อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยของศูนย์ศึกษากระบวนการทางฟิสิกส์ในการหมุนวนของบรรยากาศแห่งสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีนระบุว่า ในบรรดาแหล่งกำเนิดมลพิษของกรุงปักกิ่งนั้น รถยนต์ ถ่านหินและฝุ่นละอองจากการก่อสร้างคิดเป็นร้อยละ 50 โรงงานอุตสาหกรรมคิดเป็นร้อยละ 8 ส่วนการปรุงอาหารซึ่งผู้คนมักจะมองข้ามกลับคิดเป็นร้อยละ 13
เวลานี้ ภัตตาคารและร้านอาหารต่าง ๆ ไม่ได้ทำความสะอาดท่อระบายควันบ่อย นอกจากนี้ เครื่องดูดควันก็ไม่ได้กรองและสะสมฝุ่นขนาดเล็กอย่าง PM2.5 ผู้เชี่ยวชาญจึงเสนอให้รัฐบาลออกมาตรฐานบังคับด้านนี้ด้วย
จริง ๆ แล้ว ชาวจีนนิยมปรุงอาหารด้วยการผัดตั้งแต่สมัยราชวงศ์หนานเป่ยซึ่งมีประวัติความเป็นมา 1,500 ปี จนถึงปัจจุบัน การผัดกับข้าวเป็นส่วนสำคัญที่ชาวจีนขาดไม่ได้ ปกติใช้กะทะเป็นเครื่องมือหลัก และใส่น้ำมันพอสมควร เมื่อน้ำมันร้อนจัด ก็ใส่เครื่องปรุงและผัก แล้วเร่งไฟเพิ่มความร้อนและผัดกลับไปมาเพื่อทำให้สุกทั่วคันโดยเร็ว
ที่มาของการผัดกับข้าวมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการแพร่หลายของเครื่องครัว ในสมัยราชวงศ์ชุนชิ๋ว ชาวจีนก็ได้คิดเทคนิกการหล่อเหล็ก ฉะนั้น ผู้คนทั่วไปจึงสามารถใช้หม้อเหล็กอย่างแพร่หลาย ต่อมาในสมัยราชวงศ์หนานเป่ย ในหนังสือชื่อ"ฉีหมินเย่าซู่" ซึ่งเป็นหนังสือที่เกี่ยวกับการเกษตร ก็มีการบันทึกวิธีการทำผัดกุยช่ายใส่ไข่ไว้อย่างละเอียด นับเป็นเรื่องใหญ่ในประวัติศาสตร์การหุงต้มของจีนและโลก
(In/Cui)