วันนี้ซีอาร์ไอได้จัดพิธีมอบรางวัลให้แก่ "10 อันดับเมืองวัฒนธรรมของจีน" ที่สำนักงานใหญ่สถานีวิทยุ กรุงปักกิ่ง โดยเชิญผู้แทนจาก 10 เมืองนี้ ตัวแทนจากวงการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม ทูตานุทูตต่างประเทศ และผู้แทนของสื่อต่างประเทศหลายสำนักมาร่วมพิธี สำหรับสื่อไทย "ผู้จัดการออนไลน์" ที่ร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ได้ส่งนายเกรียงไกร พรพิพัฒน์กุล ผู้ช่วยบรรณาธิการฝ่ายข่าวจีนเดินทางมาร่วมพิธีมอบรางวัล และจะร่วมดินทางไปทำข่าวที่เมืองเฉิงตู หนานจิง และซูโจว วันนี้ เราจึงได้เชิญนายเกรียงไกร พรพิพัฒน์กุล ผู้ช่วยบรรณาธิการฝ่ายข่าวจีน ผู้จัดการออนไลน์มาพูดคุยกักันถึงเรื่องนี้ครับ
ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอ : สวัสดีครับ คุณเกรียงไกร มีความรู้สึกอย่างไรต่อการจัดกิจกรรม "10 อันดับเมืองวัฒนธรรมจีน 2011"
นายเกรียงไกร พรพิพัฒน์กุล : แรกเริ่มที่ได้ทราบข่าวและได้ทำข่าวเกี่ยวกับการจัดอันดับสุดยอดเมืองวัฒนธรรมจีน 2011 ก็คิดว่า เป็นการจัดอันดับที่ยากพอดูในแง่การพิจารณา เพราะแต่ละเมืองในแผ่นดินใหญ่จีนที่มีประวัติศาสตร์มานานหลายพันปี ล้วนมีมรดกทางวัฒนธรรมทั้งสิ้น ไม่ว่าจะมองในมิติไหน รูปธรรมหรือนามธรรม สิ่งก่อสร้างที่เห็นได้ด้วยตา หรือว่าวัฒนธรรมที่แฝงอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คนท้องถิ่น
ความยากข้อนี้ ก็ทำให้น่าสนใจและติดตามข่าวเรื่อยมา หลังจากปีที่แล้วซึ่งซีอาร์ไอ ก็มีจากจัดอันดับ 10 เมืองท่องเที่ยวฯ
พอติดตามข่า;f^ ก็ได้รับรู้เกี่ยวกับเกณฑ์มาตรฐานและความคิดเห็นของคณะกรรมการ ก็เห็นด้วยกับหลักการและความเห็นของคณะกรรมการหลายๆ ท่าน ซึ่งพูดถึงมาตรฐานในการตัดสินว่า พิจารณาถึงรากฐานทางวัฒนธรรมที่มีความสืบทอดและดำรงอยู่ในปัจจุบัน ขณะเดียวกันก็มีความเปิดกว้าง มีนวัตกรรมในการปรับตัว ซึ่งทำให้รู้ว่าคณะกรรมการให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมใน "ความเป็นอยู่จริง" ไม่เพียงวัฒนธรรมที่เป็น "การจัดแสดง" ขณะเดียวกันก็่เปิดรับความทันสมัยที่เลื่อนไหลของสภาวะทางวัฒนธรรม และเชื่อมวัฒนธรรมในระดับสากล ก็คล้ายๆ กับวลีที่ว่า Think Global Act Local คือใช้โลกาภิวัตน์เชื่อมตนเองเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับโลก แต่ไม่ได้ทำให้ตัวเองเป็นแบบพิมพ์เดียวกับโลก
ความเข้าใจแบบนี้จะทำให้สามารถรักษาและต่อยอดความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละเมือง หรือ ดีเอ็นเอเฉพาะของเมืองไว้ได้อย่างน่าสนใจ
ผมก็ตามข่าวของซีอาร์ไอมาเรื่อยๆ จนถึงตอนที่ได้รายชื่อ 20 เมือง ก่อนจะเหลือ 10 เมือง