เมื่อเร็วๆ นี้ ประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ ได้รับผลกระทบจากประเทศที่เป็นเจ้าของสกุลเงินสำรองระหว่างประเทศสำคัญๆ อาจมีความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้นที่จะมีการถอนมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE : Quantitative Easing) แต่การนี้จะไม่กระทบถึงแนวโน้มที่ดีในการเติบโตของตลาดจีน-อาเซียนภายในกรอบเขตการค้าเสรี
ในช่วง 3 ไตรมาาสแรกของปีนี้ ตลาดอาเซียนเป็นตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดด้านการนำเข้าส่งออก การเพิ่มการอำนวยความสะดวกด้านการค้าเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญสำหรับตลาดจีน-อาเซียนในการรองรับผลกระทบจากทั่วโลก นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมปี 2010 ที่เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ การค้าที่มีต้นทุนต่ำกว่าทำให้บริษัทระหว่างจีนกับอาเซียนมีความสัมพันธ์แนบแน่นยิ่งขึ้น ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมข้ามชาติในภูมิภาคนี้กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว
บริษัท ทีมบิวเตอร์ของฟิลิปปินิส์ทำธุรกิจหาซื้อของขวัญของชำร่วย ของเด็กเล่น นาฬิกา และของใช้ที่ทำจากพลาสติก พวกเขาเป็นตัวอย่างสามารถทำกำไรมากยิ่งขึ้นเจากนโยบายภาษีเป็นศูนย์ ทำให้การนำเข้าและส่งออกกับจีนลดต้นทุนเป็นจำนวนมาก ทั้งยังมีตลาดที่มั่นคงด้วย
เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนได้นำมาซึ่งตลาดที่กว้างใหญ่ยิ่งขึ้นแก่ทั้งสองฝ่าย มาเลเซียมีผลิตภัณฑ์กว่า 9,000 ชนิดที่มีภาษีเป็นศูนย์ หรือเสียภาษีต่ำกว่า 5% จีนเป็นคู่ค้าอันดับแรกของมาเลซีย การส่งออกไปจีนของมาเลเซียเติบโตขึ้นกว่า 10% ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
การไปมาหาสู่กันที่ดีระหว่างจีนกับอาเซียนก็เป็นหลักประกันที่มีพลังในการต้านแรงกดดันจากภายนอก ก่อนหน้านี้ นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีนกล่าวขณะต้อนรับคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจการค้าของ 10 ประเทศอาเซียนว่า จีนสนับสนุนให้อาเซียนแสดงบทบาทของตนในการส่งเสริมความร่วมมือในเอเชียตะวันออกและการจัดตั้งประชาคมอาเซียน จีนยินดีร่วมกับประเทศต่างๆ เพื่อเพิ่มพูมความเชื่อมั่นทางยุทธศาสตร์ ให้ความร่วมมือทุกๆ ด้านมีความลุ่มลึกยิ่งขึ้น ยกระดับเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน สร้างความสุขแก่ประชาชนในภูมิภาคให้มากยิ่งขึ้น
In/Lei