ประเด็นหลัก-
เอเปคเน้นอภิปรายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจทั่วโลกและเศรษฐกิจส่วนภูมิภาค เช่นความเสรีและสะดวกด้านการค้าและการลงทุน การรวมเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ให้เป็นองค์ประกอบเดียวกัน ระบบการค้าแบบพหุภาคี แผนยุทธศาสตร์ใหม่เกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีและการเสริมศักยภาพ และการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ปีหลังๆ มานี้ เอเปคค่อยๆ มีส่วนร่วมปัญหาความมั่นคงและปัญหาระหว่างประเทศที่ทั่วโลกสนใจกันบางประการ เช่นการปราบปรามการก่อการร้าย การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ความปลอดภัยของอาหาร ความปลอดภัยของพลังงาน โรคระบาด การป้องกันและบรรเทาภัย และการปราบปรามคอรัปชั่น
รูปแบบความร่วมมือ-
เอเปคดำเนินความร่วมมือในรูปแบบที่สมัครใจและปรึกษาหารือกัน ข้อตกลงต้องได้รับผ่านจากสมาชิกทั้งหมด แม้ว่าเอกสารสุดท้ายของการประชุมไม่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมายก็ตาม แต่สมาชิกต่างๆ มีความรับผิดชอบที่ควรปฏิบัติตามในทางการเมือง
การเข้าร่วมของอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม-
เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์กับวงการอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม เอเปคได้จัดตั้งสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค (ABAC) ขึ้นเมื่อปี 1995 ประกอบด้วยบุคคลวงการอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมที่มีชื่อเสียง 3 คนที่เสนอชื่อโดยแต่ละสมาชิก รับผิดชอบด้านการให้ข้อเสนอด้านความเสรีการค้าและการลงทุนของเอเปค ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ตลอดจนการสร้างบรรยากาศทางการค้าที่ดี และยื่นรายงานต่อที่ประชุมผู้นำ และที่ประชุมรัฐมนตรี สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปคถือเป็นช่องทางสำคัญสำหรับวงการอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมในการเข้าร่วมความร่วมมือของเอเปค จัดการประชุมปีละ 4 ครั้ง สำนักเลขาธิการของสภาฯ ตั้งอยู่ที่กรุงมานิลาของฟิลิปปินส์
ผลงานสำคัญ-
ตั้งแต่เอเปคก่อตั้งขึ้น โดยเฉพาะกลไกการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปคจัดตั้งขึ้นแล้ว เอเปคได้ประสบผลคืบหน้ามากขึ้นในด้านการส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าและการลงทุนส่วนภูมิภาค และแสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิขทั่วโลกและส่วนภูมิภาค การประชุมโบกอร์ อินโดนีเซียเมื่อปี 1994 ได้ตั้งเป้าหมายให้บรรลุซึ่งความเสรีและสะดวกทางการค้าและการลงทุน กำหนดตารางเวลา 2 ฉบับคือ สำหรับสมาชิกพัฒนา ให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวก่อนปี 2010 ส่วนสมาชิกกำลังพัฒนาบรรลุเป้าหมายดังกล่าวก่อนปี 2020
การประชุมโอซากะ ญี่ปุ่นเมื่อปี 1995 ได้กำหนดให้เปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน กับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเป็นส่วนสำคัญของความร่วมมือของเอเปค การประชุมซูบิก ฟิลิปปินส์เมื่อปี 1996 ได้กำหนดรูปแบบความร่วมมือของเอเปค คือดำเนินการด้วยความสมัครใจและปรึกษาหารือกัน การประชุมเซี่ยงไฮ้ จีนเมื่อปี 2001 ได้ผลักดันให้เอเปคประสบผลคืบหน้าในด้านการพัฒนาระบบการค้าแบบพหุภาคี การสร้างสรรค์ทรัพยากรบุคลากร เศรษฐกิจใหม่และความร่วมมือเพื่อปราบปรามการก่อการร้าย
การประชุมปูซาน เกาหลีใต้เมื่อปี 2005 ได้กำหนด โร็ดแม็ปบูซาน เพื่อบรรลุซึ่งเป้าหมายโบกอร์ การประชุมซิดนีย์ ออสเตรีเลียเมื่อปี 2007 ได้อภิปรายถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และผ่าน "แถลงการณ์ซิดนีย์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ความปลอดภัยของพลังงานและการพัฒนาอย่างสะอาด" การประชุมลีมา เปรูเมื่อปี 2008 ได้อภิปรายถึงสถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกและส่วนภูมิภาค และวิกฤตการเงินโลก และประกาศ "แถลงการณ์ผู้นำ" และ "แถลงการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศ"
การประชุมสิงคโปร์เมื่อปี 2009 ได้อภิปรายถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ ระบบการค้าแบบพหุภาคี การรวมเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ให้เป็นองค์ประกอบเดียวกัน และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และประกาศแถลงการณ์ผู้นำด้วย ส่วนการประชุมฮาวาย สหรัฐฯ เมื่อปี 2010ได้อภิปรายถึงเศรษฐกิจส่วนถภูมิภาค รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความรวมมือ ความปลอดภัยด้านพลังงาน ส่วนการประชุมวลาดิวอสต๊อก รัสเซียเมื่อปีที่แล้ว ได้เน้นอภิปรายปัญหาความปลอดภัยของอาหาร และความเสรีการค้าและการลงทุน ประกาศแถลงการณ์ผู้นำเอเปคครั้งที่ 22