เบื้องต้น "1 แถบ 1 เส้นทาง" เมื่อเดือนกันยายนและตุลาคมปี 2013 นายสี จิ้นผิงประธานาธิบดีจีนเดินทางเยือนประเทศเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างการพบปะกับผู้นำประเทศต่างๆ นายสี
จิ้นผิงมีข้อริเริ่มให้สร้างเส้นทางสายไหมทางบกและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 หรือคำย่อ "1 แถบ 1 เส้นทาง" การนี้ได้รับความสนใจอย่างมากจากประชาคมโลก
ต่อมา เมื่อปี 2013 นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีนกล่าวขณะร่วมงานแสดงสินค้าจีน – อาเซียนว่า การปูเส้นทางสายไหมทางทะเลสู่ภูมิภาคอาเซียน เร่งกระบวนการสร้างสรรค์ "1 แถบ 1 เส้นทาง" มีบทบาทส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศรายทาง กระชับความร่วมมือของภูมิภาค ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างอารยธรรมที่ต่างกัน ตลอดจนส่งเสริมสันติภาพและการพัฒนาของโลก เป็นกิจการที่ยิ่งใหญ่ที่สร้างความผาสุกให้กับประชาชนประเทศต่างๆ
เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการการพัฒนาและการปฏิรูปแห่งชาติ กระทรวงพาณิชย์จีนร่วมกันประกาศเอกสาร "ความปรารถนาและปฏิบัติการผลักดันการสร้างสรรค์แถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21" จากเอกสารฉบับนี้ เราสามารถเห็นชัดว่า "1 แถบ 1 เส้นทาง" จะนำผลประโยชน์ที่แท้จริงให้กับประเทศและประชาชนของจีนและประเทศรายทาง
พิจารณามุมมองภายในประเทศ การผลักดันโครงการ "1 แถบ 1 เส้นทาง" จะสร้างโอกาสการพัฒนาใหม่ เปิดตลาดโลกให้กว้างยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้นักธุรกิจจีนไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น เพิ่มกำลังใหม่สำหรับการเติบโตของเศรษฐกิจจีน
นายจ้าว จิ้นผิง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการพัฒนาเศรษฐกิจต่างประเทศแห่งคณะรัฐมนตรีจีนกล่าวว่า การก่อสร้างสิ่งอำนายความสะดวกขั้นพื้นฐาน สร้างเครือข่ายการคมนาคมของภูมิภาคให้สมบูรณ์นั้น เป็นเนื้อหาสำคัญของ "1 แถบ 1 เส้นทาง" หมายถึงจีนจะมีการลงทุนต่างประเทศเพื่อพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน การนี้มีส่วนช่วยให้จีนปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิตภายในประเทศ ส่งเสริมการเติบด้านการส่งออก ซึ่งนับเป็นพลังงานที่สำคัญสำหรับการเติบโตของเศรษฐกิจจีน
นอกจากนั้น การสร้างสรรค์ "1 แถบ 1 เส้นทาง" จะผสมผสานกับนโยบายการปฏิรูปและเปิดสู่ภายนอกของจีน โดยจะถือเขตริมทะเลทางภาคตะวันออกที่ค่อนข้างเจริญเป็นหัวขบวน ถือเขตแดนชั้นในเป็นพื้นฐาน เชื่อมเขตภาคตะวันออกับภาคตะวันตกให้มีความร่วมมือมากยิ่งขึ้น สร้างสถานการณ์ใหม่ด้านการเปิดสู่ภายนอกอย่างรอบด้านของจีน
มุมมองของสากล "1 แถบ 1 เส้นทาง" จะทำให้ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์
เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา รัสเซียประกาศร่วมธนาคารพื่อการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (AIIB) ก่อนหน้านี้ 1 วัน บราซิลก็ประกาศร่วม AIIB จนถึงวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมา ประเทศสมัครเป็นสมาชิกก่อตั้ง AIIB มีถึง 46 ประเทศ
การหมุนเวียนและการสมทบเงินทุนเป็นส่วนประกอบสำคัญของโครงการ"1 แถบ 1 เส้นทาง" เพราะว่าต้องการเงินลงทุนจำนวนมหาศาลเพื่อพัฒนาระบบคมนาคมให้เชื่อมต่อประเทศรายทางต่างๆ ส่งเสริมการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนาระหว่างประเทศ บุกเบิกศักยภาพของตลาดภายในภูมิภาค ส่งเสริมการลงทุน การบริโภค ตลอดจนเพิ่มโอกาสการมีงานทำด้วย
พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยกล่าวว่า ไทยชื่นชมจีนที่แสดงบทบาทสำคัญในการผลักดันการสร้างสรรค์ระบบคมนาคมที่เชื่อมต่อภูมิภาค ซึ่งโครงการ"1 แถบ 1 เส้นทาง" สามารถช่วยประเทศไทยปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ส่งเสริมไทยในฐานะที่เป็นชุมทางการค้าในเอเชีย ที่เชื่อมต่อยุโรปและแอฟริกา
(In/Lin)