ความเป็นมาและพัฒนาการของอู่สู้หรือวิทยายุทธ (3)
  2014-07-17 16:48:23  cri

อู่สู้ วิทยายุทธหรือกังฟู เป็นกีฬาพื้นเมืองของจีน สาเหตุที่อู่สู้สามารถสืบทอดต่อๆกันมาจนถึงปัจจุบัน และนับวันพัฒนาและได้รับการยอมรับจากทั่วโลกด้วย เอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ เป็นวิธีการออกกำลังกาย และวิธีการป้องกันตัวที่ดี นับเป็นบทบาทที่สำคัญ 2 อย่างของกีฬา คนฝึกจะฝึกอู่สู้เพราะต้องการที่ทำให้ร่างกายแข็งแรงและบ่มเพาะอารมณ์จิตใจในยามปกติ ในกรณีที่ต้องเผชิญกับกำลังรุนแรงจากผู้ร้าย อู่สู้ก็จะเป็นอาวุธที่ใช้ต่อสู้และช่วยชีวิต ดังนั้น ในสังคมศักดินาอันยาวนานของจีน ประชาชนจีนที่ถูกกดขี่ขูดรีดแสนสาหัส จึงมีความผูกพันกับอู่สู้อย่างลึกซึ้ง อู่สู้จึงได้รับการสืบทอดหลายยุคสมัย จนค่อยๆพัฒนามีเอกลักษณ์ของประชาชาติจีน

ในระยะเวลาที่จีนอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลคณะชาติ โดยที่อาวุธไฟได้รับการใช้กันอย่างกว้างขวาง ประโยชน์ของอู่สู้ในด้านการออกกำลังกายและช่วยให้ร่างกายแข็งแรงจึงโดดเด่นยิ่งขึ้น อู่สู้เริ่มแสดงบทบาทในฐานะที่เป็นกีฬาประเภทหนึ่งในชีวิตสังคมของคนจีน

ภายหลังสาธารณรัฐประชาชนจีนสถาปนาขึ้นแล้ว พรรคคอมมิวนิสต์และรัฐบาลจีนสนใจสุขภาพของประชาชนเป็นพิเศษ และให้ความสำคัญอย่างสูงต่อการสืบทอดและการพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมที่ดีเด่นของประชาชาติจีน รัฐไม่เพียงแต่จะจัดการแสดงหรือการแข่งขันวิทยายุทธเป็นประจำ หากยังเปิดสอนวิชาวิทยายุทธในวิทยาลัยครูและสถาบันการกีฬาด้วย และอบรมบุคลากรพิเศษศึกษาวิจัยวิชามวยที่ได้สืบทอดกันมานาน พวกเขาได้รวบรวมจุดเด่นของอู่สู้แต่ละสำนัก สร้างวิทยายุทธแบบปัจจุบัน เช่นไทเก็กย่อย มวยยาว มวยสั้นและวิชาฟันดาบรันมีดใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมชนชาติ พัฒนาการกีฬา ท้องที่ต่างๆของจีนพากันก่อตั้งสมาคมวิทยายุทธ เพื่อเชิญชวนให้ฝึกกังฟู รัฐบาลกลางยังมีองค์กรเฉพาะกิจที่รับผิดชอบงานการส่งเสริมอู่สู้ กำหนดวิทยายุทธเป็นรายการแข่งขันของงานกีฬาระดับชาติ มาตรการเหล่านี้ช่วยส่งเสริมและศึกษาวิทยายุทธในระดับสูง ทำให้อู่สู้เจริญรุ่งเรืองในสังคมสมัยใหม่เป็นอย่างดี ไม่ว่าในเมืองหรือชนบท อู่สู้ซึ่งเป็นกีฬามวลชนประเภทหนึ่งได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง ปีหลังๆนี้ ในด้านเทคนิค โครงสร้างและดัชนีความยาก วิทยายุทธพัฒนารุดหน้าไปอย่างน่าชื่นชม รายการแข่งขันวิทยายุทธของหมู่คนนับเป็นผลสำเร็จใหม่ของประวัติศาสตร์การพัฒนาของวิทยายุทธ พร้อมๆกับประเทศจีนเปิดสู่ต่างประเทศอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นทุกที อู่สู้ วิทยายุทธหรือกังฟูของจีนก็ถูกนำไปเผยแพร่ยังดินแดนต่างชาติ อีกทั้งยังทำหน้าที่กระชับมิตรภาพและส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างประชาชนจีนกับประชาชนประเทศต่างๆอีกด้วย

เมื่อกล่าวถึงการเผยแพร่ของวิทยายุทธจีนในต่างประเทศ นับได้ว่าญี่ปุ่นและประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นประเทศที่รับการถ่ายทอดกังฟูของจีนก่อนประเทศอื่นๆ หนังสือประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า เฉินหยวนจือ อาจารย์มวยสมัยราชวงศ์หมิงได้เดินเรือสู่ญี่ปุนเพื่อถ่ายทอดวิทยายุทธเส้าหลิน ซึ่งได้ปูพื้นฐานให้กับ"ยูโด"ของญี่ปุ่น เท่าที่ทราบ คาราเต้(karate) ของญี่ปุ่น เทควันโด(taekwondo) ของเกาหลี มวยไทยของไทยตลอดจน วิชาเล่นกระบองของฟิลิปปินส์ต่างได้รับอิทธิพลไม่มากก็น้อยจากวิทยายุทธจีน

ในฐานะที่เป็นแหล่งกำเนิดของอู่สู้หรือวิทยายุทธ จีนเคยจัดส่งคณะนักมวยไปยัง 60 ประเทศเพื่อแสดงวิทยายุทธและแลกเปลี่ยนวิชามวยกับต่างประเทศในปีหลังๆนี้ ไม่เพียงแต่ได้เชิดชูมรดกวัฒนธรรมชนชาติเท่านั้น หากยังเพิ่มพูนไมตรีจิตระหว่างชาวจีนกับชาวโลกอีกด้วย ปัจจุบัน วิทยายุทธจีนได้รับความนิยมในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา สหรัฐอเมริกาได้ก่อตั้ง"สมาคมวิทยายุทธจีนแห่งชาติสหรัฐอเมริกา" ในนครใหญ่ที่มีชื่อเสียงอย่างนิวยอร์คและSan Francisco ก็ล้วนมี"โรงเรียนกังฟูเส้าหลิน"ทั้งสิน กระแสนิยมวิทยายุทธของจีนเป็นผลที่ทำให้ "GongFu, ShaoLin, TaiJi, Wushu" ซึ่งเป็น pinyin ของภาษาจีนค่อยๆพัฒนาเป็นศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้บ่อยๆ ความเหนือกว่าของวิทยายุทธจีนในด้านออกกำลังกาย เทคนิคการโจมตีและท่าทางงดงาม กำลังดึงดูดครูฝึกชาวต่างชาติให้ทยอยกันมาศึกษาวิจัยและฝึกกังฟูจำนวนมหาศาล

กระบวนการพัฒนาอันยาวนานของวิทยายุทธจีนอันเลื่องลือ เปี่ยมไปด้วยสติปัญญาอันสูงส่งของประชาชนจีน การปฏิบัติของชาวจีนเพื่อดำรงชีวิตผ่านหลายพันปี ทำให้วิทยายุทธสร้างเอกลักษณ์ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความฉลาดและความองอาจของประชาชาติจีน ตลอดจนหลักปรัชญาและแนวคิดศีลธรรมอันลึกซึ้ง

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040