บทวิเคราะห์ : เหตุใดประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยินดีเดินหน้าจับมือหัวเว่ย ผลักดัน 5G

2020-12-14 11:26:35 | CRI
Share with:

บทวิเคราะห์ : เหตุใดประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยินดีเดินหน้าจับมือหัวเว่ย ผลักดัน 5G

ช่วงที่ผ่านมา หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทยอินโดนีเซียพากันเดินหน้าจับมือกับหัวเว่ย บริษัทผลิตอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมสัญชาติจีน เพื่อร่วมผลักดันการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ในประเทศตนอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางการกีดกันหัวเว่ยจากบรรดาชาติตะวันตกที่นำโดยสหรัฐฯ เช่น อังกฤษ ออสเตรเลีย

บทวิเคราะห์ : เหตุใดประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยินดีเดินหน้าจับมือหัวเว่ย ผลักดัน 5G

เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา บริษัทหัวเว่ยได้จัดตั้งศูนย์กลางนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาระบบนิเวศ 5G แบบครบวงจรแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งประเทศไทย ด้วยเงินลงทุนมากกว่า 475 ล้านบาท

ศูนย์แห่งนี้จะทําหน้าที่ช่วยพัฒนานวัตกรรมระบบดิจิทัลสําหรับแอพพลิเคชั่น 5G และบริการของอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศไทย จะสร้างโอกาสใหม่ให้แก่ภาคธุรกิจ ทั้งวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ธุรกิจสตาร์ตอัพ ตลอดจนสถาบันการศึกษา ซึ่งจะช่วยผลักดันให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ศูนย์แห่งนี้มีบทบาทสำคัญในการเป็นพื้นที่ทดลองการนำเทคโนโลยี 5G ไปใช้ในภาคธุรกิจและบริการต่างๆ เช่น บริการทางการแพทย์ด้วยเทคโนโลยี 5G  การเกษตรอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยี 5G  ระบบท่าเรืออัจฉริยะผ่านระบบ 5G  การศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยี 5G ระบบการรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยี 5G เป็นต้น รวมทั้งจะช่วยพัฒนาศักยภาพธุรกิจเอสเอ็มอี และสตาร์ทอัพของไทยปีละกว่า 100 ราย และสนับสนุนรัฐบาลไทยมุ่งสู่ Thailand 4.0 

บทวิเคราะห์ : เหตุใดประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยินดีเดินหน้าจับมือหัวเว่ย ผลักดัน 5G

นอกจากมีการจัดตั้งศูนย์กลางนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลดังกล่าว เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2017 บริษัทหัวเว่ยยังได้จัดตั้งศูนย์โอเพ่นแล็ป ที่กรุงเทพฯ ด้วยเงินลงทุนทั้งสิ้น 15 ล้านเหรียญสหรัฐ   ศูนย์แห่งนี้ถือเป็นศูนย์โอเพ่นแล็ป ลำดับที่ 7 ของหัวเว่ยในทั่วโลก  ศูนย์หัวเว่ย โอเพ่นแล็ป ที่กรุงเทพฯ จะช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัลแก่ลูกค้าและพันธมิตรต่างๆ ในอุตสาหกรรมทั้งในประเทศไทย รวมถึงประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจะเป็นแพลตฟอร์มแบบเปิด และดาต้าเซ็นเตอร์ต่างๆ ช่วยแก้ปัญหาการทดสอบโซลูชั่นการใช้งานต่างๆ กระตุ้นให้เกิดการพัฒนานวัตกรรม ทั้งยังช่วยส่งเสริมการพัฒนาระบบนิเวศอุตสาหกรรม และให้บริการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

บทวิเคราะห์ : เหตุใดประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยินดีเดินหน้าจับมือหัวเว่ย ผลักดัน 5G

เมื่อเร็วๆ นี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เปิดโอกาสให้ นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด เข้าพบ ณ  ทำเนียบรัฐบาล เพื่อหารือเกี่ยวกับการนำเอาเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัล รวมถึงการสร้างระบบนิเวศ 5 G มาสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินภารกิจของรัฐบาลไทย ร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยให้เดินหน้าอย่างยั่งยืน

โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า  ไทยยินดีที่จะร่วมมือกับหัวเว่ยในการพัฒนาการสื่อสารและโทรคมนาคม โดยเฉพาะการสร้างเครือข่าย 5G ซึ่งถือเป็นนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ไทยพร้อมพัฒนาศักยภาพ เพื่อเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในภูมิภาค

ขณะนี้ ไม่เฉพาะประเทศไทย ประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินโดนีเซียก็เร่งเดินหน้าร่วมมือกับบริษัทหัวเว่ยในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G เมื่อเร็วๆ นี้  รัฐบาลอินโดนีเซียได้ลงนามบันทึกความเข้าใจกับบริษัทหัวเว่ย เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี5G และด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งหัวเว่ยจะทำหน้าที่ช่วยอินโดนีเซียอบรมบุคลากร 1 แสนคนให้มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัล อาทิ คลาวด์และในส่วนของเทคโนโลยีการสื่อสาร 5 G

เจ้าหน้าที่ทำเนียบประธานาธิบดีอินโดนีเซีย กล่าวกับสื่อมวลชนว่า อินโดนีเซียหวังว่าบริษัทหัวเว่ยจะช่วยให้เรายกระดับทรัพยากรมนุษย์ให้มีมาตรฐานระดับสากล เพราะหัวเว่ยจะร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐบาลอินโดนีเซียเพื่อร่วมกันผลักดันให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยี 5G

ภายใต้การลงนามบันทึกความเข้าใจครั้งนี้ หัวเว่ยยังทำหน้าที่ให้ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีแก่อินโดแซท โอเรดู (Indosat Ooredoo) บริษัทโทรคมนาคมใหญ่สุดอันดับสองของอินโดนีเซีย ในการติดตั้งโครงสร้างพื้นฐาน 5 G ในกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซียและพื้นที่อื่นๆ

เจ้าหน้าที่ด้านการสื่อสารโทรคมนาคมในหน่วยงานรัฐบาลอินโดนีเซีย ระบุ ที่ผ่านมา ทั้งอีริกสันและโนเกียต่างได้ทำการทดสอบเครือข่าย 5G ในอินโดนีเซียมาแล้ว แต่หัวเว่ยได้เสนอราคาในการติดตั้งอุปกรณ์ 5G ที่ถูกกว่าสองบริษัทดังกล่าวประมาณ 20-30% แถมมีคุณภาพที่ดีกว่า จึงไม่น่าแปลกใจที่ในท้ายที่สุด รัฐบาลอินโดนีเซียก็ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับหัวเว่ย

ขณะนี้ ไทย อินโดนีเซีย และประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่เห็นว่า การให้บริษัทหัวเว่ยทำตลาดในภูมิภาคนี้นั้นสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะเร่งพัฒนาธุรกิจ โครงสร้างขั้นพื้นฐาน และโลจิสติกส์ ด้วยเทคโนโลยีของบริษัทหัวเว่ย  เพื่อยกระดับกำลังแข่งขันระหว่างประเทศของตน ด้วยเหตุนี้  ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงยินดีที่จะเดินหน้าร่วมมือกับบริษัทหัวเว่ย  และไม่นำพาต่อคำพูดเหลวไหลไร้สาระของประเทศตะวันตกบางประเทศที่ว่า เครื่องอุปกรณ์ของบริษัทหัวเว่ยมีความเสี่ยงด้านความมั่นคง

(yim/cai)

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

蔡建新