สามล้อส่งของความเร็วสูง นั่งรอผ้าแห้ง
การตั้งชื่อหูถ้งนั้น มีการตั้งจากชื่อสถานที่ ชื่อต้นไม้ ทิศทาง ประโยคที่มีความหมายดีๆ สำนวนของปักกิ่ง ย่านการค้าและตลาด ชื่อวัด หรือชื่อบุคคลสำคัญ เป็นต้น
สมัยโบราณนั้นหูถ้งจำนวนมากเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนมี "ไผ่ฝั้ง" (Paifang) หรือประตูโขงขนาดใหญ่เป็นทางเข้าชุมชน บ้านแต่ละหลังก็สร้างตามความร่ำรวยของแต่ละคน ขอบกำแพงที่ห่างกันจึงเกิดเป็นหูถ้งคดเคี้ยวไปมา
หูถ้งจะการแบ่งแยกและกำหนดฐานะทางสังคมในปักกิ่งในยุคก่อนด้วย ยิ่งอยู่ใกล้พระราชวังต้องห้ามมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งแสดงถึงฐานะทางสังคมที่สูงขึ้นตามลำดับ
ไม่ว่ากาลเวลาจะผ่านไปนานเท่าไร ผู้คนก็ยังอาศัยอยู่ในบ้านเหล่านี้ต่อมาหลายชั่วอายุคน จนกระทั่งเมื่อจีนเปลี่ยนประเทศเป็นระบอบสาธารณรัฐช่วงปี 1911 1948 ซึ่งสังคมยังไม่มีเสถียรภาพดีนักนั้น ซือเหอย่วนที่เคยถูกครอบครัวด้วยตระกูลเดียวมาโดยตลอด ได้ถูกซอยออกให้คนอื่นเข้ามาอาศัยอยู่ด้วย และแต่ละครอบครัวก็ต่อเติมบ้านเหล่านั้นด้วยวัสดุเท่าที่พอหาได้ ทำให้จำนวนหูถ้งที่เคยบันทึกไว้ในช่วงราชวงศ์ชิง ว่ามี 978 แห่ง ได้เพิ่มจำนวนเป็น 1330 แห่งในปี 1949
แต่ในยุคปฏิวัติวัฒนธรรมและสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนปี 1949 นั้น หูถ้งจำนวนมากได้หายไปจากปักกิ่ง เพราะได้ถูกรื้อออกเพื่อทำถนนขนาดใหญ่ สร้างอพาร์ตเม้นต์ระฟ้า ผู้คนจากหูถ้งก็ได้ย้ายไปอยู่ในอพาร์ตเม้นท์ใหม่เหล่านั้น
ปัจจุบันเหลือหูถ้งที่ยังอยู่ในสภาพดังเช่นอดีตเพียงไม่กี่แห่ง ที่นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสจิตวิญญาณโบราณของปักกิ่งที่ผ่านประวัติศาสตร์มาทั้งหกราชวงศ์ได้ที่หูถ้ง "ฉีซื่อเป่ย" แห่งนี้ หู
ถ้งแถบสถานีรถใต้ดิน "ตงซื่อ" และที่ขึ้นชื่อมากที่สุดก็คือหูถ้งบริเวณหอกลอง และหอระฆัง ซึ่งอยู่ติดกับทะเลสาบโฮ่ไห่ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่นี่นัก
หูถ้ง "ฉีซื่อเป่ย" ส่วนใหญ่ได้รับการปรับแต่งให้สวยงาม ไม่มีสิ่งของวางระเกะระกะ บางหลังก็กำลังก่อสร้างขึ้นใหม่ แต่ส่วนใหญ่ก็ถูกอนุรักษ์ไว้ในสภาพที่ดีมาก
1 2 3 4 5
|