วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ปี 1939การจัดตั้งคณะกรรมาธิการการทหารและการเมืองเขตจี้จง
  2015-02-13 19:43:14  cri

วันนี้ในประวัติศาสตร์ช่วงสงครามต่อต้านการรุกรานจากญี่ปุ่น

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ปี 1939

การจัดตั้งคณะกรรมาธิการการทหารและการเมืองเขตจี้จง

วันนี้เป็นวันที่ 13 กุมภาพันธ์ วันนี้ในปี 1939 มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการการทหารและการเมืองเขตจี้จง (JiZhong) อย่างเป็นทางการขึ้น ตามมติของคณะกรรมการการทหารกลางและคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำภาคเหนือ

ที่ราบจี้จงตั้งอยู่ระหว่างทางรถไฟผิงฮั่น จินผู่เป่ยหนิงและทางหลวงชางสือ ครอบคลุมอำเภอกว่า 40 อำเภอ มีพื้นที่ประมาณ 90,000 ตารางกิโลเมตร มีประชากรกว่า 8,000,000 คน ทำเลที่ตั้งทางยุทธศาสตร์มีความสำคัญมาก ในพื้นที่โดยรอบที่ราบจี้จงมีกองพลทหารญี่ปุ่น 2 กองพล และทหารหุ่น(puppet army)อีกกว่า 10,000 นายประจำการอยู่ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 1938 ถึง 24 มกราคมปี 1939 ทหารญี่ปุ่นปฏิบัติการ "กวาดล้าง" ฐานที่มั่นจี้จงครั้งใหญ่ 2 ครั้ง ทั้งได้ยึดครองพื้นที่ส่วนหนึ่งไปด้วย ทำให้ฐานที่มั่นจี้จงตกอยู่ในสถานการณ์ตึงเครียด

วันที่ 21 เดือนเมษายนปี 1938 มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนเขตจี้จง โดยนายหวง จิ้งเป็นเลขาธิการ ต่อมาในวันที่ 4 พฤษภาคมปี 1938 มีการจัดตั้งกองพลที่ 3 และเขตทหารจี้จงแห่งกองทัพสายที่ 8 โดยนายหลี่ว์เจิ้งเชาเป็นผู้บัญชาการใหญ่ และนายหวัง ผิงเป็นกรรมการการเมือง เดือนมกราคมปี 1939 นายเฮ่อ หลงนำกองพล 120 แห่งกองทัพสายที่ 8 เดินทางจากจิ้นซีเป่ยไปถึงจี้จง วันที่ 13 กุมภาพันธ์ มีการจัดประชุมร่วมฝ่ายพรรค ฝ่ายการเมือง และฝ่ายทหารเขตจี้จงที่ตงวานหลี่ อำเภอซู่หนิงตามมติของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำภาคเหนือ ที่ประชุมมีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการการทหารและการเมืองเขตจี้จง ซึ่งประกอบด้วยนายเฮ่อ หลง นายกวน เซี่ยงอิ้ง นายโจวซื่อตี้ นายกาน ซื่อฉีนายหลี่ว์เจิ้งเชา นายเฉิงจื่อหวา นายซุน จื้อหย่วน นายหวัง ผิง และนายหวง จิ้ง โดยนายเฮ่อ หลงเป็นเลขาธิการ และเป็นผู้อำนวยการกิจการงานทั้งพรรค การเมือง การทหาร และพลเรือนในเขตจี้จงอย่างเป็นเอกภาพ

หลังจากนั้น ภายใต้การนำของคณะกรรมาธิการการทหารและการเมืองเขตจี้จง ทหารจีนได้ทำสงครามจรยุทธ์บนที่ราบอย่างกล้าหาญองอาจกับทหารญี่ปุ่นผู้รุกราน ชนะ "การกวาดล้าง" ครั้งที่ 3 ครั้งที่ 4 และครั้งที่ 5 ของทหารญี่ปุ่น ทั้งได้ก่อยุทธการหลายครั้ง เช่น การสู้รบเฉาเจียจวง การสู้รบจางจวง และการสู้รบเฉินจวง ซึ่งได้หักล้างเพลิงฮึกเหิมของข้าศึก

ภาพถ่ายภาพนี้ถ่ายระหว่างการสู้รบฉีหุ้ย นายเฮ่อ หลงเป็นผู้บัญชาการแนวหน้า กระสุนแก๊สพิษที่ข้าศึกยิ่งใส่มาหลายนัดระเบิดในพื้นที่โดยรอบของนายเฮ่อ หลง แก๊สพิษที่ฟุ้งกระจายทำให้นายเฮ่อ หลงกับเสนาธิการทั้งสองข้างเวียนศีรษะและตาลาย หายใจเข้าออกลำบาก แต่นายเฮ่อ หลงยังคงติดตามสังเกตและบัญชาการสู้รบต่อไป ในที่สุด ได้สังหารข้าศึกกว่า 700 นาย ยึดปืนยาวปืนสั้นกว่า 200 กระบอก รถกระบะจำนวน 56 คัน การสู้รบดังกล่าวถือเป็นแบบอย่างการสู้รบบนที่ราบตั้งแต่สงครามต่อต้านการรุกรานจากญี่ปุ่นเป็นต้นมา

หลังจากได้รับชัยชนะหลายครั้ง ชาวบ้านในฐานที่มั่นจี้จงมีความเชื่อมั่นในการต่อต้านญี่ปุ่นมากขึ้น ชาวบ้านพากันสมัครเป็นทหาร ทำให้กองทหารต่อต้านญี่ปุ่นมีกำลังพลมากขึ้น พร้อมกันนี้ คณะกรรมาธิการการทหารและการเมืองเขตจี้จงยังเสริมสร้างกองทัพ ช่วยให้กองจรยุทธ์กลายเป็นกองทัพสายที่ 8 และได้มาตรฐานมากขึ้น กองกำลังทหารของเขตทหารจี้จงมีแสนยานุภาพเข้มแข็งขึ้น

ในฐานที่มั่น คณะกรรมาธิการการทหารและการเมืองเขตจี้จงใกล้ชิดกับประชาชน ใช้นโยบายลดค่าเช่าและอัตราดอกเบี้ย ทำให้ประชาชนในฐานที่มั่นมีชีวิตความเป็นอยู่ที่มั่นคง ทั้งระดมกำลังจัดตั้งกลุ่มชาวบ้าน เช่น กลุ่มสตรีถมคูน้ำ ให้สตรีและเด็กร่วมเฝ้ารักษาการณ์ ทำลายเส้นทางการคมนาคมของข้าศึกในแนวหลัง และระดมกำลังชาวบ้านร่วมกันต่อต้านทหารญี่ปุ่นผู้รุกราน

ภายใต้การนำของคณะกรรมาธิการการทหารและการเมืองเขตจี้จง ทหารและชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจกัน ทำลายแผน "กวาดล้างที่ราบอย่างรวดเร็ว" ของข้าศึก ทำลายพลังชีวิตของข้าศึกจำนวนมาก เป็นอีกกำลังหนึ่งในการสกัดกั้นการรุกรานครั้งใหญ่ของทหารญี่ปุ่น

(YIM/LING)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040