พิพิธภัณฑ์รำลึกสงครามต่อต้านญี่ปุ่นของประชาชนจีน-2
  2015-09-08 15:35:12  cri

ภาคที่สองของการจัดแสดง คือ พรรคก๊กมิ่งตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนร่วมมือต่อต้านกับการยึดครองของญี่ปุ่น หลังวันที่ 18 กันยายนปี 1931 เป็นต้นมา ญี่ปุ่นได้เปิดฉากสงครามยึดครองจีนทุกด้าน ทหารและประชาชนในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศจีนได้ต่อต้าน หลังจากญี่ปุ่นบุกตงเป่ยเป็นต้นมา พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เป็นแกนนำรวมพลังประชาชนต่อต้านญี่ปุ่น ตั้งกองทัพพันธมิตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อต้านญี่ปุ่น ปี1935 นักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ ที่อยู่ในกรุงปักกิ่งได้รวมพลังกันเดินขบวนให้โค่นล้มลัทธิจักรวรรดินิยมญี่ปุ่น และคัดค้านพวกขุนศึกในภาคเหนือที่ตั้งตนขึ้นมาเป็นผู้ปกครอง ในช่วงนั้น พรรคก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์จีนสู้รบกัน ปลายปี 1936 ประธานาธิบดีเจียงไคเช็กของจีนสมัยนั้นที่ไปบัญชาการปราบปรามพวกคอมมิวนิสต์ที่เมืองซีอาน วันที่ 12 ธันวาคมปี 1936 นายพลจังเสวียเหลียงและนายพลหยังหู่เฉิง ขุนศึกภาคเหนือจับเจียงไคเช็กไปขังไว้ ในที่สุดพรรคคอมมิวนิสต์และพรรคก๊กมินตั๋งสามารถเจรจากัน เหตุการณ์เมืองซีอานจึงยุติลงอย่างสันติ และเป็นสัญลักษณ์แสดงให้เห็นว่า พรรคคอมมิวนิสต์กับพรรคก๊กมินตั๋งของจีนได้ดำเนินความร่วมมือกันหนที่สอง และก่อตั้งแนวร่วมประชาชาติเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น เจียงไคเช็กก็ได้ประกาศเริ่มสงครามต่อต้านญี่ปุ่น และยังปรับกองทัพเป็นกองทัพต้านญี่ปุ่น แบ่งเป็นสองกองทัพใหญ่ คือกองทัพลู่ที่ 8 ดูแลการรบที่มณฑลส่านซี กานซู่ และหนิงเซี่ย มีนายพลจูเต๋อเป็นผู้บัญชาการ นายพลเผิงเต๋อไหวเป็นรองผู้บัญชาการ และปรับกลยุทธ์แถวลุ่มแม่น้ำฉังเจียง ให้กองทัพลู่ที่ 4 คุม การโจมตีกองทัพญี่ปุ่นของกองพลที่ 115 แห่งกองทัพลู่ที่ 8 ได้รับชัยชนะงดงาม ทหารญี่ปุ่นตายหมื่นกว่านาย เป็นการลบความเชื่อที่ว่าญี่ปุ่นไม่มีวันแพ้ ยังมีภาพของประธานเหมาเจ๋อตงกำลังเขียนบทความแสดงทัศนะเรื่อง สงครามจีน-ญี่ปุ่นไว้ว่า ทัศนะที่ว่า จีนจะสิ้นชาติ และแนวความคิดที่จีนจะชนะสงครามในเวลาอันสั้นนั้นล้วนเป็นแนวความคิดที่ผิดทั้งคู่ สงครามนี้ยืดเยื้อกว่าจะสิ้นสุด

ส่วนเหตุการณ์สะพานหลูโกวเฉียวนั้นมีสาเหตุจากวันที่ 7 กรกฎาคมปี 1937 กองทัพญี่ปุ่นซ้อมรบอยู่รอบๆ สะพานหลูโกวเฉียว แล้วอ้างว่ามีพลทหารนายหนึ่งหายไป ขอเข้าค้นหาในแขวงหว่านผิง ซึ่งอยู่ใกล้ปักกิ่ง แต่กองทัพจีนไม่ยอม ญี่ปุ่นจึงบุกหว่านผิง เป็นจุดเริ่มต้นสงครามจีน-ญี่ปุ่นและการต่อต้านญี่ปุ่นของชาวบ้านจีนทั่วประเทศ รวมทั้งชาวจีนโพ้นทะเล เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามจีน-ญี่ปุ่นได้เป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้วย

ในห้องแสดงอีกหลายห้องยังการแสดงมีภาพการให้การสนับสนุนจากชาวจีนโพ้นทะเลและประชาชนจากทั่วโลกด้วย รวมทั้งสภาพการพัฒนาของสงครามโลกครั้งที่สองด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อปี 1941 หลังสงครามแปซิฟิกเริ่มเป็นต้นมา สงครามต่อต้านญี่ปุ่นในจีนได้ให้การสนับสนุนอย่างมากด้านการต่อต้านฟาสซิสต์ของโลก ขณะนั้น ทหารญี่ปุ่นที่ประจำการในญี่ปุ่นมีแค่ 350,000 นาย แต่อยู่ในจีนถึง 1,400,000 นาย แสดงว่าจีนรบกับกำลังหลักของทหารญี่ปุ่น ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า จีนมีบทบาทสำคัญในการสู้รบที่ภูมิภาคนี้

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ นอกจากได้แสดงภาพ และเอกสารที่ลำค่าในประวัติศาสตร์เป็นหลักแล้ว ยังใช้ภาพวาด รูปปั้น ภาพยนตร์ หน้าจอร์สัมผัส และเทคโนโลยีต่างๆ มาแสดงประวัติศาสตร์ของการต่อต้านของประชาชนจีนที่มีต่อญีปุ่นผู้รุกราน

พิพิธภัณฑ์ไม่เพียงแต่ได้สะสมภาพถ่ายและเอกสารของสมัยนั้นมากมายเท่านั้น ยังใช้ความพยายามสะสมเสียงสัมภาษณ์และเสียงบอกเล่าเหตุการณ์ของทหารที่เคยเข้าร่วมสงครามครั้งนี้ทั้งจากพรรคก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์จีน และจากผู้ที่ผ่านประวัติศาสตร์สงครามต่อต้านญี่ปุ่น กระทั่งถึงปัจจุบัน งานนี้ยังดำเนินอยู่ ที่สำคัญก็เพื่อบันทึกเสียงที่แท้จริงจากผู้ที่เคยผ่านประวัติศาสตร์ช่วงนั้นให้มากที่สุด ถือว่าเป็นข้อมูลปฐมภูมิ เพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลประกอบการศึกษาวิจัย และให้อนุชนรุ่นหลังสามารถได้รู้ได้อย่างชัดเจนและมากขึ้น แม้ข้อมูลการบอกเล่าประวัติศาสตร์สงครามต่อต้านญี่ปุ่นดังกล่าวดูแล้วเหมือนไม่อะไร แต่เป็นการบันทึกประวัติศาสตร์ เพื่อแสวงหาผู้สูงอายุที่มีประสบการณ์ร่วมในเหตุการณ์ดังกล่าวและบันทึกประวัติศาสตร์ช่วงนั้น ผู้สัมภาษณ์บางนายได้ท่องมณฑลต่างๆทั่วประเทศกว่า 20 มณฑลและใช้เวลาหลายปีเพื่อเก็บรวบรวมเสียงบอกเล่าประวัติศาสตร์สำคัญนี้

พิพิธภัณฑ์เปิด ตั้งแต่เวลา 9.00น-16.30 น จะปิดวันจันทร์

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040