เงินหยวนสร้างประโยชน์แก่ชาวโลก (1)
  2014-12-10 12:20:04  cri

ปัจจุบัน เศรฐษกิจจีนที่พัฒนาเติบโตอย่างรวดเร็ว กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของเศรษฐกิจโลก เงินเหรินหมินปี้ของจีนหรือสกุลเงินหยวนก็มีบทบาทและฐานะสำคัญยิ่งขึ้นในเวทีการเงินโลกเช่นกัน

เมื่อเดือนกรกฏาคมปีที่แล้ว ธนาคารจีนหรือ Bank Of China ได้จัดประชุมหัวข้อ "กระบวนการเป็นสกุลเงินสากลของเงินเหรินหมินปี้ – โอกาสและการท้าทายในตลาดไทย" ที่กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เชี่ยวชาญและนักธุรกิจจีนและไทยจำนวนกว่า 200 คนมาร่วมประชุม และมีการอภิปรายประเด็นต่างๆ อาทิ ลักษณะของธุรกิจการค้าเหริน

หมินปี้ข้ามแดน โอกาสของบริษัทไทยในกระบวนการเป็นสกุลเงินสากลของเหรินหมินปี้ เป็นต้น

ดร.เฉา หย่วนเจิง หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ธนาคารจีนกล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2009 ที่จีนเริ่มต้นกระบวนการเป็นสกุลเงินสากลของเงินหยวนเป็นต้นมา การค้าระหว่างประเทศที่ใช้เงินหยวนมีจำนวนมากขึ้น ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคมปี 2014 การชำระค่าการค้าข้ามชาติด้วยเงินหยวนสูงถึง 3.065 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้น 66% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว และขอบเขตการใช้เงินหยวนขยายวงกว้างขึ้นจากการค้าไปถึงการลงทุนด้วย

ผู้เชี่ยวชาญที่ร่วมประชุมเห็นว่า ปัจจุบัน เงินหยวนได้เข้าสู่ประเทศกว่า 220 ประเทศ ศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเงินหยวนที่อยู่นอกแผ่นดินใหญ่จีนมีจำนวนมากขึ้นจนกลายเป็นเครือข่ายขึ้นมา ที่ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ อังกฤษ เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ล้วนได้จัดตั้งหรือกำลังจะจัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนเงินหยวน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กระบวนการเป็นสกุลเงินสากลของเงินหยวนประสบผลคืบหน้าอย่างแท้จริง

ประวัติการใช้เงินหยวนในต่างประเทศ เริ่มจากการพัฒนาการท่องเที่ยวและการค้าชายแดน ทำให้มีเงินหยวนหมุนเวียนในประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบของจีน ปีหลังๆ นี้ รัฐบาลจีนได้ส่งเสริมการชำระการค้าระหว่างประเทศด้วยเงินหยวน และผลักดันการพัฒนาตลาดเงินหยวนที่อยู่นอกแผ่นดินใหญ่จีน ทำให้เงินหยวนกลายเป็นเงินสกุลที่ใช้ประจำมากที่สุดอันดับที่ 7 ของโลก

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นายสี จิ้นผิงประธานาธิบดีจีนเสร็จสิ้นการเยือนประเทศมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ การเจรจาเขตการค้าเสรีจีน – ออสเตรเลียสิ้นสุดลงด้วยผลบริบูรณ์ หนังสือพิมพ์ เดอะ เอจ (The Age) ของออสเตรเลียให้คำถามว่า ชีวิตของเราจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

คำถามคือ การเปลี่ยนแปลงจะรวมถึง อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจสูงขึ้น การใช้ชีวิตดีขึ้น โอกาสการมีงานทำมากขึ้น และเน้นเป็นการเฉพาะว่า นครซิดนีย์จะกลายเป็นศูนย์แลกเปลี่ยนเงินหยวนนอกแผ่นดินใหญ่จีนแห่งใหม่ การนี้หมายถึงการค้าระหว่างเงินดอล่าร์ออสเตรเรียกับเงินหยวนจีนโดยตรงจะขยายตัวมากขึ้น ต้นทุนการค้าระหว่างสองประเทศจะลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด

หนังสือพิมพ์ วอลล์สตรีทเจอร์นัล (Wall Street Journal ) ของสหรัฐอเมริกาออกบทความชี้ให้เห็นว่า การเจรจาการค้าเสรีระหว่างจีนกับออสเตรเลียที่ใช้เวลา 10 ปี มีเนื้อหารวมถึงการลดภาษีศุลกากร แต่จุดที่สำคัญคือเปิดตลาดการเงินต่อกัน ทำให้ฝีก้าวความเป็นสกุลเงินสากลของเงินหยวนเร็วขึ้น อันที่จริง ในเดือนพฤศจิกายนปี 2014 นอกจากออสเตรเลียแล้ว จีนยังได้ลงนามกับประเทศกาตาร์ แคนาดาและมาเลเซียในบันทึกช่วยจำเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการชำระด้วยเงินหยวน

หนังสือพิมพ์ ไฟแนนเชียลไทม์ (Financial Times) ของอังกฤษออกบทความระบุว่า เงินหยวนบุกเข้า 4 ประเทศภายในเวลา 1 เดือน การพัฒนาของเงินหยวนเร็วกว่าที่เราคาดหมายไว้อย่างมาก ในปี 2014 เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเป็นสกุลเงินสากลของเงินหยวนยังมีอีกหลายเรื่อง อาทิ เดือนมิถุนายน เงินหยวนกับเงินปอนด์สามารถค้าขายกันได้โดยตรง จนถึงปลายเดือนกันยายน มีการประกาศค้าขายเงินหยวนกับเงินยูโรโดยตรง ก่อนหน้านี้ เงินหยวนก็สามารถค้าขายโดยตรงกับดอล่าร์สหรัฐฯ เงินเยนญี่ปุ่นและเงินดอลลาร์ออสเตรเลียแล้ว ฉะนั้น เงินหยวนจึงสามารถค้าขายโดยตรงกับสกุลเงินสำคัญของโลกทั้งหมด

(In/Lin)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040