China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2008-12-29 21:18:29    
แดดไหวไอหนาว และกิจกรรมบนราวระเบียงของหอไหว้ฟ้าเทียนถาน
รายการสถานีต่อไป

cri

ตำหนักฉีเหนียนเตี้ยน

ถัดจากต้นไป๋ขดมังกรมาเป็น "สะพานตันปี้" ที่มีความยาว 360 เมตร และมีความกว้าง 30 เมตร เป็นทางเชื่อมระหว่างตำหนัก "ฉีเหนียนเตี้ยน" กับ "แท่นบวงสรวงฟ้า" ตรงจุดที่เริ่มต้นที่ผมไปยืนอยู่นั้น จากสายตาจะเห็นได้ว่าทางเดินนี้ค่อยเฉียงขึ้น เพราะจากจุดนี้สะพานมีความสูงจากพื้นเพียง1 เมตร และที่จุดสูงสุด ณ ประตูทางเข้าตำหนัก "ฉีเหนียนเตี้ยน" ซึ่งอยู่ด้านเหนือนั้นมีความสูง3 เมตร มีความหมายสำคัญแฝงเร้นไว้ว่า เมื่อองค์จักรพรรดิ์เสด็จมาบนเส้นทางสายนี้ จะให้ความรู้สึกเหมือนในแต่ละก้าวนั้นจะค่อย ๆ สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ราวกับเป็นเส้นทางสู่สรวงสวรรค์ สะพานแห่งนี้จึงมีชื่อเรียกว่า"เสินเต้า"หรือ"ทางศักดิ์สิทธิ์" นอกจากนี้ยังสะท้อนความเชื่อของจีนในยุคปกครองด้วยกษัตริย์ว่า "ฟ้าสูงแผ่นดินต่ำอีกด้วย"

บนบริเวณตรงกลางของสะพานจะเป็นทางหินอ่อน ซึ่งมีความกว้างประมาณเมตรเศษ ซึ่งน่าจะเป็นทางเดินสำหรับจักรพรรดิเท่านั้น เพราะมันตรงดิ่งราวกับเป็นเส้นผ่าศูนย์กลางของหอไหว้ฟ้าแห่งนี้

แล้วเราก็มาถึงสถานที่สำคัญที่สุดของหอไหว้ฟ้าเทียนถาน นั่นก็คือ "ฉีเหนียนเตี้ยน" หรือ "ตำหนักสักการะ" สถานที่ที่ยิ่งใหญ่สวยงามและโดดเด่นที่สุดในเทียนถาน เป็นที่สำหรับบวงสรวงฟ้า เพื่อขอให้พืชพันธ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ซึ่งจะทำทุกปีในช่วงเริ่มเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ

ตำหนักนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 เมตรและมีความสูงราว 40 เมตร เป็นตำหนักทรงกลมที่เป็นลักษณ์เฉพาะของศิลปะการสร้างสรรค์แบบจีน หลังคาเป็นโครงไม้ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือที่ไม่มีคานรองรับเลย ทำให้เป็นที่กล่าวขวัญกันมากในด้านความเป็นเลิศในด้านสถาปัตยกรรมที่มีการประสานกันระหว่างการออกแบบคำนวณที่แม่นยำและความงดงามทางศิลปะ เสาใหญ่ 4 ต้น ที่ตั้งอยู่บริเวณกลางห้องโถงนั้นมีความสูง 20 เมตร เป็นสัญลักษณ์แห่งฤดูกาลทั้ง 4 ในรอบปี และเสาอีก 12 ต้น ซึ่งตั้งอยู่ในห้องโถงใหญ่เช่นกันนั้น เป็นสัญลักษณ์แทนเดือนทั้ง 12 ในรอบปีนั่นเอง นอกจากนี้ช่วงห่างระหว่างเสาทั้ง 12 ยังหมายถึง 12 ช่วงในแต่ละวัน ซึ่งในอดีตนั้น 1 ชั่วยามเท่ากับ 2 ชั่วโมงในสมัยปัจจุบัน

ฝ้าเพดานในห้องโถงเป็นรูปปั้นมังกร 9 ตัว มีสีสันหลากหลาย แสดงให้เห็นประณีตศิลป์และมีความโอ่อ่าสง่างาม ส่วนหมุดยอดหลังคาหุ้มทอง งดงามสอดคล้องกับหลังคากระเบื้องเคลือบสีน้ำเงินอย่างกลมกลืน ซึ่งการใช้สีน้ำเงินเป็นสีหลักของการตกแต่งหอไหว้ฟ้าแห่งนี้ แตกต่างอย่างยิ่งกับสถานที่สำคัญทุกแห่งของจักรพรรดิที่จะเน้นใช้สีเหลืองซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจอันล่วงละเมิดมิได้ เพราะสีน้ำเงินนั้นสอดคล้องกลมกลืนไปกับความยิ่งใหญ่ของท้องฟ้าอันเป็นสัญลักษณ์แห่งหอลวงสรวงแห่งนี้

1 2 3 4 5