นอกจากความเชื่อนี้แล้ว ตามชื่อของวัดที่แปลว่า "วัดที่มีสระน้ำลึกและต้นแปะก๊วย" ซึ่งสระน้ำขนาดใหญ่ที่ชื่อ "สระมังกร" นี้เอง ยังเป็นแหล่งส่งน้ำเข้าไปในเมือง ซึ่งไหลต่อไปถึงยังทะเลสาบโฮ่ไห่ในเขตวังอีกด้วย การที่ต้มน้ำอยู่ตลอดเวลานี้ เป็นการรักษาระดับน้ำที่ไหลจากต้นน้ำ ผ่านสระมังกรหลังวัด ไม่ให้มีปริมาณมากเกินไป จนเกิดน้ำท่วมในเขตเมืองด้วย
ความเป็นมาของหม้อหุงข้าวยักษ์นี้ ทำให้เห็นสภาพบ้านเมืองในสมัยก่อนว่ามีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง น้ำท่าไม่ขาดแคลน พระสงฆ์ก็มีจำนวนมาก เชื้อฟืนก็มีไม่ขาด และแน่นอนว่า ย่อมฉายภาพความศรัทธาในพระพุทธศาสนาด้วยเช่นกัน เพราะข้าวปลาอาหารที่นำมาหุงหานั้นย่อมต้องมาจากจิตศรัทธาทั้งสิ้น
ภาพแสดงการประกอบอาหารในครั้งโบราณ
แม้ในปัจจุบันจะมีเพียงปากหลุมซึ่งเป็นที่ตั้งของหม้อหุงข้าวยักษ์นี้ แต่ก็มีภาพวาดที่แสดงให้เห็นขนาดอันมโหฬารของมัน จำนวนเชื้อเพลิง และกองกระสอบข้าวขนาดมหึมา
เนื่องจากเป็นวัดที่มีความสำคัญ ถึงขนาดว่ามีห้องไหว้พระของจักรพรรดิเฉียนหลงโดยเฉพาะ ซึ่งใครๆ ก็ทราบกันดีว่าพระองค์ทรงเป็นนักปกครองชั้นยอดที่สามารถขยายอาณาเขตจีนไปกว้างไกลที่สุดเท่าที่เคยมีในประวัติศาสตร์ ทรงเป็นนักรัก และผู้ที่สนับสนุนพระพุทธศาสนาคนสำคัญที่สุด เพราะว่าของพระองค์นั้นมีเงินคงคลังมากที่สุดเช่นกัน ทรงถวายเงินแก่วัด และสร้างวัดไว้จำนวนมากมาย จึงไม่แปลกที่จะมีห้องส่วนพระองค์ที่นี่ อีกทั้งวิหารต่างๆ ก็ได้รับการก่อสร้างเพิ่มเติมมากมาย และมีลักษณะแผนผังคล้ายกับพระราชวังต้องห้าม
ภาพมุมสูงของวัด เจดีย์งานฝีมือช่างเนปาล
โดยวัดถานเจ๋อซื่อนั้น จากประตูทางเข้าเป็นต้นมา จะมีประตูทางเข้ากั้นทั้ง 3 วิหารหลัก โดยวิหารแรกมีชื่อว่า เทวาราชา (Devaraja) วิหารกลางชื่อ มหาวีระ (Mahavira) และสุดท้ายชื่อ ไวยโรชนะ (Vairochana) ซึ่งวิหารกลางซึ่งมีขนาดใหญ่สุดนั้นเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจหลักของพระสงฆ์
1 2 3 4 5 6 7
|