นายหลี่หนัน ยังแนะนำว่า ระบบเทียนเหอ-2 มีลักษณะสำคัญ 5 ประการคือ หนึ่ง. มีประสิทธิภาพสูง ไม่ว่าในการคำนวณเร็วสูงสุดหรือการคำนวณความเร็วที่ยั่งยืนต่างสร้างสถิติใหม่ของโลก สอง. ใช้พลังงานต่ำ EER(Energy Efficiency Ratio)หรือว่า อัตราการใช้พลังงานเทียบกับประสิทธิภาพสูง ได้อยู่ระดับแนวหน้าของโลก สาม. มีลักษณะการประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง เทียนเหอ-2 นอกจากจะคำนวณทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมแล้ว ยังสามารถดำเนินการประยุกต์ใช้ทางด้านระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ(cloud computing)สี่. ใช้ง่าย ขณะดำเนินการวิจัยและการพัฒนานั้น กลุ่มวิจัยเพื่อพัฒนาเทียนเหอ-2 ได้ใช้โครงสร้างใหม่จนทำให้การเขียนโปรแกรมซอฟแวร์เข้ากันได้ง่าย และห้า. เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพที่สูงของเครื่องแล้ว เรื่องต้นทุนจึงถือว่าไม่สูงเท่าไหร่
นายหลี่หนันกล่าวว่า จริงๆแล้ว ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในปัจจุบัน เขายกตัวอย่างโดยกล่าวว่า งานพยากรณ์อากาศ ต้องนำข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอากาศทั้งระดับภาคพื้นดิน และระดับชั้นบรรยากาศเพื่อดูการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ซึ่งมีข้อมูลมากมหาศาล และต้องออกผลรวดเร็วและถูกต้อง ดังนั้น จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก และซูเปอร์คอมพิวเตอร์จะเป็นการเลือกสรรที่เหมาะสม นอกจากนี้มีงานอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เหมือนกัน อย่างเช่น ในกิจการบันเทิง ในหนังภาพยนตร์ อวตาร ไม่ว่าตัวบุคคลและภาพวิว มีกว่า 2/3 ต้องใช้คอมพิวเตอร์มาปรับสภาพ ทราบว่า ได้ใช้เวลากว่า 1 ปีถึงจะทำเสร็จ แต่ถ้าใช้เทียนเหอ-2 ไม่ถึงหนึ่งเดือนจะทำเสร็จเรียบร้อยแน่นอน ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ยังสามารถขยายบทบาทสำคัญต่อทั่วทั้งสังคมมนุษย์ด้วย
ในกิจการคมนาคม ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จะช่วยปรับการออกแบบของยานยนต์ด้านกลศาสตร์ของไหล และลดการสิ้นเปลืองพลังงานให้น้อยลง ปรับการออกแบบด้านโครงสร้างของตู้ยานยนต์ ซึ่งสามารถจะเสริมสมรรถภาพด้านการป้องกันการชน และความสะดวกสบายให้สูงขึ้น
ในงานประมวลผลภาพทางการแพทย์และกิจการเคมีเภสัชวิทยา การสร้างโมเดลที่สามารถประมวลผลด้านความซับซ้อนสูงในการจำลองการประมวลผลต่างๆ ร่วมทั้งใช้การวิจัยพันธุกรรมในมนุษย์หรือโครงสร้างดีเอ็นเอ ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 3,000 ล้านคู่ยีนในร่างกายมนุษย์ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จะขยายบทบาทได้อย่างมาก และส่งเสริมให้เภสัชวิทยามีการพัฒนาก้าวหน้ารวดเร็ว
นอกจากนั้น ในด้านการทหาร วิศวกรรมเคมีภัณฑ์ ปิโตรเลียม ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ จำลองการทดสอบนิวเคลียร์ เป็นต้น ล้วนจะใช้งานซูเปอร์คอมพิวเตอร์ได้ดีเป็นอย่างมาก
ต่อไป ขอระบุผลการจัดอันดับโดยเว็บไซต์ top500.org ที่รวบรวมโดยทีมนักวิจัยนานาชาติว่า ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ "เทียนเหอ-2" หรือ ผลงานการพัฒนาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีกลาโหมแห่งชาติจีน ในเมืองฉางชา มณฑลหูหนาน ทางตอนกลางของจีน สามารถประมวลผลด้วยความเร็วสูงสุด 33.86 เพตาฟลอปต่อวินาที หรือ 33,860 ล้านล้านคำสั่งต่อวินาที ถือเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกในขณะนี้
ส่วนอันดับ 2 เป็นของแชมป์เก่า "ไททาน" ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของกระทรวงพลังงานสหรัฐ ที่ครองแชมป์เมื่อปีที่แล้ว ทำงานด้วยระบบเครย์ เอ็กซ์เค7 ตั้งอยู่ภายในห้องปฏิบัติการกลางโอ๊ค ริดจ์ ในรัฐเทนเนสซี สามารถประมวลผลด้วยความเร็วสูงสุด 17.59 เพตาฟลอปต่อวินาที หรือ กว่า 1 ล้านล้านคำสั่งต่อวินาที
อันดับ 3 ได้แก่ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ "ซีคัวญา" ของบริษัท ไอบีเอ็ม ตั้งอยู่ภายในห้องปฏิบัติการของรัฐบาลกลางวอชิงตัน เดอะ ลอว์เรนซ์ ริเวอร์มอร์ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ประมวลผลด้วยความเร็วสูงสุด 16.32 เพตาฟลอปต่อวินาที
4. เค คอมพิวเตอร์ ของญี่ปุ่น
5. ไมร่า ของสหรัฐฯ
6. สแตมพีด ของสหรัฐฯ
7. จูควีน ของเยอรมนี
8. วัลแคน ของสหรัฐฯ
9. ซูเปอร์มัค ของเยอรมนี
10. เทียนเหอ-1 เอ ของจีน
ทั้งนี้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสูงสุด 10 อันดับแรกของโลก อยู่ในสหรัฐ 5 เครื่อง เยอรมนี 2 เครื่อง จีน 2 เครื่อง และญี่ปุ่น 1 เครื่อง