ปักกิ่งเพลินเพลิน "เย็นกาย แต่อุ่นใจ สงกรานต์ที่ซีอาร์ไอ"
  2012-04-12 17:13:26  cri

เมื่อวานนี้ทางซีอาร์ไอ ภาคภาษาไทยได้จัดกิจกรรมล่วงหน้าเพื่อฉลองเทศกาลสงกรานต์ โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่จากภาคภาษากัมพูชา เมียนมาร์ และลาวมาร่วมฉลองสงกรานต์ร่วมกัน เพราะสี่ประเทศนี้ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงล้วนต่างมีงานเทศกาลสงกรานต์และปีใหม่ตรงกัน อีกทั้งกิจกรรมต่างๆ และความหมายของสงกรานต์ยังคล้ายคลึงกันอีกด้วย

ซึ่งข้อมูลประวัติศาสตร์ด้านนี้ คุณสุจิตต์ วงศ์เทศได้เขียนระบุไว้อย่างดี จึงขอยกมาให้ท่านผู้อ่านได้ทราบร่วมกัน สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี หรือคือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากย้อนกลับไปในอดีตนั้น กัมพูชาหรือเขมรถือว่าเป็นประเทศแรกในอุษาคเนย์ที่ริเริ่มสงกรานต์หรือปีใหม่ก่อนไทยเสียอีก ศิลาจารึกเขมรสมัยเมืองพระนคร ระบุชัดเจนว่าสงกรานต์มีแล้วในราชสำนัก ตั้งแต่ราวหลัง พ.ศ. 1600 ขณะนั้นบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาในไทยอยู่ปลายยุคทวารวดี ยังไม่มีกลุ่มชนเรียกตัวเองว่า "คนไทย" และยังไม่มีรัฐอยุธยา รัฐสุโขทัย มีแต่พวกสยามพูดตระกูลภาษาไทย-ลาว เป็นประชากรชั้นล่างๆของบ้านเมืองสมัยนั้น ราชสำนักกัมพูชายุคแรกๆนับถือศาสนาพราหมณ์ มีพราหมณ์ประกอบประเพณีพิธีกรรมที่ได้แบบแผนจากอินเดียโดยตรง เช่น สงกรานต์ หลังจากนั้นก็แพร่หลายไปยังบ้านเมืองโดยรอบ เช่น ลาว ไทย

ต่อมาทางราชสำนักอยุธยา สืบมาจากราชสำนักขอมเมืองละโว้ (ลพบุรี) ที่เป็นเครือญาติใกล้ชิดราชสำนัก

เขมรที่นครวัดและนครธม สมัยแรกในราชสำนักอยุธยาใช้ภาษาเขมร แล้วมีพิธีกรรมตามแบบราชสำนักเขมร โดยประสมประสานกับพิธีกรรมดั้งเดิมของตระกูลไทย-ลาวบ้าง ครั้นนานไปเมื่อเปลี่ยนใช้ภาษาไทยสื่อสารในชีวิตประจำวัน ก็ยกย่องภาษาเขมรเป็นราชาศัพท์เพื่อรักษาจารีตขอมไว้ ประเพณีพิธีกรรมในราชสำนักอยุธยาจึงทำตามราชสำนักกัมพูชาที่นับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อน แล้วเอามาปรับใช้บ้างให้เหมาะสม เช่น ถือน้ำพระพัทธ์ อินทราภิเษก สงกรานต์ ฯลฯ ดังนั้นสงกรานต์ จึงไม่ใช่ปีใหม่ไทยเท่านั้น แต่เป็นปีใหม่เขมร ลาว และเมียนมาร์ด้วย เพราะรับแบบแผนจากแขกอินเดียเหมือนกัน อีกทั้งยังมีชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดียด้วย

นอกจากทางภาคภาษาไทยจะมีการจัดเลี้ยงอาหารไทยโดยผู้เชี่ยวชาญไทยที่ต่างโชว์ฝีมือปรุงอาหารไทยกันอย่างเต็มที่แล้ว ยังได้จัดกิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่และผู้อาวุโสของภาคภาษาไทยและศูนย์เอเชีย 2 ตามประเพณีสงกรานต์แบบไทยอีกด้วย กิจกรรมนี้สร้างความตื่นเต้นและอิ่มใจใหักับเพื่อนชาวต่างชาติไม่ว่าจะเป็นจากอังกฤษ อินโดนีเซีย เยอรมัน และฟิลิปปินส์ ซึ่งเพื่อนชาวอังกฤษสงสัยถึงกิจกรรมนี้ว่า ทำไมต้องทำ ทำเพื่ออะไรและเหตุใดต้องเป็นผู้ใหญ่เท่านั้น

บรรยากาศกิจกรรมรับสงกรานต์ของภาคภาษาไทย ซีอาร์ไอ

เมื่อทางเราได้อธิบายว่า คนแถบอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงนั้นเคารพสายน้ำและเชื่อว่าน้ำนั้นสามารถชำระ และสร้างความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิตได้ จึงเลือกน้ำมาเป็นส่วนหนึ่งของประเพณี อีกทั้งกิจกรรมนี้เป็นการสร้างความสัมพันธ์ ถือเป็นการแสดงความเคารพและความกตัญญูต่อผู้ใหญ่ซึ่งในสมัยก่อนเป็นกิจกรรมที่ทำให้ครอบครัวหรือชุมชนเท่านั้น การคุกเข่าของผู้น้อยทำให้เกิดความรู้สึกหวนระลึกถึงความอ่อนน้อมถ่อมตัวและการรับฟังคำสั่งสอน คำอวยพรของผู้ใหญ่ อีกทั้งทำให้เราลดอัตตาตัวเองในวันที่เราอาจหาญ หาญกล้ากับชีวิตและทำให้ช่วงเวลานั้นได้ทบทวนสิ่งที่กระทำไปในปีที่ผ่านมา หากเกิดการผิดข้องหมองใจกับผู้ใหญ่ก็ถือเอาโอกาสนี้ขอขมาและขอโทษเพื่อให้ผู้ใหญ่ยกโทษ ไม่ถือโทษผู้น้อย อีกทั้งยังเป็นโอกาสอันดีในการกล่าวขอบคุณและระลึกถึงบุญคุณของพวกเขาอีกด้วย ส่วนที่ต้องเป็นผู้ใหญ่มาให้พรนั้น ทางคนเอเชียเชื่อว่า ผู้ใหญ่นี้มีประสบการณ์มากกว่า ผ่านร้อนผ่านหนาวมาในชีวิตมานาน สามารถจะชี้แนะและอวยพรให้เกิดความเป็นสิริมงคลในปีใหม่ที่กำลังจะก้าวเข้ามา

หลังจากอธิบายแล้ว ก็ให้เพื่อนต่างชาติทั้งหลายได้ร่วมกิจกรรม การเข้าไปกล่าวอวยพรสิ่งดีๆ และการประพรมน้ำบนศีรษะเล็กน้อย ทำให้เพื่อนต่างชาติถึงกับรู้สึกพูดไม่ออกและอิ่มใจอย่างบอกไม่ถูก หลังจากนั้นก็เริ่มมีการเล่นสาดน้ำกันเล็กน้อยเพื่อให้ทุกคนได้เข้าถึงบรรยากาศสงกรานต์ แต่อากาศที่ปักกิ่งยังไม่ร้อนมาก จึงทำให้แต่ละคนเมื่อโดนสาดน้ำถึงกับส่งเสียงวี้ดว้ายอย่างสนุกสนาน ทำให้พวกเราทุกคนไม่ว่าจะมาจากประเทศใดก็รู้สึกและเข้าใจวันสงกรานต์ สิ่งสำคัญคือ ความคิดถึงถึงประเทศบ้านเกิดและครอบครัวที่มักจะมารวมตัวกันในวันนี้

บรรยากาศกิจกรรมรับสงกรานต์ของภาคภาษาไทย ซีอาร์ไอ

แต่กิจกรรมครั้งนี้ทำให้คลายความคิดถึงและมีความรู้สึกร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของทุกคนในกิจกรรมได้ ถึงแม้น้ำที่สาดกันจะสร้างความเย็นกาย แต่ก็ให้ความอิ่มใจและอุ่นใจกับทุกคน แค่นี้ก็นับได้ว่าเป็นของขวัญเล็กๆ น้อยๆ แต่มีค่ามากในวันสงกรานต์แบบไทย ขอให้ทุกคนมีความสุขในปีใหม่ไทยและสุขสันต์วันสงกรานต์ค่ะ

สุชารัตน์ สถาพรอานนท์

*ข้อมูลอ้างอิงมาจากส่วนหนึ่งของบทความประวัติศาสตร์ที่เขียนโดยคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
泰国
v ปักกิ่งเพลินเพลิน "ดื่ม (ชา) อะไรก็ได้อย่างนั้น" 2012-04-05 16:48:50
v ปักกิ่งเพลินเพลิน "เรียนต่อ MBA ที่จีน ให้อะไรมากกว่าที่คุณคิด" 2012-03-29 16:27:30
v ปักกิ่งเพลินเพลิน "ชาวปักกิ่งรู้ทันมะเร็ง จะปลอดภัยจากมะเร็ง" 2012-03-22 17:02:56
v ปักกิ่งเพลินเพลิน: บทสัมภาษณ์รายการพิเศษส่องสองสภาจีน "ส่องนโยบายการต่างประเทศจีน ผ่านมุมมองคนรุ่นใหม่ไทย (ตอนจบ) 2012-03-15 16:24:36
v ปักกิ่งเพลินเพลิน: บทสัมภาษณ์รายการพิเศษส่องสองสภาจีน "ส่องนโยบายการต่างประเทศจีน ผ่านมุมมองคนรุ่นใหม่ไทย (1)" 2012-03-08 16:46:59
v ปักกิ่งเพลินเพลิน "รำลึก เรียนรู้และดำเนินรอยตาม เหลย เฟิง ผู้กล้าหาญ" 2012-03-01 18:00:17
社会
v จัดงานวัฒนธรรมชนเผ่าไตที่สิบสองปันนา 2011-04-15 14:20:04
v ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ไทยระบุ ไทยกับสิงสองปันนาต้องร่วมมือกันมากขึ้น 2011-04-15 13:51:56
v เมืองคุนหมิงอุณหภูมิสูง นักท่องเที่ยวสนุกสนานกับการสาดน้ำ 2011-04-15 12:37:22
v ปีใหม่ชนเผ่าไต อวยพรให้มีความสุขตลอดปี 2011-04-14 17:16:49
v บรรยากาศงานสงกรานต์ที่มหาวิทยาลัยซีหนาน 2011-04-14 15:17:15
v ระบำมยุรา 2011-04-14 13:04:18
v สาวไทยคว้ามงกุฏ "ธิดามยุราชาวไต" 2011-04-14 12:59:25
v เปิดงานแสดงสินค้าและการท่องเที่ยวสิบสองปันนา ครั้งที่ 14 2011-04-13 11:45:21
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040