วิวัฒนาการตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน (4)
  2012-08-06 16:00:21  cri

นายแพทย์ บุญเกียรติ เบญจเลิศ ผู้เชี่ยวชาญการแพทย์แผนจีน จากมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนแห่งนครเซี่ยงไฮ้ แนะนำว่า การรักษาโรคตามหลักการแพทย์แผนจีนมีลักษณะพิเศษตรงที่ไม่ได้รักษาที่อาการ(ปลายเหตุ) แต่รักษาที่มูลเหตุ ยกตัวอย่าง ปวดหัวไม่ได้รักษาที่หัว เพราะที่หัวเป็นอาการแล้ว แต่ไปดูที่รากเหง้า ของตัวที่ทำให้เกิดอาการที่หัว

อีกประการหนึ่ง การแพทย์แผนจีนมีวิธีการรักษาแยกออกเป็น 2 แนวทางด้วยกัน คือ รักษาด้วยการผ่อนตาม (หรือรักษาตรงตามอาการ) และรักษาแบบผกผัน รักษากลับกัน กับอาการ ยกตัวอย่าง ท้องแน่นไม่ได้แปลว่าอิ่ม แต่จริงๆแล้วอาจเป็นเพราะท้องว่าง ก็ต้องรักษาในทางตรงกันข้ามกัน หรืออย่างถ้าร่างกายหนาวก็ต้องทำร่างกายให้อบอุ่น ซึ่งเป็นการรักษาแบบทางตรง

"อย่างไรก็ตาม การรักษาแบบจีนไม่ได้แปลว่าเอะอะอะไรก็รักษาแต่รากโดยไม่ไปดูอาการ ต้องดูอาการด้วยและทำให้อาการลดน้อยลง เช่น ร้อนมากๆก็ต้องทำให้หายร้อนก่อน เลือดออกก็ต้องห้ามเลือดก่อน แล้วจึงไปหาสาเหตุ" นายแพทย์ บุญเกียรติกล่าว

นอกจากนี้ การรักษาตามแบบแพทย์แผนจีนมีจุดเด่น คือ เสริมสร้างภูมิหรือเซลดีในร่างกาย เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค ป้องกันโรค เพื่อให้ร่างกายเพิ่มความสามารถในการต่อสู้กับโรคมากกว่าจะไปจัดการกับโรคด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งจะทำให้ร่างกายอ่อนแอลง นายแพทย์ บุญเกียรติ ยกตัวอย่างว่า "การรักษาคนไข้มะเร็งด้วยการฉีดคีโมและฉายแสง เซลดีไม่ดีก็ฆ่าตายหมด คนฉายแสงฉีดคีโมต้องมียาบำรุงร่างกาย ไม่มีไม่ได้ อาจไม่ได้ตามที่มะเร็งแต่ตายด้วยร่างกายไม่มีภูมิต้านทาน เป็นโรคอื่นๆ แต่การรักษาด้วยยาจีนเป็นการเสริมด้วยการสร้างเซลดีขึ้นมาใหม่"

ประการสุดท้าย การรักษาแบบแผนจีนยังเป็นการปรับสมดุลยิน-หยาง โดยการปรับตามความแตกต่างและความผันแปร ของเวลา สถานที่ ฤดูกาล และสภาพร่างกายของบุคคลที่เข้ารับการรักษา ทั้งนี้ ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว

ส่วนวิธีการรักษานั้น แบ่งเป็น 6 วิธี คือ การกด-ดูดสูญญากาศ โดยใช้ความร้อนรน ผิวหนัง หรือการเจาะ เช่น การผลิกตัว แล้วผิดท่าเส้นยึดที่หลังก็ทำการเจาะที่ข้อพับ ด้านหลังให้กล้ามเนื้อคลาย ให้เลือดไหลเวียนได้และเส้นกลับเข้าที่ได้ , การฝังเข็ม , การนวด เช่นการนวดแบบทุยหนา การจับเส้น , การรักษาโดยการออกกำลังกายแบบชี่กง , การใช้อาหาร และสุดท้าย การใช้ยาจีน โดยทั่วไปเป็นวิธีการรักษาที่ใช้มากที่สุด ปัจจุบัน ยาจีนที่ทางรัฐบาลจีนรับรองมีถึง 5,764 ตัว ที่มีการจดทะเบียนสิทธิบัตรมีกว่า 6,000 ชนิด ยาจีนที่ได้มาตรฐานต้องมีใบรับรองกำกับข้างขวดหรือกล่อง

ทั้งนี้ นายแพทย์จีน บุญเกียรติ แนะนำว่า "ยาจีนบางชนิดที่หาซื้อในประเทศจีนราคาแพงกว่าในประเทศไทย เวลาไปซื้อควรระมัดระวังให้มากๆ ต้องมีใบรับรองกำกับ หากซื้อในประเทศไทย ตามร้านขายยาที่เยาวราชก็ต้องดูว่ามี ฉลากขององค์การอาหารและยากำกับหรือไม่ทุกครั้ง"

สำหรับคนไข้บางท่านที่พอรู้ภาษาจีนไปหาซื้อยาจีนกินเองก็พึงระวังด้วยว่า ยาจีนมีหลักการใช้ยาที่สำคัญ คือ ยาบางชนิดไม่ควรใช้ร่วมกันควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ และเวลาทานยายังเกี่ยวข้องกับอาหารการกินด้วย เมื่อกินยาบางชนิดต้องงด อาหารบางอย่าง เช่น ห้ามกินหน่อไม้ หัวไชโป้ว หัวไชเท้า เป็นต้น นอกจากนี้ โดยทั่วไปเวลากินยาบำรุงร่างกายต้องกินอย่างอุ่น ยารักษาหวัดต้องกินร้อน ยาทั่วไปกินหลังอาหาร แต่ยาบำรุงต้องทานตอนท้องว่าง ยาช่วยให้นอนหลับสบายกินก่อนนอน เป็นต้น

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040