เยือนถิ่นศิลปะ 798 กับ รศ.กมล เผ่าสวัสดิ์ ศิลปินผู้บุกเบิกศิลปะร่วมสมัยของเมืองไทย
  2010-11-04 14:23:54  cri

คือถามว่าเป็นเวทีที่ดีไหม แน่นอนอยู่แล้วว่าปฏิเสธไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องของการจัดการและการเติบโตของศิลปะร่วมสมัยที่ค่อนข้างรวดเร็วเมื่อเทียบกับเวทีอื่น โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ศิลปินจีนได้ขึ้นไปอยู่ในระดับต้นๆ ของโลกที่คนกล่าวถึงอยู่เสมอ แล้วก็แกลเลอรี่เหมือนอย่างที่ผมพูดไปในช่วงต้น คือเมื่อมีการลงทุน ก็ต้องแข่งกันจัดงานในแต่ละโชว์ เพราะฉะนั้นจึงถือว่าเป็นเวทีที่ใหญ่เหมือนกัน

แต่ส่วนหนึ่งสำหรับคนทำงานศิลปะคือ การที่มีพื้นที่ให้คนมาดูงานได้เยอะขึ้น สำหรับตัวศิลปินเองก็น่าที่จะพึงพอใจ เพราะเราเองก็ชอบที่คนมาดูงานเราเยอะๆ และที่นี่ใช้เวลาวันถึงสองวัน แล้วคนจีนก็มีจำนวนมาก ถ้าเราได้มีโอกาสแสดงงาน งานของเราก็จะผ่านหูผ่านตาคนได้มากขึ้น เมื่อเทียบกับขนาดพื้นที่ของที่อื่น อย่างน้อยอาจจะมีใครก็ตามที่หลุดเข้ามาแล้วอยากจะเขียนถึงเรา หรืออย่างมีผู้สูงอายุมาดู เช่นในยุโรปหรืออเมริกาคนกลุ่มนี้ก็มาดูกันมาก เพราะเขามีระบบพิพิธภัณฑ์ แล้วคนของเขาก็ถูกให้ความรู้กันมาในเรื่องการใช้เวลาว่างในการดูงานศิลปะ จนหลายๆ ที่ได้กลายเป็นวัฒนธรรมไป ซึ่งเมื่อเกิดเป็นวัฒนธรรมแล้วคนก็จะวิ่งเข้าหาโดยที่ไม่รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่แปลกปลอมสำหรับชีวิตเขา แต่ของบ้านเราการดูงานศิลปะยังไม่ได้ถูกทำให้เป็นวัฒนธรรม จึงยังคงเกิดชิ่งว่างบางอย่างอยู่ แล้วก็นโยบายภาครัฐก็ยังไม่สนับสนุนเต็มที่ อาจจะมีเริ่มมาบ้างแล้ว แต่ก็คงต้องอาศัยระบบการศึกษา การจัดการในโรงเรียน ระบบการศึกษาของทางหอศิลป์เอง หรือพยายามหาพื้นที่ที่จะสอดแทรกเข้าไปให้คนได้สนใจและเข้าใจมากขึ้น อย่างหอศิลป์กรุงเทพมหานครของเรา เดี๋ยวนี้ก็เริ่มมีคนเดินเข้าออกบ้าง หลังจากที่ไม่เคยมี ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ก็คงค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ตาม ก็ต้องถูกตามมาด้วยนโยบายมาเป็นตัวกำหนด ลำพังคนที่ทำงานในวงการศิลปะหรือคนที่เกี่ยวข้องเอง ทำแล้วต้องไปวิ่งหาเงินตลอด ซึ่งเป็นการเหนื่อยเป็นสองเท่า หรืออาจจะมากกว่านั้น ทีนี้ถ้ามีการจัดการ มีนโยบายที่ดี ก็อาจจะทำให้คนรุ่นใหม่มุ่งเข้าสู่อาชีพที่เกี่ยวข้องมากขึ้น แล้วเราก็จะได้คนจำนวนมากขึ้นที่มีความคิดหรือความสนใจตั้งแต่เด็ก ซึ่งก็จะค่อยๆ เติบโตขึ้นไป

อย่าง 798 นั้น ปัจจุบันได้กลายเป็นโรงเรียนสำหรับการซึมซับศิลปะไปแล้ว และยังเป็นจุดท่องเที่ยวสำคัญ อย่างผมที่มาในฐานะชาวต่างชาติ เราก็เป็นนักท่องเที่ยว และถ้าถามต่อว่า สิ่งที่ทุ่มลงไปนั้นจะได้กลับมาไหม แน่นอนว่ากลับมาแน่นอน ถ้าถูกสร้างให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญจริงๆ คนพูดถึงแล้วก็มา อย่างที่เห็นๆ เด็กต่างชาติสิบกว่าขวบ เด็กเกาหลี เด็กฝรั่งโรงเรียนก็พามา พอเป็นอย่างนี้ก็มีความเป็นไปได้ว่า สมมุติว่าบ้านเรามี แล้วโรงเรียนจัดทริปมา ถ้าบ้านเรามีมันก็เกิดการซึมซับ แล้วในขณะเดียวกันก็จะเกิดเป็นเทรนด์ขึ้นมา พอเขาเห็นว่ามาที่นี่ก็ดีนะ เท่ดี ดีกว่าไปศูนย์การค้า มาตรงนี้ก็เท่ได้ รีแร็กซ์ได้ คือนอกจากเป็นพื้นที่ของงานศิลปะแล้วก็กลายเป็นพื้นที่ของการพักผ่อนหย่อนใจ สามารถใช้เวลาในวันหยุด ครอบครัวสามารถมากันได้ หนุ่มสาวพากันมาเดินเที่ยว คือถ้าไปหอศิลป์ที่เดียว บางคนก็ไม่อยาก บางคนก็จะเกร็ง แต่ถ้ามาพื้นที่แบบนี้ มันก็คล้ายกับการมาสยามสแควร์ อยากดูก็เข้าไป ไม่อยากดูก็ไม่เป็นไร เพราะคนเราเริ่มต้นไม่เท่ากัน และเมื่อเข้าไปแล้ว เขาก็จะชินกับการได้เห็น กับการที่ได้ฟังคนอื่นพูดถึงด้วย ก็เกิดการเรียนรู้แบบค่อยเป็นค่อยไป อีกหน่อยก็อยากจะไปดูเอง และเริ่มเข้าใจ อ๋อเป็นอย่างนี้นะ แล้วยังมีหนังสือให้อ่านประกอบอีก มีคอลัมน์ที่พูดถึง ไม่ใช่แค่เห็นงานศิลปะอย่างเดียว เพราะมีหนังสือที่เขียนถึงด้วยมาพร้อมๆ กัน มีเรื่องของการตลาดและประชาสัมพันธ์ด้วย เราก็จะเห็นในแม็กกาซีน หรืออย่างขึ้นเครื่องบินก็จะเห็นคอลัมน์ในนิตยสารประจำเครื่องเขียนถึงศิลปะจีนและศิลปะร่วมสมัย เพราะฉะนั้นมันก็มีโอกาสที่จะแทรกเข้าไปพื้นที่ของความเป็นสาธารณะเยอะขึ้น ก็จะทำให้เกิดความเคยชิน หรือเริ่มสงสัยว่านี่คืออะไร คือว่าเราจะให้ทุกคนมาสนใจงานศิลปะนั้นเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว เพราะส่วนหนึ่งเขาก็ต้องทำมาหากิน แต่อย่างน้อยก็จะมีคนกลุ่มหนึ่ง หรืออย่างน้อยที่สุดคนที่ผ่านระบบการศึกษาก็ต้องมีโอกาสรับรู้และได้เห็นมากขึ้น และก็จะมีเปอร์เซ็นต์ที่เห็นแล้วเกิดการพัฒนามากขึ้น มากกว่าที่จะไม่มีเลย และอย่างที่เราเห็นๆ กันว่าศิลปะจีนโตไวมาก ในขณะเดียวกันก็จะเห็นว่ามูลค่างานของศิลปินจีนก็สูงมากด้วย เพราะว่าคนกล้าลงทุนกับสิ่งเหล่านี้

คือนอกเหนือจากความเป็นแหล่งท่องเที่ยวแล้ว มันยังมีการลงทุน ซึ่งเมื่อผ่านระบบแกลเลอรี่แล้ว สิ่งที่รัฐได้กลับมาแน่ๆ คือ ภาษี เพราะมันผ่านระบบนี่ครับ ไม่ได้ไปซื้อขายกันเอง ซึ่งเมื่อผ่านระบบที่มีการซื้อขายที่ดี และมีการแข่งขันที่ดี คนที่เป็นนักสะสมก็จะไม่ถูกแหกตาว่าซื้องานชิ้นนี้มาแล้วไม่ดี เพราะเขามีข้อมูลจากการอ่าน มีคนที่คอยให้คำแนะนำ แล้วแกลเลอรี่ต่างๆ ก็จะให้ข้อมูลกับคนที่จะสะสมงานด้วย ซึ่งก็จะมีการคืนกำไรอย่างต่อเนื่องกัน แต่ผลสุดท้ายนั้นรัฐก็ได้แน่นอน

คอลเดีย-พีอาร์สาวของถังแกลเลอรี่กำลังบรรยายถึงการแสดงชุดล่าสุด

1 2 3 4
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040