วันที่ 27 เม.ย. 64 กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นออก “สมุดปกน้ำเงินทางการทูต” ประจำปี 2021 พูดถึงความขัดแย้งในเกาะเตี้ยวหยูระหว่างจีนและญี่ปุ่นและปัญหาต่างๆ เช่น ทะเลจีนใต้ ฮ่องกง ซินเจียงเป็นต้น สร้างกระแสในเชิง “ภัยคุกคามจากจีน” แต่เรียกความสัมพันธ์ระหว่างจีนและญี่ปุ่นจากแง่มุมเศรษฐกิจว่าเป็น “หนึ่งในความสัมพันธ์ทวิภาคีที่สำคัญที่สุด” การแยกการเมืองและเศรษฐกิจอย่างชัดเจนนั้น สะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้งอันใหญ่หลวงของนโยบายที่ญี่ปุ่นมีต่อจีน
ตั้งแต่การเจรจา “กลไก 4 ฝ่าย” ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินเดียและออสเตรเลีย อีกทั้ง “การเจรจา 2+2” ระหว่างจีน-ญี่ปุ่นในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จนถึงแถลงการณ์ร่วมระหว่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นที่ออกเมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา และ “สมุดปกสีน้ำเงินทางการทูต” ในครั้งนี้ คณะรัฐมนตรีของนายโยชิฮิเดะ ซูงะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ใช้มาตรการที่เกินความจำเป็นหลายอย่างต่อจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แสดงสิ่งที่เรียกว่า “ความเป็นห่วง” ต่อสถานการณ์ช่องแคบไต้หวัน แสดงว่าการจัดการความสัมพันธ์กับจีนของญี่ปุ่นนั้นได้ล้ำเส้นแดงอย่างหนักหน่วงแล้ว
ในแง่เศรษฐกิจ ญี่ปุ่นยังคงต้องพึ่งพาตลาดจีนเป็นอย่างมาก ถึงแม้สร้างความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรอันใกล้ชิดแนบแน่นกับสหรัฐอเมริกาแค่ไหนก็ตาม ก็ไม่สามารถได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจอันใหญ่หลวง
เมื่อ 20 ปีก่อน การส่งออกมายังจีนนั้น เป็นเพียงประมาณ 10% ของยอดมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของญี่ปุ่น แต่ตัวเลขนี้เพิ่มมากขึ้นเป็น 22% ในปี 2020 ซึ่งมากกว่า 17% ของการส่งออกต่อจีนของญี่ปุ่น มองจากผลประโยชน์ทางการลงทุน เมื่อปี 2019 การลงทุนโดยตรงที่ญี่ปุ่นมีต่อทั่วโลกนั้น อัตราเงินลงทุนคงเหลือกับผลประโยชน์ที่ได้รับนั้น จีนอยู่ที่ 17% ส่วนสหรัฐอเมริกาไม่ถึง 5%
ที่ชัดเจนก็คือ ในแง่การเมือง ญี่ปุ่นขัดแย้งกับจีน ในแง่เศรษฐกิจ ญี่ปุ่นต้องพึ่งพาจีน ซึ่งเป็นข้อขัดแย้งอันใหญ่หลวงเป็นพิเศษ จีนจะไม่ยอมให้ญี่ปุ่น “กอบโกยผลประโยชน์แล้วก็มาโจมตีจีน” เด็ดขาด
Zhou/Dan/Yim