาคตส่งผลต่อการค้าและการดำเนินชีวิตทั่วโลก เห็นได้จากการเดินสายเคเบิลใยแก้วนำแสง การจัดทำอุปกรณ์เครือข่าย โครงการที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอวกาศ แผนพัฒนาเทคโนโลยี 5G ศูนย์ข้อมูลและการวิจัยโครงการเมืองอัจฉริยะ (Smart City) แพลตฟอร์ม e-Commerce ตลอดจนการเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชนให้สามารถชำระเงินผ่านระบบ e-Payment เกือบทั่วประเทศโลก ซึ่งจีนให้ความช่วยเหลือด้านเส้นทางสายไหมดิจิทัลมุ่งสู่การปรับปรุงเครือข่ายโทรคมนาคมของผู้ใช้บริการ ยังให้การสนับสนุนบริษัทเทคโนโลยีจีนที่มีชื่อเสียง เช่น Baidu, Alibaba, Tencent และ Huawei ขยายตลาดออกมานอกประเทศจีน ภายใต้เทคโนโลยีที่มีความสำคัญกับการลงทุน ได้แก่ ด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) และสิ่งที่น่าสนใจในช่วงยุค “New normal” ของโรคระบาดไร้พรมแดน COVID-19 ที่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2020 ทำให้ทุกคนต้องเว้นระยะห่างในการใช้ชีวิต การเดินทางไปในสถานที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะระหว่างประเทศมีความลำบากมากขึ้น อุปสรรคเหล่านี้เองที่ทำให้ China Social Media Marketing เติบโตขึ้น ระบบออนไลน์การซื้อขายสินค้าของจีน ผ่านแพลตฟอร์ม  e-Commerce ที่มีอยู่หลากหลายในจีนไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการอย่าง Tmall, JD.com หรือ Taobao ต่างก็ขับเคี่ยวและแข่งขันกันอย่างน่าสนใจ ซึ่งทำให้จำนวนผู้ใช้งานด้าน e-Commerce เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 610 ล้านคนในปี 2018 เพิ่มเป็น 749 ล้านคนในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2020 อีกทั้ง“WeChat” แอปพลิเคชันยอดนิยมที่ให้บริการติดต่อสื่อสารมัลติมีเดียและสังคมออนไลน์อยู่ในชีวิตประจำวันของคนจีนทุกจังหวะนาที มีการใช้งานได้ทั้งบนแพลตฟอร์มของ iPhone, Android และ Windows  ได้เชื่อมต่อสู่เครือข่ายสังคม (Social Network Integration) ทำให้มีจำนวนผู้ใช้บริการจากประเทศต่าง ๆ ที่ต้องการสื่อสารกับคนจีนมีจำนวนมากขึ้น

โครงการเส้นทางสายไหมดิจิทัลนอกจากจะเป็นการสร้างนวัตกรรมให้กับโลกที่เชื่อมโยงประเทศต่าง ๆ เข้าด้วยกันภายใต้เทคโนโลยีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ที่กำลังมีบทบาทมากขึ้นในชีวิตประจำวันของมนุษย์โลก รวมถึงบริษัทดิจิทัลชั้นนำของจีนที่สามารถตอบโจทย์ธุรกิจยุคดิจิทัล คือ

กลุ่มนวัตกรรมเศรษฐกิจดิจิทัล

Digital Economy Innovative Enterprises

กลุ่มนวัตกรรมซอฟต์แวร์ของจีน

Chinese Innovative Software Enterprises

กลุ่มบริษัทอินเทอร์เน็ตจีน

Chinese Internet Companies

Huawei (华为)

Inspur (浪潮)

Alibaba (阿里巴巴)

Tsinghua Unigroup (紫光集团)

Xiaomi (小马智行科技)

Tencent (腾讯公司)

Haier (海尔)

iFlytek (科大讯飞)

Baidu (百度)

Hikvision (海康威视)

Hikvision (海康威视)

JD.com (京东)

Midea (美的)

Horizon Robotics (地平线科技)

Ant Financial (蚂蚁金服)

เส้นทางการเติบโตสู่ผู้นำด้านเทคโนโลยีจีนจึงไม่ใช่เรื่องที่เหนือความคาดหมายของจีน เพราะความตั้งใจที่เดินหน้าการวิจัยและพัฒนาอย่างจริงจังของรัฐบาลจีนเรื่อง เส้นทางสายไหมทางดิจิทัล (DSR) เป็นเป้าหมายของจีนในการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อเชื่อมต่อกับประเทศต่าง ๆ ด้วย ยุทธศาสตร์การหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ที่นอกจากเชื่อมโยงเศรษฐกิจของทวีปเอเชีย ยุโรป และแอฟริกาเข้าด้วยกัน ทั้งเส้นทางสายไหมทางบก (Silk Road Economic Belt : One Belt) และเส้นทางสายไหมทางทะเล (Maritime Silk Road : One Road) จีนในฐานะที่เคยเป็นผู้ตามเทคโนโลยีแต่ทันทีที่จีนพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่าย 5G แบบสแตนด์อโลน (stand-alone 5G network)  ได้สำเร็จ และจีนได้ทดลองใช้เป็นประเทศแรก ๆ ของโลก ภาพลักษณ์ใหม่ของจีนกลายเป็นมหาอำนาจผู้นำด้านเทคโนโลยี ประชากรของจีนเป็นกลุ่มประชากรดิจิทัลมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี

ในฟอรั่มความร่วมมือระหว่างประเทศ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ณ กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2017 ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ยังกล่าวไว้ว่า จีนจะสร้าง“Digital Silk Road” เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญต่อการพัฒนาประเทศตามแนวคิดยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative โดยมุ่งเน้นที่เศรษฐกิจดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีควอนตั้ม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดเส้นทางสายไหมทางดิจิทัล ได้แก่ เคเบิลออปติกทางบกและใต้ทะเล ระบบดาวเทียมสำรวจและสื่อสาร การติดต่อสื่อสารผ่านระบบ 5G  เทคโนโลยีดิจิทัลหรือแอปพลิเคชั่นใหม่ ๆ ทำให้การสร้างความเป็นอุตสาหกรรมเชิงดิจิทัล (Digital Industrialization) และการสร้างความเป็นดิจิทัลให้แก่อุตสาหกรรม (Industry Digitalization) ในอนาคตเติบโตตามนโยบายเส้นทางสายไหมดิจิทัลที่จะยกระดับความร่วมมือในมิติของเศรษฐกิจดิจิทัล ภูมิรัฐศาสตร์ และระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

อ.ดร.ชาดา เตรียมวิทยา

อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาจีน ภาควิชาภาษาจีนเพื่ออุตสาหกรรม คณะศิลปศาสตร์

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

และ

รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการ 42 บางกอก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

  • เสียงข่าวประจำวัน (20-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (20-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (20-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (19-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (19-11-2567)

张鸿泽