สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีรับสั่งขณะพระราชทานสัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุซีอาร์ไอว่า
"มิตรที่ดีที่สุดของจีนในโลกคนอื่น ๆ ล้วนเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงมาก พวกเขาได้สร้างคุณูปการอันใหญ่หลวงแก่จีน ข้าพเจ้าต้องศึกษาเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มากจากพวกเขา ถ้ามีบุคคลหนึ่งบุคคลใดได้สร้างคุณูปการต่อการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและพัฒนามิตรสัมพันธ์กับจีน เราก็ต้องแนะนำบุคคลเหล่านี้ให้ชาวจีนรู้จัก "
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงสนพระทัยภาษาจีนและวัฒนธรรมจีนเป็นพิเศษ ขณะพระราชทานสัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอ ได้ทรงเล่าพระราชทานให้ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอฟังถึงสาเหตุที่เลือกเรียนภาษาจีนว่า เป็นข้อเสนอของสมเด็จแม่(สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ)
"ตอนนั้น ข้าพเจ้าเพิ่งเรียนจบจากมหาวิทยาลัย ตอนแรกข้าพเจ้าคิดว่าจะเลือกเรียนภาษาเยอรมัน แต่สมเด็จแม่ได้รับสั่งว่า เรียนภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ล้วนเป็นภาษาตะวันตก คิดว่าน่าจะเรียนภาษาจีน ภาษาจีนเป็นภาษาประเทศตะวันออก คิดว่าคงจะเป็นประโยชน์มากกว่า ข้าพเจ้าคิดว่า การเลือกเช่นนี้ถูกต้อง "
นับแต่นั้นมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงสนพระทัยวัฒนธรรมจีนอย่างมาก ตั้งแต่ปี ๑๙๘๐ เป็นต้นมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงศึกษาภาษาจีนและวัฒนธรรมจีนด้วยความพากเพียรวิริยะ โดยทรงรับการถวายการสอนจากครูสอนภาษาจีน ๙ ท่านตามลำดับ จนไม่เพียงแต่ทรงรับสั่งด้วยภาษาจีนได้อย่างคล่องแคล่วเท่านั้น หากยังทรงพระราชนิพนธ์แปลกวีจีนและนวนิยายจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทกวีสมัยราชวงศ์ถังและสมัยราชวงศ์ซ่งของจีนอย่างมากและลึกซึ้ง ทรงพระราชนิพนธ์แปลบทกวีจีนสมัยราชวงศ์ถังกว่า ๑๐๐ บทจากจีนเป็นไทย
นอกจากทรงศึกษาร้อยกรองและบทกวีจีน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารียังทรงพรปรีชาด้านวรรณกรรมยุคปัจจุบันของจีนอย่างมากและลึกซึ้ง ทรงพระราชนิพนธ์แปลนวนิยายของนายหวังเหมิง นักเขียนจีนเรื่อง " ผีเสื้อ" และ ผลงานของนางฟังฟัง นักเขียนจีนเรื่อง "เมฆเหิน น้ำไหล" จากจีนเป็นไทย ทรงถ่ายทอดชีวิตสังคมจีนให้คนไทยรู้จัก
หลังจากทรงศึกษาภาษาและวัฒนธรรมจีนแล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงหวังที่จะสัมผัสสังคมจีน และการใช้ชีวิตในประเทศจีน ตั้งแต่ปี 1981 เป็นต้นมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเสด็จเยือนจีนกว่า 20 ครั้ง ทรงทัศนศึกษาทั่วประเทศจีน ทุกครั้งที่ทรงเสร็จสิ้นการปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการเสด็จเยือนจีน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่ทรงพบเห็นในจีน ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง "ย่ำแดนมังกร" "ใต้เมฆที่เมฆใต้" "มุ่งไกลในรอยทราย" พระราชนิพนธ์เหล่านี้ได้ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงในประเทศไทย มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ประชาชนไทยเข้าใจและเรียนรู้ประเทศจีนได้มากขึ้น ในช่วง 28 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่ทรงเสด็จเยือนจีนเป็นครั้งแรกเมื่อปี1981 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นสักขีพยานในการเปลี่ยนแปลงของจีนหลังดำเนินการปฏิรูปและเปิดประเทศ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมีพระราชดำรัสว่า