ส่วนประเทศจีนยิ่งสูงประมาณ 40% รวมทั้งนักเรียนนักศึกษาที่ขาดนอนมีประมาณ 50% ปัญหานอนไม่หลับเป็นอุปสรรคยิ่งใหญ่มากและส่งผลกระทบแรงมากต่อคุณภาพชีวิต ผลการวิจัยทางการแพทย์พบว่า ขาดนอนหนึ่งคืนสองคืนจะทำให้วันที่สองอ่อนเพลีย และรับประทานอาหารไม่อร่อย แต่หากนอนไม่หลับเป็นเวลานานก็จะทำให้ไม่มีสมาธิในการทำงาน การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและหน้าที่การงานเสียไป
ไม่สามารถทำงานที่ซับซ้อนที่ต้องการการตัดสินใจฉับไวได้ จนกระทั่งบางคนเป็นโรคซึมเศร้า ที่สาหัสร้ายแรงที่สุดอาจจะถึงขนาดฆ่าตัวตายได้
ด้วยเหตุนี้ ตั้งแต่ปี 2001 องค์การอนามัยด้านประสาทและจิตเวชระหว่างประเทศ กำหนดวันที่ 21 มีนาคมทุกปีเป็นวันนอนหลับโลก เพื่อรณรงค์ให้ผู้คนทั้งหลายตื่นตัวในความสำคัญเรื่องนอนหลับและสนใจเรื่องการนอน ลดปัญหาการนอนในสังคม และยกคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้น ด้วยการป้องกัน
การกำหนดวันที่ 21 มีนาคมทุกปีเป็นวันนอนหลับโลก ก็เพราะว่า ช่วงเดือนมีนาคมนี้ ประเทศส่วนใหญ่กำลังเปลี่ยนฤดูกาล เช่น จีนกำลังเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ เป็นฤดูที่นอนหลับง่าย การจัดกิจกรรมวันนอนหลับโลกเหมาะสมกับอากาศเลย จีนเริ่มจัดงานวันนอนหลับโลกตั้งแต่ปี 2003 โดยสถาบันวิจัยการนอนของจีน เพื่อปลูกจิตสำนึกในการให้ความสำคัญกับเรื่องนอน
สำหรับประชาชนโดยทั่วไป วันนอนหลับโลกยังเป็นคำที่แปลกหน้าโดยเฉพาะหนุ่มสาว วัยกลางคน ทั้งๆ ที่มีปัญหาการนอนเด่นชัดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ค่อยสนใจเท่าไร บางคนไปซื้อยากินเอง บางคนอดทนไว้ ซึ่งไม่สามรถแก้ไขได้จากต้นเหตุ
การนอนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสุขภาพจิตและกายทุกคน นักวิทยาศาสตร์พบว่า คนเราอดอาหารอยู่ได้ 3 สัปดาห์ แต่หากอดนอน 3 คืน ก็จะเกิดอาการหงุดหงิด เครียด ไม่อยากทานข้าว จิตใจแปรปรวน วิตกกังวลง่าย ขี้หลงขี้ลืม ไม่สนใจเรื่องทุกอย่าง บางคนอาจจะเกิดประสาทหลอน จนกระทั่งทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตเป็นปกติได้
พูดง่ายๆ การนอนไม่หลับจะทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นหวัดง่าย อาจจะเป็นปัจจัยที่ทำให้โรคที่แฝงอยู่กำเริบหรือเป็นโรคร้ายได้ เช่น ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในกล้ามเนื้อหัวใจ เส้นเลือดในสมองติบตันหรือแตก ระบบย่อยอาหารไม่ปกติ ซึ่งพิสูจน์แล้วว่า หลังผ่าตัด หากผู้ป่วยขาดนอน การสมานแผลจะใช้เวลานานกว่า ถ้าเป็นเด็กการขาดนอนจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต เพราะว่า ช่วงนอนหลับลึกๆ จะมีฮอร์โมนเติบโตหลั่งออกมามากกว่าปกติ ซึ่งเป็นสารสำคัญส่งเสริมการเจริญเติบโตของกระดูก อย่างไรก็ตาม การนอนหลับที่มีคุณภาพจะทำให้สมองได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ เซลล์ของร่างกายได้ซ่อมแซมตัวเอง
ความต้องการในการพักผ่อนและนอนหลับของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ อายุ สภาพร่างกาย และสุขภาพ เช่น เด็กทารกต้องนอนวันละ 17-18 ชั่วโมง เด็กอนุบาลต้องการนอนวันละ 10 ชั่วโมง เยาวชนวัยรุ่นต้องนอน 8-9 ชั่วโมง ส่วนผู้ใหญ่อย่างน้อยต้องนอน 6 ชั่วโมง สรุปว่า คนยิ่งอายุน้อย ยิ่งต้องการนอนมากกว่าคนสูงอายุ คนบางคนที่สุขภาพแข็งแรง พักผ่อนน้อย ก็สดชื่นทำงานได้ดี และคนที่สุขภาพไม่ดี มีโรคประจำตัวมักจะต้องการเวลานอนหลับมากกว่าคนที่สุขภาพดีกว่า
นอนไม่หลับ ไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะ หรืออาการที่เกิดขึ้นร่วมกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน ที่ทำให้เครียด หรือไม่สบายใจ ความผิดปกติทางกาย หรือจิตใจ หรือสภาพแวดล้อมบางอย่าง เช่น การแปลกสถานที่
พูดถึงเรื่องนอน จะเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดและง่ายที่สุด ตั้งแต่คนเรายังอยู่ในครรภ์ของแม่ ทุกคนก็รู้จักเรื่องนอน และนอนเก่งมาก ความสามารถนี้ เป็นมาตั้งแต่เรามีชีวิต
เรื่องนอนมีความสำคัญเหมือนกับการหายใจและรับประทานอาหาร แต่เรื่องง่ายๆ แค่นี้ หลายคนทำไม่ได้ ผู้ที่นอนไม่หลับจำนวนมากต่างรู้สึกกังวลและทรมานที่นอนไม่หลับกลางคืน เพราะฉนั้น องค์การอนามัยด้านประสาทและจิตเวชระหว่างประเทศกำหนดวันที่ 21 มีนาคมทุกปีเป็นวันนอนหลับโลก และจัดกิจกรรมต่างๆ โดยมีประเด็นแตกต่างกัน ซึ่งประเด็นปีแรกคือ เปิดตานอน
ประเด็นนี้แปลกมากทีเดียว เปิดตานอนได้อย่างไร เวลานอนต้องปิดตา เปิดตานอนน่ากลัวนะ ไม่น่าดูเลย