เบื้องหลังสถานการณ์ทะเลจีนใต้ที่ทวีความตึงเครียดขึ้น (6a)
  2016-10-28 09:58:00  cri

ตั้งแต่ปี 2014 สหรัฐฯมีท่าทีชัดเจนขึ้นในปัญหาทะเลจีนใต้ โดยมีแนวโน้มที่จะเข้ามาแทรกแซงข้อพิพาทโดยตรง และสนับสนุนประเทศที่มีข้อพิพาทกับจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศพันธมิตรของเขา

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2014 นายแดเนียล รัสเซลล์( Daniel Russel) ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกกล่าววิพากษ์วิจารณ์จีนในที่ประชุมรัฐสภาสหรัฐว่า เส้นประ 9 เส้นที่จีนกำหนดขึ้นไม่สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ กระทบถึงสันติภาพ ความมั่นคงของภูมิภาค และยังเรียกร้องจีนชี้แจงเรื่องนี้ให้ชัดเจน คำพูดดังกล่าวของนายแดเนียล รัสเซลล์นับเป็นครั้งแรกที่ทางการสหรัฐฯเอ่ยชื่อจีนท้าทายจีนในปัญหาทะเลจีนใต้ ทั้งๆ ที่สหรัฐฯรู้ดีว่า จนถึงขณะนี้ ข้อพิพาททางดินแดนในหมู่เกาะหนานซายังไม่มีข้อยุติ ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ หากนิยามเส้นประ 9 เส้นให้ชัดเจน หรือเรียกร้องสิทธิประโยชน์ทางทะเลใดๆ จะไม่ต่างอะไรกับการสร้างความตึงเครียดมากขึ้น เดือนเดียวกัน พลเรือเอก โจนาธาน กรีนเนิร์ท(Jonathan Greenert) หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการสงครามกองทัพเรือสหรัฐประกาศที่ฟิลิปปินส์ว่า หากเกิดการปะทะระหว่างฟิลิปปินส์-จีนในทะเลจีนใต้ สหรัฐฯจะสนับสนุนฟิลิปปินส์ นี่เป็นท่าทีที่แข็งกร้าวที่สุดของสหรัฐฯต่อข้อพิพาทระหว่างจีน-ฟิลิปปินส์ เดือนสิงหาคมปีเดียวกัน นายจอห์น แครี่ (John Kerry)รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เสนอข้อเสนอ 3 ข้อ ระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศในการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่จัดขึ้นที่กรุง เนปีดอ ประเทศพม่าว่า ให้หยุดปฏิบัติการถมทะเลสร้างเกาะเทียม หยุดทำการก่อสร้างใดๆ และหยุดใช้ปฏิบัติการอื่นที่อาจทำให้สถานการณ์ทวีความตึงเครียดขึ้น

พร้อมกันนี้ สหรัฐฯเริ่มใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า บังคับให้จีนต้องเพิ่มทุนในปฏิบัติการ กล่าวคือ สหรัฐฯจะจัดการกับปัญหาทะเลจีนใต้ด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งทางการเมือง การทูต สื่อมวลชน และการทหาร เพื่อทำให้จีนต้องเพิ่มทุนในการใช้ปฏิบัติการในทะเลจีนใต้ และบีบบังคับให้จีนต้องถอย ยับยั้งไม่ให้จีนขยายอิทธิพลในทะเลจีนใต้ เมื่อปี ค.ศ.2015 สหรัฐฯประกาศเอกสารเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ความมั่นคง 4 ฉบับในหัวข้อ "ยุทธศาสตร์ความร่วมมือเพื่ออำนาจทางทะเลในศตวรรษที่ 21 " "ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งรัฐ" "ยุทธศาสตร์การทหารแห่งรัฐ" และ"ยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางทะเลในเอเชีย-แปซิฟิก" ยุทธศาสตร์ดังกล่าวล้วนกล่าวถึงปัญหาทะเลจีนใต้ค่อนข้างมาก อีกทั้งยังระบุว่า ต้องให้จีนจ่ายค่าทดแทน

การที่สหรัฐฯปรับเปลี่ยนนโยบายต่อปัญหาทะเลจีนใต้อย่างมากนั้นไม่เพียงได้บั่นทอนฐานะที่คล้ายกับเป็นผู้รักษาความเป็นธรรมของสหรัฐฯเท่านั้น หากยังทำให้จีนมีความกังวลมากขึ้นว่า สิทธิประโยชน์ของตนเองจะถูกทำลายมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้จีนต้องตัดสินใจใช้มาตรการปกป้องสิทธิประโยชน์ของตนเอง

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
外交
v เบื้องหลังสถานการณ์ทะเลจีนใต้ที่ทวีความตึงเครียดขึ้น (6b) 2016-10-28 10:00:26
v เบื้องหลังสถานการณ์ทะเลหนานไห่ที่ทวีความตึงเครียดขึ้น (5)b 2016-09-28 09:46:11
v เบื้องหลังสถานการณ์ทะเลหนานไห่ที่ทวีความตึงเครียดขึ้น (5) a 2016-09-28 09:44:05
v สถานการณ์ทะเลหนานไห่ในช่วง 10 ปีหลังทำปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ (4b) 2016-09-05 16:12:55
v สถานการณ์ทะเลหนานไห่ในช่วง 10 ปีหลังทำปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ (4a) 2016-09-05 16:08:59
社会
v เบื้องหลังสถานการณ์ทะเลจีนใต้ที่ทวีความตึงเครียดขึ้น (6b) 2016-10-28 10:00:26
v เบื้องหลังสถานการณ์ทะเลหนานไห่ที่ทวีความตึงเครียดขึ้น (5)b 2016-09-28 09:46:11
v เบื้องหลังสถานการณ์ทะเลหนานไห่ที่ทวีความตึงเครียดขึ้น (5) a 2016-09-28 09:44:05
v ความเป็นมาของข้อพิพาททะเลจีนใต้ (2) 2016-06-10 10:40:46
v ความเป็นมาของข้อพิพาททะเลจีนใต้ (1) 2016-06-10 10:39:12
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040