บรรยากาศเพลงของวงนี้ออกไปในแนวอาวองการ์ดเป็นหลัก เป็นโมเดิร์นแจ๊ซที่เน้นเสียงและความหมายในการสื่ออารมณ์เพลง การพูดคุยกันของเครื่องดนตรี และการบอกเล่ากันคนฟัง ผู้ที่ไม่คุ้นเคยนักก็อาจจะเกิดอาการเคลิ้มจนเผลอหลับไปได้ อย่างเพื่อนของผมซึ่งนิยมเพลงพ๊อพ ถึงกับนั่งเกาแขนเกาขาเพราะอาการง่วง
Ranee Lee นักร้องนำ
พอจังหวะเปลี่ยนเพลง เธอหันมาบอกกับผมว่าฟังไม่เข้าใจเลย ผมเองก็บอกกับเธอไปว่า ฟังไม่เข้าใจเหมือนกัน เพราะเราไม่จำเป็นต้องเข้าใจ เราแค่ฟังแล้วรู้สึกว่าเสียงดนตรีนั้นสัมผัสกับส่วนไหนของความรู้สึกเราได้ก็พอ เข้าถึงโดยไม่จำเป็นต้องเข้าใจ เหมือนเวลาเราดูภาพเขียนก้เช่นกัน เราก็ดูที่เทคนิก จังหวะ พื้นที่ สี และองค์รวมทั้งหมดของภาพนั้นว่า สัมผัสเราได้ในส่วนไหน เท่านั้นก็เพียงพอ
เธอบอกว่า ยิ่งฟังอธิบายแบบนี้ ก็ยิ่งง่วงกว่าเดิมอีก ผมจึงได้แต่เกาหัว และหันไปฟังเพลงที่ชื่อ Never was ที่ขึ้นมาด้วยเสียงเบสแสนเศร้า
วงที่มาเล่นปิดท้ายของวันนี้ และเป็นวงสั่งลาของงาน Beijing Ninegates International Jazz Festival ในครั้งนี้ชื่อว่า Ranee Lee Group ซึ่งเป็นวงที่มาจากประเทศแคนาดาที่ดูเหมือนจะรวมกลุ่มกันมานานแล้ว เพราะสมาชิกแต่ละคนนั้นอาวุโสทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นมือกีต้าร์ เปียโน และนักร้องนำ มีเพียงมือกลองและดับเบิ้ลเบสที่เหมือนจะเพิ่งเข้าร่วมงานใหม่เอี่ยม เพราะดูยังอายุน้อย และดูโน้ตเขม็งแทบจะทุกตัว แต่เมื่อรวมตัวกันแล้วกลับมีพลังและลงตัวยิ่ง อาจจะไม่โดดเด่นเท่า 2 วงที่ผ่านมาในเรื่องฝีไม้ลายมือที่จัดจ้านในทางดนตรี แต่วงนี้ก็ไม่ได้ด้อยกว่าเลย เพราะว่าแกนนำหลักของวงอยู่ที่นักร้องนำสาวผิวสีผู้มีเสียงแหบเสน่ห์และลีลาการเต้นประกอบที่สนุกสนาน
Shunza
รานีและวงของเธอนั้นได้รับการยกย่องว่าดีโดดเด่นที่สุดในอเมริกาเหนือในฐานะทางดนตรีแบบคลาสสิกแจ๊ซ ที่มีมนต์เสน่ห์มากว่า 100 ปี
1 2 3 4 5 6
|