#ย้อนรอยเส้นทางสู่ฟ้าดูการเปลี่ยนแปลง #ตามน้องชุยเข้าทิเบต #บันทึกของผู้สื่อข่าว ปฏิกิริยาที่ราบสูงเป็นอย่างไรกันแน่?

2021-07-19 21:51:19 | สถานีวิทยุและโทรทัศน์ส่วนกลางของจีน
Share with:

#ย้อนรอยเส้นทางสู่ฟ้าดูการเปลี่ยนแปลง #ตามน้องชุยเข้าทิเบต #บันทึกของผู้สื่อข่าว ปฏิกิริยาที่ราบสูงเป็นอย่างไรกันแน่_fororder_微信图片_20210719214553

เวลานี้ ชุยทำข่าวที่เมืองน่าชวี วันนี้วันที่ 19 กรกฎาคม เป็นวันที่ 2 ที่ผมเข้าทิเบต ตั้งแต่เมื่อวานแล้ว เพื่อนร่วมงานซึ่งรวมผมด้วย ได้เกิดปฏิกิริยาที่ราบสูงในระดับที่ต่างกัน ส่วนปฏิกิริยาที่ราบสูงมีปรากฏการณ์อย่างไร?เมื่อเกิดปฏิกิริยาที่ราบสูงแล้วควรรับมือยังไง?

ยกตัวอย่างของผมตัวเองก่อน กลางวันที่ 17 กรกฎาคม ผมเคยสำรวจค่ายตำรวจติดอาวุธสูงสุดของจีนที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 4,868 เมตร เวลานั้นไม่ได้รู้สึกไม่สบายอะไรเลย เมื่อ 2 ปีก่อน ผมก็เคยทำข่าวที่เมืองลาซาและหลินจือ ระหว่างทาง พื้นที่สูงสุดอยู่เหนือระดับน้ำทะเลกว่า 4,700 เมตร ผมคิดว่า คราวนี้มาทิเบต ก็ไม่น่าเกิดปฏิกิริยาที่ราบสูงอีก

#ย้อนรอยเส้นทางสู่ฟ้าดูการเปลี่ยนแปลง #ตามน้องชุยเข้าทิเบต #บันทึกของผู้สื่อข่าว ปฏิกิริยาที่ราบสูงเป็นอย่างไรกันแน่_fororder_微信图片_20210719214603

ตัวเมืองน่าชวีมีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลกว่า 4,500 เมตร เช้าเมื่อวาณพอเดินทางถึงน่าชวีแล้ว เนื่องจากนั่งรถไฟทั้งคืน คุณภาพการนอนไม่ค่อยดี ผมรู้สึกเพลียอยู่บ้าง หรือกล่าวได้ว่า ง่วงนอน เจ้าหน้าที่ต้อนรับผมบอกว่า สภาพของผมแบบนี้คือปฏิกิริยาที่ราบสูงระดับเล็กน้อย ส่วนเมื่อถึงตอนค่ำเมื่อวาณ พอเขียนนทึกของผู้สื่อข่าวเสร็จแล้ว ผมก็มีอากาศวิงเวียนศีรษะ ตลอดจนยังรู้สึกคลื่นไส้ด้วย ซึ่งแตกต่างกับสภาพการทำงานในที่ราบเป็นอย่างมาก ผมได้สำนึกแล้วว่า ผมมีปฏิกิริยาที่ราบสูงจริง ๆ แล้ว

ส่วนเพื่อนร่วมงานของผม ส่วนใหญ่ก็เกิดปฏิกิริยาที่ราบสูงด้วย บางคนปวดหัวมากจนต้องกินยาแก้ปวด บางคนพอกระดิกกระเดี้ยก็ไม่สบาย ยังมีคนหนึ่งมีอาการไข้ถึง 38 องศาจนต้องไปรักษาที่โรงพยาบาล กล่าวได้ว่า ปฏิกิริยาที่ราบสูงเป็นอุปสรรคที่ทุกคนต้องเผชิญหน้า

#ย้อนรอยเส้นทางสู่ฟ้าดูการเปลี่ยนแปลง #ตามน้องชุยเข้าทิเบต #บันทึกของผู้สื่อข่าว ปฏิกิริยาที่ราบสูงเป็นอย่างไรกันแน่_fororder_微信图片_20210719214611

แล้วเมื่อเกิดปฏิกิริยาที่ราบสูงแล้ว ควรรับมือยังไงดี ยกตัวอย่างของผม ก่อนอื่นก็คือดูดออกซิเจน ณ ที่นี้ ผมต้องขอบคุณฝ่ายต้อนรับของทิเบต พวกเขาเลือกโรงแรมที่ให้ออกซิเจน ระหว่างทางก็เตรียมกระป๋องออกซิเจนที่พกพาได้ง่าย เมื่อคื่นที่ผมไม่สบาย ผมก็รีบดูดออกซิเจนที่ห้องพักในโรงแรม ประมาณอีกสัก 10-20 นาที ผมก็รู้สึกสบายไม่น้อย ประการที่สองก็คือกินยา ยาแก้ปฏิกิริยาที่ราบสูงที่มีผลมากที่สุดก็คือโรดิโอลาโรซี ก่อนที่เข้าทิเบต ผมก็ได้กินอยู่บ้าง เดินทางถึงที่นี่แล้ว ฝ่ายต้อนรับชิงไห่และทิเบตก็ได้เตรียมยาชนิดนี้ให้เราทุกวัน เพื่อบรรเทาอาการไม่สบาย ประการที่สามก็คือนอนให้พอ ผมคิดว่า สาเหตุที่เมื่อวานผมไม่สบาย อาจเป็นเพราะว่า กลางวันเมื่อวานผมทำข่าวตลอดเวลา กลางคืนก็นอนไม่พอ หลังจากนอนทั้งคืน วันนี้ ปฏิกิริยาที่ราบสูงของผมก็ไม่เด่นชัดเหมือนเมื่อวานแล้ว ประการที่สี่ก็คือ ไม่ว่าเกิดเรื่องอะไร ก็ไม่รีบร้อน ไม่ออกกำลังกายรุนแรง พื้นที่ราบสูงแตกต่างกันที่ราบ ชาวท้องถิ่นเตือนผมว่า เวลาทำเรื่องก็ต้องช้า ๆ มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย

วันนี้เป็นวันที่ 4 ในการเดินทางทำข่าวของผม ผมเชื่อว่า เมื่อผ่านด่านปฏิกิริยาที่ราบสูงแล้ว การรายงานข่าวต่อไปจะราบรื่นดียิ่งขึ้น ผมก็หวังว่า ทุกคนมีสุขภาพแข็งแรงและมีความปลอดภัย

ชุย อี๋เหมิง วันที่ 19 กรกฎาคม

ที่เมืองน่าชวี เขตปกครองตนเองทิเทต

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

崔沂蒙