หนังสือพิมพ์เหรินหมินรึเป้ารายงานว่า อาเซียนกำลังบรรเลงบทเพลงทางเศรษฐกิจที่คึกคักที่สุดของโลก สหรัฐฯ ที่ "กลับสู่เอเชียแปซิฟิค" ยิ่งที่จะอยากเข้าร่วม เพราะความปรารถนาให้เศรษฐกิจฟื้นฟู จำเป็นต้องพึ่งพาการติดต่อกับเอเชียแปซิฟิคมากยิ่งขึ้น ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้ อิทธิพลของสหรัฐที่มีต่อเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลดน้อยลง การพึ่งพาอาศัยของประเทศต่างๆ ในอาเซียนมีต่อสหรัฐฯ นั้นได้ลดน้อยลง ในช่วงปีหลังๆ มานี้ สหรัฐฯ ใช้ความพยายามแสวงหาการส่งเสริมการติดต่อทางเศรษฐกิจและการค้ากับประเทศอาเซียนให้มากยิ่งขึ้น
กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ประกาศข้อมูลเมื่อปีที่แล้วแสดงให้เห็นว่า อาเซียนกับสหรัฐฯ ต่างเป็นคู่ค้าอันดับที่ 4 ซึ่งกันและกัน นายแอนโทนี เนลสัน(Anthony Nelson)ผู้อำนวยการสำนักงานประชาสัมพันธ์ของคณะมนตรีธุรกิจสหรัฐฯ – อาเซียนให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า อาเซียนเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 4 ของสหรัฐฯ และเป็นสถานที่ลงทุนใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ในเอเชีย นับตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมา ยอดมูลค่าการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับอาเซียนได้เติบโตขึ้น 60% ไม่ว่าจะกล่าวจากการเมืองหรือเศรษฐกิจก็ตาม อาเซียนล้วนมีบทบาทสำคัญต่อสหรัฐฯ
ทว่า หลายปีมานี้ สัดส่วนในตลาดอาเซียนของสหรัฐฯ ได้ลดน้อยลง รัฐบาลกับวงการธุรกิจสหรัฐฯ ต่างก็รู้สึกถึงความเร่งด่วนของการส่งเสริมการติดต่อทางเศรษฐกิจและการค้ากับอาเซียน สถิติแสดงให้เห็นว่า ปี 1993 ในจำนวนสัดส่วนการค้าต่างประเทศของอาเซียนนั้น สหรัฐฯ มีสัดส่วนเป็น 20% แต่ทุกวันนี้ได้ลดลงเหลือต่ำกว่า 10%
นายเนลสันกล่าวว่า วิสาหกิจสหรัฐฯ สนใจการลงทุนในแขนงต่างๆ ของอาเซียน ซึ่งรวมทั้งพลังงาน สินค้าบริโภค ข่าวสารและโทรคมนาคม วิสาหกิจสหรัฐฯ ให้ความสำคัญต่อกระบวนการรวมเป็นหนึ่งเดียวกันของเศรษฐกิจอาเซียน ส่งเสริมประเทศสมาชิกอาเซียนผลักดันการรวมเป็นหนึ่งเดียวกันทางเศรษฐกิจ นายเนลสันยังกล่าวว่า วิสาหกิจสหรัฐฯ สนใจกฎหมายข้อบังคับและมาตรการลัทธิป้องกันอื่นๆ ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์พื้นเมืองของประเทศสมาชิกอาเซียน นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังให้ความสำคัญต่อการสร้างระบบควบคุมบริหารส่วนรวมของภูมิภาค
(Yim/zheng)