การกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำล้านช้าง มีมาตรการอนุรักษ์ทรัพยากรปลาในตอนกลางและตอนปลายของแม่น้ำอย่างเต็มที่
ปีหลังๆ นี้ มณฑลยูนนานทางภาคใต้ของจีนมีโครงการพัฒนาทรัพยากรไฟฟ้าพลังน้ำของลุ่มแม่น้ำล้านช้างหรือแม่น้ำโขง จนถึงขณะนี้ได้สร้างสถานีกำเนิดไฟฟ้า 5 แห่งแล้ว และยังมีแผนที่จะสร้างสถานีไฟฟ้าอีก 10 แห่ง การนี้ทำให้ผู้คนเกิดความกังวลว่า การพัฒนาทรัยพากรไฟฟ้าพลังน้ำจะส่งผลกระทบต่อระบบภาวะนิเวศและทรัพยากรการประมงในตอนกลางและตอนปลายของแม่น้ำหรือไม่ สำหรับเรื่องนี้ นายหม่า หงฉี สมาชิกสภาวิศวกรรมแห่งชาติจีนกล่าวว่า ในระหว่างการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำ จีนให้ความสำคัญอย่างมากในการอนุรักษ์ภาวะนิเวศสำหรับปลาชนิดต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีใหม่จำนวนหนึ่งที่ไม่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรปลาในประเทศลุ่มแม่น้ำตอนกลางและตอนปลาย
นายหม่า หงฉีกล่าวว่า "ก่อนที่จะเริ่มโครงการการพัฒนาทรัพยากรไฟฟ้าพลังน้ำ เราให้ความสำคัญมากในการรักษาสิ่งแวดล้อม และดำเนินการอย่างมีประสิทธิผล"
นายหม่า หงฉีกล่าวว่า การอนุรักษ์ทรัพยากรปลาเป็นหนึ่งในแนวคิดสำคัญของการออกแบบโครงการพัฒนาทรัพยากรไฟฟ้าพลังน้ำ และมีมาตรการใหม่ๆ หลายประการที่ปรับตามลักษณะของแม่น้ำล้านช้าง จึงสามารถที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรปลาได้อย่างดี ก่อนอื่น เราได้สร้างสถานีเพาะพันธุ์ปลาหายากในบริเวณพื้นที่น้ำของสถานีกำเนิดไฟฟ้า และเมื่อปลาเหล่านี้โตขึ้นแล้วค่อยปล่อยลงในแม่น้ำ สองคือ เราได้กำหนดช่องทางของปลาโดยเฉพาะ คือเพิ่มการสร้างคลองน้ำข้างๆ เขื่อน เพื่อให้ปลาสามารถว่ายไปสู่แม่น้ำตอนปลายได้
(Ton/Lin)