วันที่ 25-26 พฤษภาคมที่ผ่านมา สหพันธ์เยาวชนแห่งชาติจีนจัดงานเสวนาออนไลน์ว่าด้วยการบุกเบิกธุรกิจของกลุ่มเยาวชนในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง
นางต่ง เสีย รองเลขาธิการสหพันธ์เยาวชนแห่งชาติจีน เจ้าภาพจัดงานกิจกรรมครั้งนี้กล่าวว่า ปีที่แล้ว ยอดการค้าระหว่างจีนกับประเทศลุ่มแม่น้ำโขงมีมากกว่า 4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 ความร่วมมือระหว่างลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงได้แสดงบทบาทต่อการพัฒนาส่วนภูมิภาค
ในงานเสวนา นางไฉ เสวียน หนึ่งในผู้รับผิดชอบโครงการรถไฟจีน-ไทยได้แบ่งปันประสบการณ์ของเธอ
รถไฟจีน-ไทยเป็นโครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ที่ร่วมสร้างระหว่างสองประเทศด้วยคุณภาพสูง เป็นรถไฟความเร็วสูงแห่งแรกของไทย ก็เป็นโครงการรถไฟความเร็วสูงที่ต่างประเทศใช้มาตรฐานจีนและลงทุนด้วยประเทศต้น ซึ่งเริ่มต้นจากกรุงเทพฯ สู่ชายแดนไทย-ลาว
นางไฉ เสวียนเป็นผู้จัดการงานสัญญาที่ 4-3 ของโครงการรถไฟจีน-ไทยซึ่งก่อสร้างโดยกรมที่ 8 บริษัทวิศวกรรมการก่อสร้างแห่งรัฐของจีน เป็น 1 ใน 9 สัญญาที่เริ่มก่อสร้างแล้วในรถไฟจีน-ไทยแฟสแรก (ช่วงกรุงเทพฯ- นครราชสีมา) มีระยะยาวประมาณ 23 กิโลเมตร โครงการหลักได้แก่ สะพานคานรูปกล่องและพื้นฐานระบบราง 23 กิโลเมตร สิ่งก่อสร้างระบบระไฟฟ้า ระบบระบายน้ำ ถนนและสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานอื่น ๆ
รางรถไฟใหม่เป็นคู่ขนานกับรางรถไฟที่มีอยู่แล้ว พื้นที่ก่อสร้างอยู่ห่างจากตัวเมือง หลีกเลี่ยงที่ชุมนุม คำนึงถึงสภาพแวดล้อมและสังคมท้องถิ่น ในกระบวนดำเนินโครงการ ยึดแนวคิดการก่อสร้างแบบสีเขียวมาโดยตลอด ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำสักหยด ไม่บุกรุกที่ดินสักไร่ นอกพื้นที่ก่อสร้างตั้งรั้วเหล็กสีความสูง 3 เมตรลดเสียงรบกวน ลดผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียง และจัดรถสาดน้ำในบริเวณและแนวทางพื้นที่ก่อสร้างทุกวันเพื่อกำจัดฝุ่น
การก่อสร้างรถไฟจีน-ไทยนับเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจและคมนาคมของไทย หลังจากรถไฟจีน-ไทยสร้างเสร็จแล้ว จะเชื่อมกับรถไฟจีน-ลาว ตรงไปสู่เมืองคุนหมิงของจีน จนกลายเป็นช่องทางระหว่างประเทศ การไปมาหาสู่กันด้านบุคลากรและสินค้าระหว่างจีน-ไทยจะสะดวกสบายมากขึ้น
(Cui)