เบื้องหลังสถานการณ์ทะเลจีนใต้ที่ทวีความตึงเครียดขึ้น (6b)
  2016-10-28 10:00:26  cri

สิ่งที่พร้อมไปกับการปรับเปลี่ยนนโยบายของสหรัฐฯคือ สหรัฐนับวันใช้ปฏิบัติการที่มีลักษณะท้าทาย ข่มขู่จีนมากขึ้น เช่น สหรัฐเพิ่มปฏิบัติการสอดแนมทั้งทางทะเลและอากาศบริเวณหมู่เกาะหนานซา และน่านน้ำบริวาร จำนวนครั้งในการบินสอดแนมระยะประชิด (close-in reconnaissance) โดยอากาศยานของกองทัพสหรัฐต่อหมู่เกาะในทะเลจีนใต้เพิ่มขึ้นจาก 260 กว่าครั้งในปีค.ศ. 2009 มาเป็น 1,200 กว่าครั้ง ในปีค.ศ.2014 นอกจากบินสอดแนมในระยะประชิด สหรัฐฯยังอวดแสนยานุภาพกับจีน ด้วยการส่งเรือเข้ามาในน่านน้ำในรัศมี 12 ไมล์ทะเลของหมู่เกาะหนานซา กระทั่งหมู่เกาะซีซาที่ไม่มีข้อพิพาทใดๆ โดยอ้างเสรีภาพการเดินเรือ วันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ.2015 เรือพิฆาตแลสเซน (USS Lassen) ของสหรัฐ แล่นเข้าใกล้แนวหินโสโครกจู่บี้ (Subi Reef)ในหมู่เกาะหนานซาในรัศมี 12 ไมล์ทะเล วันที่ 30 มกราคม ค.ศ.2016 เรือพิฆาตเคอร์ทิส วิวเบอร์ (USS Curtis Wilbur) แล่นเข้าทะเลอาณาเขตของจีนใกล้เกาะจงเย่ในหมู่เกาะซีซา สิ่งที่ต่างจากการใช้ปฏิบัติการทำนองเดียวกันในช่วงที่ผ่านมาคือ สื่อสหรัฐฯเริ่มประโคมข่าวเกี่ยวกับปฏิบัติการของสหรัฐในทะเลจีนใต้ พลเรือเอก แฮร์รี่ ฮารีส(Harry Harris) ผู้บัญชาการกองทัพเรือภาคพื้นมหาสมุทรแปซิฟิกของสหรัฐฯยังประกาศว่า จะใช้ปฏิบัติการที่ใช้เทคโนโลยีก้าวหน้า สลับซับซ้อน และในขอบเขตที่กว้างขึ้นในอนาคต และจะส่งเรือรบไปทะเลจีนใต้ประมาณไตรมาสละ 2 ครั้ง

นอกจากนี้ สหรัฐฯยังใช้ปฏิบัติการอื่นอีก เพื่อข่มขู่ยับยั้งจีน เช่น เดือนกรกฏาคม ค.ศ.2015 พลเรือเอก สก๊อต สวิฟท์ ผบ. กองทัพเรือสหรัฐฯ ภูมิภาคแปซิฟิกนั่งเครื่องบินปราบเรือดำน้ำ P-8A Poseidon ร่วมปฏิบัติการสอดแนมระยะประชิดในทะเลจีนใต้ วันที่ 15 พฤศจิกายน นายแอชตัน คาร์เตอร์ (Ashton Carter) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ กล่าวแสดงท่าทีต่อปัญหาทะเลจีนใต้บนเรือบรรทุกเครื่องบิน รูสเวลต์ (USS Roosevelt)ที่จอดอยู่ในทะเลจีนใต้ในจุดที่มีความอ่อนไหวมาก เพราะจุดนั้นอยู่ห่างไปทางทิศใต้ของหมู่เกาะหนานซาเพียง 150-200 ไมล์ทะเล และห่างไปทางทิศเหนือของมาเลเซียประมาณ 70 ไมล์ทะเล วันที่ 8-9 พฤศจิกายนปีเดียวกัน

เครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ 2 ลำของสหรัฐฯบินข้ามน่านฟ้าใกล้เกาะของจีนที่กำลังทำการก่อสร้างในทะเลจีนใต้ วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 2016 นายแอชตัน คาร์เตอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ

นั่งเรือรบบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯ จอห์น ซี สเตนนิส (USS John C. Stennis)ร่วมปฏิบัติการลาดตระเวนในทะเลจีนใต้ เรือและเครื่องบินของสหรัฐฯยังบุกเข้าน่านน้ำและน่านฟ้าของจีนบ่อยครั้งโดยอ้างว่าพลาดเข้าไปโดยมิได้ตั้งใจ

สหรัฐมุ่งสร้างเครือข่ายพันธมิตร และการทหารกับประเทศรอบชายฝั่งทะเลจีนใต้ หลังดำเนินยุทธศาสตร์ "สร้างความสมดุลใหม่ในเอเชีย-แปซิฟิก"เป็นต้นมา สหรัฐฯได้เพิ่มการจัดวางกำลังทหารในประเทศรอบชายฝั่งทะเลจีนใต้ เช่น ท่าเรือดาร์วิน (Darwin)ของ ออสเตรเลีย

ฐานทัพเรือชางงี (Changi)ของสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ขณะเดียวกัน สหรัฐฯกระชับความร่วมมือกับมาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนามในการรวบรวมข่าวกรอง และการเพิ่มความสามารถในการรับรู้สถานการณ์ทางทะเล เพิ่มความช่วยเหลือด้านการทหารให้แก่ประเทศที่มีข้อพิพาทกับจีนในทะเลจีนใต้ เช่น ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม โดยช่วยเหลือประเทศเหล่านี้เพิ่มความสามารถในการสอดแนม การลาดตระเวนและควบคุมสถานการณ์ รวมทั้งการต่อต้านการเข้าถึง เดือนมีนาคม ค.ศ.2016 สหรัฐและฟิลิปปินส์ร่วมประกาศระหว่างประชุมว่าด้วยความมั่นคงทวิภาคีประจำปีครั้งที่ 6 ว่า สหรัฐฯได้รับอนุญาตให้ใช้ฐานทัพฟิลิปปินส์ 6แห่ง เดือนเมษายน ค.ศ. 2016 สหรัฐอเมริกาและฟิลิปปินส์ร่วมกันจัดการซ้อมรบรหัส เคียงบ่าเคียงไหล่(Shoulder-to-shoulder)ในทะเลจีนใต้อีกครั้ง โดยรายการซ้อมรบมีเป้าหมายเฉพาะเจาะจง เช่น ยึดเกาะกลับคืนมา ป้องกันแท่นขุดเจาะน้ำมัน ซึ่งเห็นได้ชัดว่า รายการซ้อมรบดังกล่าวพุ่งเป้าไปยังข้อพิพาททะเลจีนใต้

การที่สหรัฐจัดวางกำลังทหารในทะเลจีนใต้ และประเทศรอบชายฝั่งทะเลจีนใต้นั้นทำให้สถานการณ์ในภูมิภาคนี้ทวีความตึงเครียดขึ้น ทำให้ผลกระทบของข้อพิพาททะเลจีนใต้ในกระดานหมากรุกแห่งยุทธศาสตร์ทั่วโลกถูกสหรัฐฯจงใจขยายให้มากกว่าสภาพความเป็นจริง การประชันกำลังระหว่างจีน-สหรัฐฯดูเหมือนเป็นความขัดแย้งหลักเมื่อเทียบกับความขัดแย้งอื่นในภูมิภาคนี้ และเริ่มปรากฎในกลางของเวทีปัญหาทะเลจีนใต้ หากทบทวนสถานการณ์อันตึงเครียดที่เกิดขึ้นหลังสงครามเย็นสิ้นสุดลง จะพบได้ว่า แทบทุกเหตุการณ์ สหรัฐมีส่วนเกี่ยวพัน หรือมีบทบาทนำด้วยซ้ำ จนถึงทุกวันนี้ หลายเหตุการณ์ยังไม่ได้ข้อยุติ ทั้งนี้ทำให้ชาวจีนอดไม่ได้ที่จะถามว่า สหรัฐฯอยากทำอะไรในทะเลจีนใต้กันแน่

(IN/cai)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
外交
v เบื้องหลังสถานการณ์ทะเลจีนใต้ที่ทวีความตึงเครียดขึ้น (6a) 2016-10-28 09:58:00
v เบื้องหลังสถานการณ์ทะเลหนานไห่ที่ทวีความตึงเครียดขึ้น (5)b 2016-09-28 09:46:11
v เบื้องหลังสถานการณ์ทะเลหนานไห่ที่ทวีความตึงเครียดขึ้น (5) a 2016-09-28 09:44:05
v สถานการณ์ทะเลหนานไห่ในช่วง 10 ปีหลังทำปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ (4b) 2016-09-05 16:12:55
v สถานการณ์ทะเลหนานไห่ในช่วง 10 ปีหลังทำปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ (4a) 2016-09-05 16:08:59
社会
v เบื้องหลังสถานการณ์ทะเลจีนใต้ที่ทวีความตึงเครียดขึ้น (6a) 2016-10-28 09:58:00
v เบื้องหลังสถานการณ์ทะเลหนานไห่ที่ทวีความตึงเครียดขึ้น (5)b 2016-09-28 09:46:11
v เบื้องหลังสถานการณ์ทะเลหนานไห่ที่ทวีความตึงเครียดขึ้น (5) a 2016-09-28 09:44:05
v ความเป็นมาของข้อพิพาททะเลจีนใต้ (2) 2016-06-10 10:40:46
v ความเป็นมาของข้อพิพาททะเลจีนใต้ (1) 2016-06-10 10:39:12
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040