ศูนย์ศิลปะ 798 พัฒนาปักกิ่งจากโรงงานที่รกร้าน มาเป็นศูนย์ศิลปะที่สะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลจีนส่งเสริม สนับสนุนอุตสาหกรรมศิลปะวัฒนธรรมอย่างจริงจัง แถมยังสะท้อนให้เห็นว่า ทุกภาคส่วนของจีนร่วมกันขับเคลื่อนด้วย รศ.กมล เผ่าสวัสดิ์ อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เข้มชมศูนย์ศิลปะ 798 หลายครั้ง และเล่าประสบการณ์ให้ฟัง
"ผมไปศูนย์ศิลปะ 798 มา 3 ครั้ง ได้ติดตามความเคลื่อนไหวของ 798 และได้ศึกษามาว่า ความเคลื่อนไหวของ 798 และจีนร่วมสมัยเอง มีการก้าวกระโดดอย่างมาก พื้นที่ 798 มีส่วนหนึ่งเป็นที่ส่งเสริมและทำให้เกิดกิจกรรมดังกล่าว เป็นที่น่าจับตาและน่าติดตามในการใช้พื้นที่
ครั้งแรกที่ไป 798 คือไปเที่ยว การศึกษาดูงานอย่างจริงจังคือการเดินทางในสองปีนี้ รู้สึกว่ามีความแตกต่างกันและต่างกันมาก มาครั้งแรกประมาณสิบปีที่แล้ว ช่วงนั้นยังไม่มี 798 ปีที่แล้ว มาประเทศจีนเป็นครั้งที่ 2 อีกไม่กี่เดือนก็มา ในช่วงปิดเทอม ได้กลับเข้ามาอีกรอบหนึ่ง ทุกครั้งได้เห็นผลงานการแสดงที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ มีความหลากหลายและแตกต่างกัน
ที่ 798 การใช้พื้นที่นั้น ไม่ว่าเป็นพื้นที่ทำงานของศิลปินเอง หรือแกลลอรีของจีนเอง และของต่างชาติที่มาลงทุน เช่น อเมริกา และยุโรป นอกเหนือจากเห็นงานของศิลปินจีนแล้ว ยังมีงานของศิลปินทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป เกาหลี และประเทศอื่นๆด้วย มีร้าน งานดีไซน์ก็เข้ามาผสมกับงานศิลปะร่วมสมัย พื้นที่นี้จึงไม่ใช่แค่พื้นที่ศิลปะเพียงอย่างเดียว แต่เป็นพื้นที่ของงานออกแบบ และพื้นที่สาธารณะที่คนรุ่นใหม่ และแหล่งท่องเที่ยวด้วย จึงไม่เพียงแต่เปิดโอกาสให้กับคนที่เกี่ยวข้องกับศิลปะอย่างเดียว หากยังเป็นโอกาสที่จะให้คนที่ไม่เคยสัมผัสกับศิลปะได้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ศูนย์ศิลปะจึงไม่ใช่เป็นเพียงสถานที่พบปะกันสำหรับคนที่รักงานศิลปะอย่างเดียว แต่กลายเป็นจุดหนึ่งที่ทำให้ผู้คนมาใช้ชีวิตในสถานที่แห่งนี้เพื่อหาความสุขในวันว่างหรือวันหยุด
ตัวขอบเขตของกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าชมงาน ไม่ได้เกาะกลุ่มอยู่เฉพาะคนหนุ่มคนสาว ได้กระจายกลุ่มออกไป จนกระทั่งกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่สามาถทำให้ผู้สูงอายุรึ่นรมย์กับงานศิลปะ มีผู้คนหลายๆภาคส่วนนอกจากชมงานศิลปะที่อยู่ในแกลลอรีที่แสดงงานแล้ว ยังมีอีกมากมายที่อยู่กันริมถนน คนจะถ่ายรูปกับผลงานศิลปะ จะทำท่าคล้ายๆกับงานศิลปะ หรือ เล่นกับศิลปะ หรือแม้แต่เข้าไปในพื้นที่ของเกรารีเอง โดยส่วนใหญ่แล้วจะสามารถถ่ายรูปกับงานได้ สิ่งเหล่านี้ทำให้เราเห็นว่า เป็นการเปิดพื้นที่ที่ค่อนข้างสำคัญ ถึงแม้ว่าหลายคนอาจจะไม่เข้าใจว่างานชิ้นนั้นกำลังสื่อสารอะไร แต่การที่อยากถ่ายรูปกับงานด้วย สร้างความผูกพันธ์และทำให้รู้สึกว่าตัวเขาเองกับงานชิ้นนั้นมีความสัมพันธ์ สร้างความประทับใจหรือสร้างความทรงจำ หรืออย่างน้อยที่สุด งานที่เขาเกิดความทรงจำไปแล้ว ซึ่งงานสำคัญๆเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะมีนิตยสารหรือแหล่งความรู้ เมื่อระยะเวลาที่ผ่านไป เขาได้อ่าน เขาได้เห็นว่า ศิลปิน หรือ ผลงานชิ้นนั้นได้พูดอะไร จะทำให้เขารู้สึกเข้าใจในสิ่งเหล่านั้นมากขึ้นอีก นอกเหนือจากสิ่งที่เขาแค่ไปยืนถ่ายรูปเฉยๆ
(In/Ping)