วันที่ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมา ศูนย์จีน-อาเซียนได้เชิญอาจารย์เกื้อพันธุ์ นาคบุปผา อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้เชี่ยวชาญมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่งมาที่ซีอาร์ไอภาคภาษาไทย โดยคุณหานซี หัวหน้าภาคภาษาไทยได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี นอกจากนี้ คุณลดา ภูมาส ผู้อำนวยการฝ่ายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ศูนย์จีน-อาเซียนและนายชุย อี๋เหมิง ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอได้ร่วมดำเนินรายการกับอาจารย์เกื้อพันธุ์ นาคบุปผา กรุณาเชิญอาจารย์เล่าถึงการใช้ชีวิตในจีน ความประทับใจต่อนักศึกษาจีนและการสอนภาษาไทยที่จีน เป็นต้น
ก่อนอื่น ได้เชิญคุณลดาช่วยแนะนำความเป็นมาของศูนย์จีน-อาเซียน
คุณลดา: สวัสดีค่ะ ท่านผู้ฟังซีอาร์ไอ ศูนย์อาเซียน-จีนเป็นองค์การระหว่างรัฐบาลที่รัฐบาลอาเซียน 10 ประเทศกับรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน เห็นชอบให้จัดตั้งขึ้น ในการประชุมสุดยอดอาเซียนเมื่อปี 2549 เป็นการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์อาเซียนกับจีนในฐานะเป็นประเทศคู่เจรจา 15 ปี ทีนี้ต่อมา ในปี 2552 ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีนครั้งที่ 12 ที่ประเทศไทย ได้มีการประกาศจัดตั้งแล้วก็มีการลงนามไปบันทึกความเข้าใจในการจัดตั้งศูนย์อาเซียน-จีนขึ้น แล้วก็มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีนครั้งที่ 14 ที่ประเทศอินโดนีเซีย ต้องเท้าความนิดหนึ่งว่า นอกจากเราจัดตั้งศูนย์อาเซียน-จีนขึ้นมาแล้ว หน้าที่ของศูนย์อาเซียน-จีนคืออะไร มีบทบาทอย่างไร สิ่งแรกก็คือจะต้องเป็นผู้ที่ประสานงานสนับสนุน การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ แล้วก็ความเข้าใจอันดีระหว่างอาเซียนกับจีน อันที่สองก็คือจะต้องเป็นผู้ดำเนินโครงการที่ทำได้จริงและเกิดประโยชน์ในการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับจีนในเรื่องของการค้าการลงทุน การศึกษา วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ท้ายที่สุดก็เป็นเรื่องของการสนับสนุนด้ารข้อมูลข่าวสารเพื่อเชื่อมโยงระหว่างอาเซียนกับจีน โครงการดังนั้น ศูนย์อาเซียนจีนในส่วนของหน่วยสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ที่ดิฉันดูแลอยู่เป็นผู้อำนวยการอย่างนี้ก็ได้จัดทำโครงการ โครงการหนึ่งขึ้นมาเราเรียกว่า Life in China Presented by Asean Residents and Students เป็นโครงการของประจำปีงบประมาณปีนี้ แล้วทางศูนย์ได้จัดทำไปแล้วสองครั้ง ครั้งแรกเราร่วมมือกับซีอาร์ไอทุกครั้งเลยในโครงการนี้ เพราะว่าเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์ ชีวิตแล้วก็ความเป็นอยู่ ความรู้สึกที่ชาวอาเซียนไม่ว่าจะเป็นชาติใดหนึ่งในสิบประเทศอาเซียนรู้สึกยังไงกับประเทศจีนกับประชาชนจีนกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เราทำไปแล้วครั้งแรกกับภาควิชากับภาคภาษาอังกฤษ แล้วก็ถ่ายทอดใน FM 91.5 ในจีน เป็นคลื่นวิทยุของภาษาอังกฤษโดยเฉพาะ ตอนนั้นเราสัมภาษณ์นักเรียนนักศึกษาของสามประเทศอาเซียน ก็คือไทย มาเลเซียและอินโดนีเซีย ครั้งที่สองเราไปสัมภาษณ์นอกสถานที่เป็นการสัมภาษณ์นักศึกษาลาวในช่วงที่เรามีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับประเทศลาว เป็นนิทรรศการภาพวาด ภาพถ่ายเกี่ยวกับประเทศลาว เป็นการส่งเสริมลาวในจีน อันนี้เราไปสัมภาษณ์ที่ยูนนาน ก็ไปกับเจ้าหน้าที่ซีอาร์ไอภาคภาษาลาวแล้วก็มีการเผยแพร่ในลาว ในวันนี้เราก็ถือว่า เป็นโอกาสอันดี ได้รับเกียรติจากอาจารย์เกื้อพันธุ์นะคะ ซึ่งเป็นอาจารย์คนไทยที่อยู่ที่เมืองจีน มีความผูกพันกับเมืองจีน เราก็ได้เรียนเชิญท่านมาร่วมโครงการนี้ด้วย เพราะฉะนั้น อันเป็นการสัมภาษณ์ครั้งที่สามของACC ที่ร่วมกับซีอาร์ไอค่ะ
(Cui)