นักศึกษาหญิงจีน ประสบปัญหากีดกันทางเพศ หางานทำได้ยากกว่านักศึกษาชาย (2)
  2014-06-16 12:37:27  cri

นส.หลิว เหมยให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า จากประสบการณ์สอบสัมภาษณ์ของตนพบว่า วิสาหกิจหลายแห่งจะถามเธอว่า มีแฟนหรือยัง และมีแผนจะแต่งงานเมื่อไหร่ แม้ว่าเธอตอบว่า ยังไม่มีแผนจะแต่งงาน ทางบริษัทก็ยังไม่ค่อยพอใจ

นส.หลิว เหมยบอกว่า หัวข้อปริญญานิพนธ์ของเธอก็คือ สิทธิการได้งานทำเท่าเทียมกันระหว่างนักศึกษาชายกับนักศึกษาหญิง เธอได้สำรวจตำแหน่งข้าราชการอย่างทั่วถึง พบว่า หลายตำแหน่งต้องการให้นักศึกษาชายสมัครสอบ โดยเฉพาะตำแหน่งด้านกฎหมายส่วนใหญ่ตั้งเงื่อนไขว่าต้องเป็นนักศึกษาชาย แต่สาขานิติบัศาสตร์เป็นวิชาสายศีลป์ ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาหญิง

สิ่งที่น่าสังเกตคือการอนุญาติ์ให้มีลูกคนที่สองสำหรับพ่อแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เป็นลูกคนเดียวนั้น ทำให้นักศึกษาหญิงมีอุปสรรคมากขึ้นในการหางานทำ เพราะหลายวิสาหกิจจะถามผู้สมัครงานว่า เป็นลูกโทนหรือเปล่า มีแผนจะแต่งงานเมื่อไหร่ และอยากมีลูกคนที่สองหรือเปล่า สำหรับนักศึกษาหญิงที่คิดจะแต่งงานแล้วมีลูกคนที่สองนั้นก็เป็นการสร้างอุปสรรคมากขึ้นอีก

สถิติพบว่า อัตราการได้งานทำของนักศึกษาชายอยู่ที่ 77.3% ส่วนอัตราการได้งานทำของนักศึกษาหญิงอยู่ที่ 65.9% ต่ำกว่านักศึกษาชาย 11.4% ในช่วงการประชุมสองสภาปีนี้ กรรมการปรึกษาการเมืองแห่งชาติจีนเสนอว่า การกีดกันทางเพศในการหางานทำนั้น เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรมนุษย์ ทำลายความยุติธรรมทางสังคม ตลอดจนส่งผลกระทบถึงการเดินเรื่องของระบบสังคม

เมื่อเผชิญกับการกีดกันทางเพศในการหางานทำ นักศึกษาหญิงบางคนเลือกที่จะร่วมกันต่อสู้เรียกร้องสิทธิความเท่าเทียม ในวันหยุดแรงงานปีนี้ นักศึกษาหญิง 25 คนจาก 10 เมืองส่งจดหมายร้องเรียนถึงหน่วยงานควบคุมดูแลแรงงานเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง หวังให้หน่วยงานช่วยแก้ปัญหากีดกันทางเพศในการหางานทำด้วย แต่สำหรับนักศึกษาหญิงทั่วไปยังเลือกที่จะยอมรับสภาพนส.หลิว เหมยให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า แม้ว่าตนเองเรียนสาขานิติศาสตร์ แต่ก็ยอมลงให้กับการกีดกันทางเพศ เธอกล่าวว่า กฎหมายจีนกำหนดชัดเจนว่าไม่ให้มีการกีดกันทางเพศในการหางานทำ แต่ในสภาพที่เป็นจริง มีน้อยคนที่เรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมกันในการหางานทำของตน เพราะเนื่องจากวิสาหกิจมีอิสะเสรีในการจ้างแรงงาน และกระบวนการรับสมัครบุคคลเป็นงานภายในของวิสาหกิจ เพราะฉะนั้นยากที่จะควบคุมได้

แต่มีข่าวที่น่าสนใจว่า เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลออกมาตรการที่เน้นว่า ห้ามมีการกีดกันทางเพศในการหางานทำ และส่งเสริมความยุติธรรมในการหางานทำ โดยกำหนดว่า วิสาหกิจต่างๆ ต้องไม่สร้างเงื่อนไขด้านชนเผ่า เพศ และศาสนา

นางจาง จิ้งเจี๋ย ผู้เชี่ยวชาญด้านสตรีศึกษาเห็นว่า การกีดกันทางเพศเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้นักศึกษาหญิงมีโอกาสหางานทำได้ต่ำ และการไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้เพราะว่า วิสาหกิจต้องแบกรับต้นทุนที่พนักงานหญิงลาคลอด เธอเห็นว่า ในช่วงลาคลอดที่เป็นเวลา 3-6 เดือน พนักงานหญิงไม่สามารถทำงานได้ วิสาหกิจที่เป็นผู้ว่าจ้างต้องแบกรับต้นทุนส่วนนี้ ทำให้วิสาหกิจไม่ประสงค์จะว่าจ้างพนักงานหญิง

นางจาง จิ้งเจี๋ยเห็นว่า การหลีกเลี่ยงการกีดกันทางเพศประการแรกผู้สมัครงานต้องมีจิตสำนึกในด้านนี้ ไม่ยอมอ่อนข้อในด้านนี้ ประการที่ 2 รัฐบาลต้องมีนโยบายชดเชยวิสาหกิจด้วย คือสำหรับวิสาหกิจที่จ้างพนักงานหญิง และต้องแบกรับต้นทุนลาคลอดนั้น รัฐบาลก็ให้เงินชดเชยเป็นส่วนหนึ่ง เป็นการส่งเสริมให้วิสาหกิจเลือกรับนักศึกษาหญิงเข้าทำงานมากขึ้น

ทนายความบางคนเห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องลงโทษวิสาหกิจที่สร้าง "2 มาตรฐาน" ในการหางานทำสำหรับนักศึกษาหญิง และนักศึกษาชายอย่างหนัก และอีกด้านหนึ่ง นักศึกษาหญิงต้องไม่ยอมอ่อนข้อในข้อนี้ด้วย เพราะแม้ว่าทุกวันนี้จีนมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างสมบูรณ์ แต่ตามสภาพที่เป็นจริง วิสาหกิจไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างจริงจัง ผู้ถูกละเมิดสิทธิ์ อันได้แก่นักศึกษาหญิงต้องมีจิตสำนึกในการคุ้มครองสิทธิ์ของตนเอง

(yim/cici)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040