ย้อนรอยการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามเส้นทางสายไหมเพื่อสานฝันจีน (2)
  2014-12-23 16:36:54  cri

ศ.เย่ว์ อี้ว์ (Yue Yu,岳钰) ในงาน "นิทรรศการภาพเขียนพุทธปัญญา"

ระหว่างการประชุมพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) ครั้งที่ 27

ศ. เย่ว์ อี้ว์ (Yue Yu,岳钰) ผู้อำนวยการสถาบันศาสนศิลป์แห่งมหาวิทยาลัยซีเป่ย นักเขียนภาพที่มีชื่อเสียงของจีนศึกษาพุทธศาสนานานกว่า 10 ปี เขียนภาพพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์หลายสิบภาพ เขาระบุว่า เมืองซีอาน พระราชธานีราชวงศ์ถังเป็น "บ้านเกิดแห่งที่ 2" ของพุทธศาสนา หลังจากพุทธศาสนาเข้าสู่จีนแล้ว ซีอาน ซึ่งในสมัยโบราณเรียกว่า ฉางอาน เป็นศูนย์การแลกเปลี่ยนพระพุทธศานาของโลก โดยมีการจัดสำนักงานแปลคัมภีร์พุทธศาสนาในซีอาน จากนั้นยังมีการเผยแผ่พุทธศาสนาสู่เกาหลี ญี่ปุ่น และเวียดนาม จึงกล่าวได้ว่าเมืองซีอานเคยสร้างคุณปการสำคัญเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนาสู่ทั่วโลก

ภาพเขียนโดย ศ.เย่ว์ อี้ว์ จัดแสดงในการประชุมพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) ครั้งที่ 27

ผลงานภาพเขียนของ ศ.เย่ว์ อี้ว์เรียกความสนใจได้อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพเขียนพระมหาเถระในประวัติศาสตร์ เช่น ภาพเขียนพระอาจารย์เสวียน จั้ง (Xuan Zang,玄奘, ค.ศ.602-664) หรือ พระถังซัมจั๋ง สังเกตว่า ผู้ชมจะเพ่งเป็นเวลานาน ขณะที่ ศ.เย่ว์ อี้ว์ก็ให้ความรู้ ให้คำอธิบายว่า ตอนพระอาจารย์เสวียน จั้งไปแสวงบุญที่อินเดียนั้น อายุเพียง 26 ปีเท่านั้น ขณะที่พระอาจารย์ฝา เสี่ยน (Fa Xian,法显,ค.ศ.337-422) ตอนไปแสวงบุญที่อินเดีย อายุ 64 ปีแล้ว ส่วนพระอาจารย์ซ่านอู๋เว่ย (Subhakara-simha,善无畏, ค.ศ.637-735) ชาวอินเดีย ตอนมาเมืองจีนอายุ 82 พรรษา และเมื่อกลับอินเดียอายุกว่า 90 ปี

ศ.เย่ว์ อี้ว์ระบุว่า พระมหาเถระ 3 องค์ดังกล่าวเดินตามเส้นทางสายไหมในช่วงวัยที่ต่างกัน ต่างเคยพบอุปสรรคมากกมาย แต่เพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา ต่างก้าวย่างต่อไปจนสำเร็จภารกิจที่ยิ่งใหญ่ด้วยจิตใจและศรัทธาที่มุ่งมั่น นั่นก็คือเจตนารมณ์ของวัฒนธรรมเส้นทางสายไหม

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระอาจารย์ฝา เสี่ยน ไม่เพียงแต่เดินทางถึงอินเดียเท่านั้น หากยังเดินทางถึงศรีลังกาด้วย เวลากลับประเทศก็โดยสารเรือ ก็คือตามส้นทางสายไหมทางทะเล สมัยนี้ การที่นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนเสนอให้พัฒนา "แถบเศรษฐกิจตามเส้นทางสายไหม" และ "เส้นทางสายไหมทางทะเลศตวรรษที่ 21" อาจจะได้จากช่วงประวัติของพระอาจารย์ฝา เสี่ยน

 

ภาพเขียนโดย ศ.เย่ว์ อี้ว์ จัดแสดง

ในการประชุมพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) ครั้งที่ 27

ด้วยเหตุนี้ จึงสรุปได้ว่า ไม่ว่ามองจากประวัติศาสตร์หรือปัจจุบัน เส้นทางสายไหมไม่เพียงแต่เป็นเส้นทางเศรษฐกิจเท่านั้น หากยังเป็นเส้นทางวัฒนธรรมด้วย

ศ.เย่ว์ อี้ว์ระบุว่า ทุกวันนี้การสานฝันจีนให้เป็นจริงขึ้น ก็สามารถซึมซับพลังจากพระอาจารย์ที่เคยเดินทางบนเส้นทางสายไหมดังกล่าว

ความคิดเห็นจากผู้เข้าชม

(IN/LING)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040