โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงสร้างความเจริญให้แก่ภูมิภาคนี้ (2)
  2013-07-03 17:25:26  cri

วันนี้ เราพูดถึง 20 ปีให้หลัง ธนาคารการพัฒนาแห่งเอเชียเริ่มดำเนินโครงการการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตั้งแต่เมื่อปี 1992เราผ่านมาแล้ว 20 ปี สิ่งที่ชัดเจนก็คือ เครือข่ายของถนนพัฒนาไปมาก ปัจจุบันมีระเบียงเศรษฐกิจหลายระเบียง เช่น ระเบียงจากเหนือลงใต้ ก็คือเปิดจีนตอนบนที่อยู่เหนือประเทศลาว แล้วก็เชื่อมลาว เชื่อมเมียนมาร์ ลงมาถึงเมืองไทย ส่วนสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ ๔ ก็กำลังก่อสร้างอยู่ เรื่องการขนส่ง การค้าสินค้า การเดินทางก็สะดวกขึ้นเยอะ

ส่วนเรื่องการค้าขายนั้น จากที่ไม่มีหรือการค้าทางชายแดนนิดๆหน่อยๆ พัฒนามาเป็นการค้าที่มีปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ ที่สำคัญกว่านั้นคือ ประเทศต่างๆ ในอนุภูมิภาคนี้เริ่มเตรียมตัวที่จะทำการค้ากับประเทศต่างๆ ทั่วโลกด้วย คือไม่ค้าเฉพาะในอนุภูมิภาคนี้ ไม่ค้าเฉพาะผัก หมู หรือบริการท่องเที่ยวเท่านั้นเอง แต่จะเตรียมพื้นที่นี้ให้มีความพร้อมในการที่จะไปข้างนอกพื้นที่เราด้วย ไปเกี่ยวข้องกับอาเซียน ไปเกี่ยวข้องกับโลกภายนอก เพราะฉะนั้น การค้า การลงทุนภายในภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้น จากที่มีต่ำมาก แทบไม่มีเลย

ทุกวันนี้ พ่อค้าแม่ค้าหรือพวกบริษัทต่างๆ เขาก็เริ่มขยายตัว บริษัทต่างชาติเขาก็เริ่มเข้ามาดูเครือข่ายการผลิตใน อนุภูมิภาคนี้ ปัจจุบัน ถ้าเขาจะไปผลิตสิ่งทอ ประเทศกัมพูชา ลาว รับสิ่งทอมากที่สุดในพื้นที่นี้ เวียดนามจากไม่มีอะไร ทุกวันนี้ เขาก็เป็นเครือข่ายการผลิตของบริษัทญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน หรือไทย ประเทศต่างๆ ในเอเซียน เช่น สิงคโปร์ มาเลเซียก็เข้าไปลงทุน มันก็จะมีอุตสาหกรรมที่เขาพร้อมรับ เมืองไทยก็เป็นอยู่ เช่น ทางด้านรถยนต์ อิเล็คทรอนิคส์ เราจะไปต่อเพื่อนบ้านได้อย่างไร นอกจากอุตสาหกรรมอื่น แต่ว่า เราก็ต้องดูว่า บริษัทเล็กบริษัทน้อยเราพร้อมยังไงที่จะเป็นเครือข่ายการผลิตกัน

ปัจจุบัน เมียนมาร์ก็เปิดประเทศแล้ว ลาวเป็นประเทศที่มีศักยภาพ ทรัพยากรดีมาก ประเทศลาวก็จะพัฒนาไปในแนวทางคล้ายๆ กับบรูไน เป็นประเทศที่ขายไฟฟ้า พลังงาน แล้วเขาก็พัฒนาเกษตรของเขา ให้มันเหมาะกับคนที่เขามีอยู่ พัฒนาศักยภาพของคน เพราะฉะนั้นก็จะเป็นประโยชน์ จีนก็จะเชื่อมลงมามากมาย เช่น เมืองหนานหนิงจัดงานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียน อยากจะเป็นพื้นที่หลักเลยที่ชูธงในเรื่องงานมหกรรมจีน-อาเซียน ส่วนเมืองคุนหมิงก็จะเป็นศูนย์กลางของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ส่วนเหล่านี้ก็จะเป็นโครงสร้างพื้นฐาน ความเคยชินในการที่จะไปมาหาสู่กัน แล้วทางการก็พร้อมในการที่จะทำในเรื่องของความอำนวยความสะดวกการค้า การลงทุน

แต่แน่นอน ในอนาคตก็จะมีสิ่งที่จะท้าทาย ต้องทำเยอะ เพราะว่าผลกระทบมันก็มี มีทั้งบวกและลบ เรามักจะดูในแง่ลบ ยกตัวอย่างก็คือ เรื่องคนข้ามแดนง่ายขึ้น ก็ต้องหาทางรับมือ เช่นมีการค้ายาเสพติดข้ามชาติ อีกหน่อยเราก็ต้องทำให้คนเหล่านี้มีอาชีพอย่างอื่น เหมือนกับในทางเหนือประเทศไทย เราก็บอกว่า ถ้าเราไม่พัฒนา เขาก็ปลูกฝิ่น แต่เราพัฒนาแล้ว อีกหน่อยเขาก็จะปลูกผัก ปลูกพืช ไปทำอย่างอื่นได้ เราเชื่อว่า การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ต้องใช้เวลา แม้ว่าปัญหาเหล่านี้อาจจะไม่หมดไป แต่การพัฒนาจะช่วยลดปัญหาต่างๆ เหล่านี้ เรามองดูว่า ประโยชน์น่าจะมากกว่าโทษของการเปิดประเทศ

ส่วนการสร้างความพร้อมของคน ความพร้อมของชุมชน ผมคิดว่า เป็นสิ่งที่สำคัญมากในกระบวนการนี้ เพราะฉะนั้น ทุกฝ่ายก็ต้องมองเห็นตรงนี้ แล้วก็ส่งเสียงดังให้รัฐบาลด้วย บทบาทรัฐบาลก็สำคัญ ในการที่จะดำเนินการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐบาลกลางเขาก็วางแผนไป รัฐบาลจีนก็วางแผน ทางการมณฑลก็วางแผน ไทยก็เหมือนกัน แต่ผมคิดว่า ในที่สุดก็อยู่ที่รัฐบาลในท้องถิ่น แล้วก็ตัวแทนคนในท้องถิ่นที่จะเป็นกำลังสำคัญ ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลกลางของประเทศต่างๆ ได้วางแผนเรียบร้อยแล้ว แต่ท้องถิ่นเขาจะเอาแบบไหนอย่างไร ก็เป็นจุดที่เขาจะพัฒนาด้วยตนเอง เช่น ถ้าไกลไปจากเวียงจันทร์ประเทศลาว แถวสุวรรณเขตเขาจะเอาอย่างไร เส้นทางหมายเลข ๙ เมื่อมีสะพานเข้ามาแล้ว ชุมชนก็จะพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างไร เขาจะพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างไร เพื่อสร้างรายได้ เพื่อสร้างควาเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับคน เขาก็ต้องลุกขึ้นเอง จะให้รัฐบาลจากเวียนจันทร์มาบอกก็ไม่ใช่ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือเมืองไทยก็เหมือนกัน เช่น การเกษตรสู้ไม่ได้ก็ต้องปรับไปทำอย่างอื่น แล้วเกษตรก็จะมีการเชื่อมกับเพื่อนบ้าน เช่น ข้าวโพดไปปลูกในลาว หรืออะไรต่างๆ

ในอนาคต พื้นที่ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงจะเปลี่ยนแปลงอีกมาก ปัจจุบัน อาเซียนพัฒนาได้รวดเร็วมาก อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ ๕ ถึง ๖ เปอร์เซนต์ เราคิดว่า สำหรับประเทศต่างๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง สิ่งที่จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือบูรณาการ เพราะว่าเอเชียเปลี่ยนไปมากแล้ว เอเชียกำลังเดินไปข้างหน้า ท่ามกลางวิกฤตโลก เมืองจีนก็จะมีเขตพัฒนาของเขา เช่น เขตพัฒนาตอนเหนือ ตอนใต้ พัฒนาร่วมกับเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ ส่วนอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงซึ่งอยู่ในอาเซียน มันก็ต้องมีบูรณาการต่อกับพื้นที่เหล่านี้ โดย จะมีการเกี่ยวข้องกับจีน อีกหน่อยไปเกี่ยวข้องกับอินเดีย เมียนมาร์ที่ได้เปิดประเทศแล้วมากขึ้น ในบรูณาการที่สำคัญในอนาคต ก็ต้องมาดูว่า ด้านต่างๆ เราจะเตรียมกันอย่างไร

ปัจจุบัน อาเซียนมีโครงการเชื่อมโยงกับอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำ แล้วไม่ได้เชื่อมโยงเฉพาะอาเซียน อาเซียนได้ไปดึงจีน เกาหลีใต้ และญี่ป่นเข้ามาร่วมกันทำด้วย เพราะว่า อาเซียนทำเองคงไม่ไหว ยังมีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยประเทศที่มีประสบการณ์มากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องเงินที่จะต้องนำมาพัฒนาตรงนี้ รัฐบาลก็พยายามส่งเสริมให้เอกชนทำโครงการพื้นฐานต่างๆ แต่หลายๆ โครงการเป็นโครงการสาธารณะ เพราะฉะนั้น หลายโครงการ เอกชนเขาไม่สนใจ จึงต้องตกเป็นหน้าที่รัฐบาลในที่สุด สิ่งเหล่านี้บางครั้งก็เป็นบบาทของเอกชน บางเรื่องรัฐบาลต้องเข้ามาทำเอง สิ่งเหล่านี้ก็มีความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนในโครงการพื้นฐานที่ สำคัญ ซึ่งจะเกิดขึ้นต่อไปอีกมาก

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040