วันที่ 16 เมษายน การประชุมสุดยอดผู้นำสหรัฐฯ -ญี่ปุ่นประกาศแถลงการณ์ร่วม ประเด็นหลักคือร่วมกันรับมือกับประเทศจีน เนื้อหาในแถลงการณ์ รวมทั้งอธิปไตยและผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับจีนในเรื่องต่างๆ เช่น ทะเลตะวันออก ทะเลใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง ซินเจียง เป็นต้น จนทำให้ชาวจีนรู้สึกว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศรับใช้สหรัฐอย่างเต็มที่ ส่วน “ข่าวเศรษฐกิจญี่ปุ่น”เผยแพร่บทความระบุว่าญี่ปุ่นในปัจจุบันถ้าพูดให้สละสรวยก็คือยังมีคุณค่าที่ได้ใช้ ถ้าพูดตรงไปตรงมาก็คือถูกใช้
สิ่งที่น่าสนใจคือแถลงการณ์ร่วมในครั้งนี้ ได้นำปัญหาไต้หวันเข้ามาอยู่ในเนื้อหาสาระเป็นครั้งแรก นับเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องจับตา แสดงว่าญี่ปุ่นก้าวเข้าสู่เขตต้องห้ามของความสัมพันธ์จีน-ญี่ปุ่น เป็นก้าวที่อันตรายมาก เนื่องจากญี่ปุ่นมีประวัติศาสตร์รุกรานจีนและเคยนำไต้หวันเป็นอาณานิคม ฉะนั้น ก้าวนี้จะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อความสัมพันธ์จีน-ญี่ปุ่นอย่างมาก
มีคนจำนวนไม่น้อยแปลกใจว่าหลายปีมานี้ ญี่ปุ่นยังคงต้องการปรับปรุงความสัมพันธ์กับจีนให้ดีขึ้น แต่ทำไมจึงเปลี่ยนไป ส่วนหนึ่งอาจมาจากแรงกดดันที่เกิดจากสหรัฐฯ แต่ปัจจัยภายในน่าจะสำคัญกว่า การที่อยากหยุดยั้งจีนด้วยวิธีผูกมิตรกับสหรัฐฯ เป็นการกระทำของนักการเมืองญี่ปุ่น
ความเป็นจริงคือ ปัจจุบันเนื่องจากมาตรการต้านโควิดที่เกิดขึ้น ญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับการระบาดรอบที่ 4 ขณะเดียวกันเศรษฐกิจญี่ปุ่นเมื่อปี 2020 มีอัตราติดลบ 4.83% ทั้งการควบคุมโควิดและการพัฒนาเศรษฐกิจล้มเหลวทั้งสองอย่าง ทำให้คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันต้องถ่ายโอนข้อขัดแย้งภายในประเทศอย่างรวดเร็ว เพื่อได้เสียงสนับสนุนและเอาชนะการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตยในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ ส่วนรัฐบาลไบเดนของสหรัฐฯ มองจีนเป็นคู่แข่ง สอดคล้องกับความต้องการของญี่ปุ่น
แต่นักการเมืองญี่ปุ่นควรทราบว่า ปัญหาไต้หวันเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของจีน หากญี่ปุ่นกล้าท้าทายจีนพร้อมกับสหรัฐฯ ในเรื่องนี้ ย่อมจะถูกตอบโต้อย่างหนัก ปี 2022 เป็นปีที่จีนกับญี่ปุ่นสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตครบรอบ 50 ปี รัฐบาลญี่ปุ่นชุดปัจจุบันควรเตรียมพร้อมคิดว่าควรจะต้อนรับปีที่ความสำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างมิตรหรือศัตรู
ประวัติศาสตร์พิสูจน์ให้เห็นว่า ประเทศที่ไม่ได้เรียนรู้บทเรียนอย่างจริงจัง ย่อมไม่มีอนาคต นักการเมืองญี่ปุ่นที่ตีสองหน้า ย่อมจะได้รับผลกรรมของตนเองในที่สุด
Bo/Ping/Cai