วันที่ 25 พฤศจิกายน ชุย อี๋เหมิง ผู้สื่อข่าวภาคภาษาไทยได้สัมภาษณ์อาจารย์ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่าด้วยการยุทธศาสตร์ป้องกันและควบคุมโควิด-19 ของจีน ความมั่งคั่งร่วมกัน ความสัมพันธ์ ครบรอบ 30 ปีการสร้างความสัมพันธ์คู่เจรจาจีน-อาเซียน การเปิดเดินรถไฟจีน-ลาว เป็นต้น โดยมีบทสัมภาษณ์ดังต่อไปนี้
ชุย:ตอนนี้ โดยเฉพาะสื่อตะวันตกอาจมีการวิเคราะห์ว่า ยุทธศาสตร์ป้องกันและควบคุมโควิด-19 ของจีนที่เรียกว่า ยอดผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์อาจไม่ตรงกับนโยบายหลายประเทศทั่วโลก ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร
อาจารย์ปิติ ศรีแสงนาม:ผมคิดว่า อย่างแรกเลยสุดนี่ แน่นอนตอนนี้โลก น่าจะแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งก็คือ zero-Covid อย่างเช่นประเทศจีน ก็คือการติดเชื้อเป็นศูนย์ อีกกลุ่มหนึ่งเขาเรียก long-Covid ก็คืออยู่กับเชื้อโควิด-19 ให้ได้ แต่ว่า long-Covid นี่ ก็มีการพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ในที่สุด จำนวนผู้ติดเชื้อถึงแม้ในหลาย ๆ ประเทศมีการฉีดวัคซีนไปเยอะมาก มันควรจะสร้างภูมิคุ้มกันได้ โดยเฉพาะวัคซีนของหลาย ๆ ประเทศก็เป็นวัคซีนที่มีเทคโนโลยีที่ใหม่และก้าวหน้ามาก ๆ แต่เราก็เห็นอยู่ว่า คนติดเชื้อก็เพิ่มขึ้นในหลักวันหนึ่งหลาย ๆ พันคน บางประเทศวันหนึ่งเป็นหมื่นคนก็มี เพราะฉะนั้นก็แปลว่า การที่เลือกนโยบายแบบ long-Covid นี่ มันยังไม่มีหลักประกันแล้วว่า สามารถที่จะควบคุมได้ จริง ๆ แล้วถ้าเราพูดถึงทางออกที่ดีที่สุด ผมเองก็ได้มีโอกาสพูดคุยกับนักเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขหลายคน เขาบอก จริง ๆ วิธีการที่จะปกป้องและป้องกันแก้ปัญหาโควิดให้ได้อย่างเด็ดขาดนี่ เป็นไปได้ไหมทั้งโลก ขอเวลา 6 สัปดาห์ แล้วชัตดาวน์ทั้งโลก ให้ทุกคนอยู่แต่ในบ้าน งดการออกข้างนอก งดการปฏิสัมพันธ์กัน แล้วกักโรคตัวเองนี่ในทุกประเทศในทั้งโลกเลย 6 สัปดาห์ เท่านั้นละครับ การแพร่ระบาดทั้งโลกก็จะหยุดได้ แต่แน่นอนทุกคนรู้เลยว่า ในทางปฏิบัติมันทำได้ยาก เพราะว่า หลาย ๆ คนต้องทำงานได้ค่าจ้างเป็นรายวัน ไม่ออกไปทำงานก็ไม่มีอะไรจะกิน แล้วอยู่ที่บ้านจะเอาของกินของใช้ได้ยังไง เพราะฉะนั้น ถ้าเกิดว่าจะทำอย่างนั้น แปลว่ารัฐบาลจากทั่วโลก น่าจะต้องช่วยเหลือกัน รัฐบาลประเทศร่ำรวยก็อาจจะต้องส่งเงินไปช่วยรัฐบาลประเทศยากจนเพื่อให้คนที่ต้องโดนกักตัวนี่สามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่ละประเทศต้องจัดระบบให้ดีและนัดเวลาให้มาพร้อมกัน แต่ในที่สุด กระบวนการมันทำได้ยากจริง ๆ เมื่อกระบวนการมันทำได้ยากจริง ๆ เราก็ต้องเข้าใจเงื่อนไขของประเทศจีนว่า เขามีขนาดเศรษฐกิจในประเทศที่ใหญ่เพียงพอที่จะสามารถกินอยู่ใช้ภายในประเทศได้ โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาต่างประเทศขนาดนั้น ในขณะเดียวกัน เทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ของจีนในการที่จะดูแลผู้ป่วยก็ดีมากพอ คนจีนเองก็ได้รับวัคซีนเป็นจำนวนมากแล้ว เข้าใจว่า คนจีนได้รับวัคซีนกำลังพูดถึงเข็มที่ 3 ด้วยซ้ำ เข็มที่ 2 เองก็ฉีดกันน่าจะเกือบครบจำนวนประชากรส่วนใหญ่มาก ๆ แล้ว เพราะฉะนั้น ตรงนี้ทำให้จีนเองก็เลือกที่จะใช้นโยบายที่เหมาะสมกับเงื่อนไขและบริบทของเขา ก็คือ zero-Covid นะครับ เพราะฉะนั้น ถ้าเรามองด้วยจิตใจที่เป็นธรรม และเข้าใจถึงเงื่อนไขและบริบทต่าง ๆ เหล่านี้ เราก็จะยอมรับและเข้าใจได้ครับว่า แต่ละประเทศก็ต้องเลือกออกที่ดีที่สุดสำหรับสังคมของเขา
(Cui)