ควรให้อั่งเปาหรือไม่อย่างไรดี(ตอนต้น)
  2013-08-13 13:49:00  cri

ช่วงนี้ตามท้องถนนได้เห็นรถงานแต่งผ่านไปบ่อยๆ ทั้งนี้ก็เพราะว่าได้เข้าสู่ช่วงนิยมแต่งงานของจีน ซึ่งคนจีนชอบจัดพิธีแต่งงานในช่วงนี้ และญาติพี่น้องจะเตรียมติดอั่งเปาไปเข้าร่วมพิธีแต่งงานด้วย

พิธีแต่งงานของจีนสนุกสนาน การมอบอั่งเปาก็เป็นธรรมเนียมนิยมมีมาช้านานของจีนอย่างหนึ่ง เล่ากันว่า อั่งเปามาจากกิจกรรมช่วยเหลือซึ่งกันและกันในช่วงยากจน ก่อนแต่งงาน ญาติพี่น้องจะรวบรวมเงินเพื่อมอบเป็นของอวยพร ให้กับเจ้าบ่าวเจ้าสาว เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ครอบครัวใหม่นี้

ถึงปัจจุบัน เนื่องจากระดับชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นเรื่อยๆ และความต้องการทางการคบค้าสมาคม นอกจากพิธีแต่งงานแล้ว เรื่องราวอื่นๆ เช่น การคลอดลูก ฉลองวันเกิด ย้ายบ้าน และสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ล้วนจะจัดงานเลี้ยงฉลองขึ้น และแขกที่ไปร่วมยินดีก็จะติดอั่งเปาไปให้ด้วย ทุกวันนี้ การมอบอั่งเปาได้กลายเป็นวิธีการคมหาสมาคมอย่างหนึ่ง

ในเมืองใหญ่ เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และกว่างโจว การมอบอั่งเปาระหว่างเพื่อนๆ ที่ทำงานด้วยกัน มักจะอยู่ระหว่าง 200 หยวนถึง 800 หยวน ซึ่งจะมอบตามความสนิทของความสัมพันธ์ เฉลี่ยแล้วก็ประมาณ 500 หยวน และถ้าเป็นเพื่อนที่สนิทมาก นอกจากอั่งเปาแล้ว ยังนิยมให้ของขวัญอีกด้วย เช่น เครื่องครัว เครื่องใช้หรือของตกแต่งในบ้าน เป็นต้น แต่อั่งเปานี้อย่าใส่เงินที่เป็น 300 หยวน 400 หยวน และ 700 หยวน เพราะคนจีนถือว่าตัวเลขเหล่านี้ไม่เป็นศิริมงคล

ในเมืองระดับกลาง เนื่องจากมีแรงกดดันน้อยกว่าในเมืองใหญ่ๆ และเน้นการมีหน้ามีตา ขั้นสูงสุดของจำนวนเงินในอั่งเปาจะมากกว่าเมืองใหญ่ๆ ซึ่งอั่งเปาจะอยู่ระหว่าง 200 หยวนถึง 1,000 หยวน ซึ่งญาติพี่น้องและเพื่อนๆ ก็จะนิยมส่งของขวัญเพิ่มนอกเหนือจากอั่งเปาแล้วเช่นกัน ของขวัญที่ส่งมักจะเลือกของใช้ในประจำวัน เช่น เครื่องไฟฟ้า เสื้อผ้า และกระเป๋า เป็นต้น

ส่วนในเมืองเล็กๆ อั่งเปาที่ให้นั้น 100 หยวนเป็นจำนวนทั่วไป ถ้ามีอั่งเปาเป็นจำนวน 500 หยวนก็จะนับได้ว่ามีความสัมพันธ์สนิทสนมมาก และเป็นที่พิเศษมาก และเมื่อเข้าร่วมพิธีแต่งงาน ไม่ใช่ว่าทุกคนจะมอบอั่งเปา บางคนอาจจะนำของขวัญมาแทนอั่งเปาเพื่อแสดงความน้ำใจก็ได้เช่นกัน

แล้วในชนบทซึ่งได้รักษาประเพณีแต่งงานที่มีมาช้านานมากที่สุดนั้น จะแตกต่างกับในเมือง หากมีบ้านใดบ้านหนึ่งจัดพิธีแต่งงาน มักจะเชิญตัวแทนของแต่ละครอบครัวมาเข้าร่วมงานเลี้ยง ซึ่งเหมือนเป็นงานปาร์ตี้ครั้งใหญ่ประจำหมู่บ้าน คนที่มาเข้าร่วมก็จะมอบอั่งเปาระหว่าง 20-100 หยวนเป็นน้ำใจ แล้วมักจะนำของขวัญที่ทำเองมาด้วย เช่น หมูอบแห้ง เหล้ากลั่นเอง ซึ่งนำมาร่วมเฉลิมฉลองพิธีแต่งงานกัน

การส่งอั่งเปาเป็นประเพณีที่มีมาช้านานอย่างหนึ่งของจีน แต่ปัจจุบัน ในบางพื้นที่อั่งเปานี้ได้กลายเป็นสิ่งที่สร้างแรงกดดันทางการคบหาสมาคมต่อผู้คนทั้งหลาย ได้เปลี่ยนความหมายที่การมอบส่งความสุข

เสี่ยวหวางเป็นชาวมณฑลอันฮุย มาทำงานที่กรุงปักกิ่ง เขาเล่าว่า ตอนที่อยู่ในเมือง ไม่เพียงแต่พิธีแต่งงาน การคลอดลูก ลูกครบ 1 เดือน ลูกครบ 1 ปี ล้วนต้องให้อั่งเปา ซึ่งมีความรู้สึกว่าอั่งเปานี้เป็นหนี้ในการคบหาสมาคมอย่างหนึ่ง เป็นภาระหนักสำหรับเขา

นางเติ้ง หยูนยิง ชาวเมืองฉีฉีฮาเอ่อร์ก็มีความรู้สึกเช่นเดียวกัน เธอเล่าว่า เมื่อก่อน อั่งเปามีแค่การแต่งงาน แต่ขณะนี้ได้เพิ่มขึ้นเป็นหลายๆ อย่าง เช่น ย้ายบ้าน สอบเข้ามหาวิทยาลัย เข้าเป็นทหาร ฉลองวันเกิด พิธีเปิดงาน เป็นต้น รู้สึกปวดหัวมาก เงินเดือนในหลายปีนี้ไม่ได้ขึ้นเท่าไหร่ แต่ค่าคบหาสมาคมนี้ได้เพิ่มมากขึ้นหลายๆ เท่า เพิ่มจาก 50 หยวน 100 หยวนในเมื่อก่อนกลายเป็นหลายร้อยหยวน กระทั่งมากกว่าหนึ่งพันหยวน เงินเดือนของดิฉันกับสามีรวมกันแล้วเดือนละ 4,000 หยวน นอกจากค่าเล่าเรียนของลูกแล้ว ยังต้องเลี้ยงดูพ่อแม่ เดือนหนึ่งหากต้องให้อั่งเปามากกว่า 2 หน จะลำบากมาก

ตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า อั่งเปากลายเป็นแรงกดดันทางการคบหาสมาคมอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การให้อั่งเปาเป็นประเพณีที่มีมาช้านานอย่างหนึ่งของจีน ซึ่งเกิดขึ้นด้วยปัจจัยทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในสมัยใหม่นี้ เราไม่เพียงแต่ต้องรักษาประเพณีดั้งเดิมที่มีมาช้านาน หากยังต้องพิจารณาความเหมาะสมด้วย การให้อั่งเปาเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่ส่งความสุข และเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนๆ และญาติพี่น้องกัน ขอแต่ให้มอบอั่งเปาตามกำลังของตน อย่าถือจำนวนเงินเป็นหลัก ใส่น้ำใจความจริงใจในอั่งเปา จึงจะทำให้การส่งและการรับอั่งเปาเป็นเรื่องที่สบายใจและมีความสุข

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040