วัดขงจื่อและพิพิธภัณฑ์กั๋วจื่อเจี้ยนในกรุงปักกิ่ง (1)
  2016-01-11 09:32:20  cri

เมื่อกล่าวถึงวัดขงจื๊อ สำหรับคนจีนแล้ว กล่าวได้ว่า คนจีนทุกคนต่างได้รับอิทธิพลจากสำนักปรัชญาขงจื่อไม่มากก็น้อย ทั่วประเทศจีนมีวัดขงจื่อหลายแห่ง แต่วัดใหญ่ที่สุดอยู่ที่เมืองชยูฝู่(曲阜)มณฑลซันตง ส่วนวัดขงจื่อกับพิพิธภัณฑ์กั๋วจื่อเจี้ยนนในกรุงปักกิ่งเป็นองค์การบริหารการศึกษาสูงสุดและสถาบันการศึกษาสูงสุดในสมัยราชวงค์หยวน หมิงและชิง ส่วนวัดขงจือเป็นสถานที่ที่พระจักรพรรดิทรงสักการะขงจื่อ

ขงจื่อเป็นปราชญ์และนักการศึกษาผู้ยิ่งใหญ่ของจีน เขามีชีวิตอยู่ช่วงก่อนค.ศ. 551-479 นามเดิม ชิว เป็นคนรัฐหลู่ ส่วนคำว่า "จื่อ" เป็นคำยกย่องผู้ที่ถูกเรียกว่าเป็น"อาจารย์" เป็นนักคิดและนักการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ในปลายสมัยชุนชิวและเป็นผู้ก่อตั้งสำนักปรัชญา"หยูเจีย" (儒家) หรือสำนักปรัชญาขงจื่อนั่นเอง ได้รับการยกย่องว่า เป็นปรมาจารย์แห่งจริยธรรมผู้ยิ่งใหญ่

ขงจื่อสูญเสียบิดาตั้งแต่อายุ 3 ขวบ มารดาเป็นหญิงผู้ซื่อสัตย์สุจริต เลี้ยงดูขงจื่อมาด้วยความเข้มงวดกวดขัน เพื่อให้ลูกเป็นผู้มีความรู้มีคุณธรรม

ทำให้ขงจื่อมีความรักและสนใจในการศึกษาหาความรู้ตลอดจนศึกษาพิธีกรรม การเซ่นสรวงต่างๆที่สืบทอดกันมาแต่โบราณกาล

ขงจื่อ"ตั้งตนเป็นอาจารย์เมื่ออายุ 30 และเริ่มถ่ายทอดความรู้แก่ลูกศิษย์อย่างไม่ท้อถอย การถ่ายทอดความรู้ของขงจื่อได้ปรับเปลี่ยนโฉมการศึกษาในสมัยนั้นโดยทำลายธรรมเนียมการเรียนการสอนที่จำกัดอยู่เฉพาะแต่ในราชสำนัก ทำให้ประชาชนโดยทั่วไปตื่นตัวทางการศึกษา และวัฒนธรรมมากขึ้น ขงจื่อมีวิธีของตนในการรับศิษย์ ไม่ว่าจะเป็นคนในชนชั้นใด แค่มอบสิ่งของเล็กน้อยเป็นค่าเล่าเรียนแม้"เนื้อตากแห้ง"เพียง ชิ้นเดียวก็รับไว้เป็นลูกศิษย์ เล่ากันว่า ท่านมีลูกศิษย์มากถึง 3,000 คน ที่ยกย่องกันว่า มีความรู้ปราดเปรื่องและมีคุณธรรมสูงส่งมี 70 คน จากสานุศิษย์ 70 คนดังกล่าว คนรุ่นหลังจึงได้ทราบถึงแนวคิดต่างๆของขงจื่อ เนื่องจากลูกศิษย์ขงจื่อได้บันทึกคำสอนของอาจารย์ตนไว้ในรูปของ คำสนทนาระหว่างอาจารย์กับศิษย์โดยขึ้นต้นว่า"อาจารย์กล่าวว่า..." ภายหลังลูกศิษย์ได้นำคำสอนของขงจื่อมาประมวลแล้วเรียบเรียงขึ้น เป็นหนังสือชื่อว่า"หลุนอวี่"(论语) บั้นปลายชีวิต ขงจื่อก็ได้รวบรวมบันทึกพงศาวดารและปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆมีชื่อว่า"ชุนชิว"(春秋)ขงจื่อยังเป็นบรรณาธิการหนังสือวรรณคดีจีนสำคัญๆ 5 เล่ม ได้แก่ ซือ(诗) (ตำราว่าด้วยลำนำกวี)、ซู书(ตำราประวัติศาสตร์)、หลี่อิ้ว(礼乐)(ตำราว่าด้วยจารีตประเพณี)、อี้(易) (ตำราว่าด้วยการดนตรี-แต่สาบสูญไปในภาย หลัง) ซุนชิว(春秋)หนังสือทั้ง 5 เล่มนี้เรียก รวมกันในภาษาจีนว่า"อู่จิง"(五经)(คัมภีร์ทั้งห้า)

ขงจื่อเน้นหนักในการบ่มเพาะเรื่องเมตตาธรรม ความชอบธรรม และจารีตประเพณี คำสอนของท่านเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและงดงามอย่างยิ่ง แนวความคิดของขงจื่อได้กลายเป็นหลักการสำคัญในวัฒนธรรมจีน และมีอิทธิพลสำคัญต่อความคิดของชนชาติจีน

ด้วยเหตุนี้ ขงจื่อจึงได้ชื่อว่าเป็นนักศึกษาผู้ยิ่งใหญ่ และราชวงค์ต่างๆในจีนล้วนให้เกียรติอย่างสูง วัดขงจื่อในกรุงปักกิ่งเริ่มสร้างเมื่อปี 1302 และสร้างเสร็จในปี 1306 กินพื้นที่กว่า 22,000 ตารางเมตร ในช่วงนับพันปีมานี้ สิ่งก่อสร้างแห่งนี้ได้รับการซ่อมแซมหลายครั้ง และเป็นสิ่งก่อสร้างสำคัญในการจัดพิธีสักการะขงจื่อในสมัยราชวงค์หยวน หมิงและชิง เป็นสิ่งก่อสร้างของสมัยราชวงค์หยวน

สิ่งก่อสร้างสำคัญๆ ในวัดขงจื่อล้วนใช้วิธีการก่อสร้างระดับสูงที่สุดในสมัยนั้น เช่น กระเบื้องเคลือบปูด้วยเคลื่องเครือบสีเหลือ ซึ่งเมื่อสมัยนั้นใช้เฉพาะพระจักรพรรดิเท่านั้น วัดขงจื่อในกรุงปักกิ่งมีสิ่งที่แตกต่างกับวัดขงจื่อในท้องที่ต่างๆทั่วประเทศจีนคือ ในวัดนี้มีหินแกะสลักรวม 198 ก้อน ซึ่งแกะสลักชื่อ ที่เกิด และอันดับที่สอบได้เป็นต้น เป็นรายชื่อมองผู้ผ่านการสอบจากทั่วประเทศที่สอบผ่านระดับประเทศและได้ตำแหน่งจิ้นซื่อในช่วงกว่าปี 600 ของราชวงค์หยวน หมิงและชิง รวม 51,624 คน

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040