“มือเล็ก” ของโมดูลห้องทดลอง “เวิ่นเทียน” ทั้งน่ารักทั้งมีประโยชน์

2022-08-10 17:38:06 | CMG
Share with:

โมดูลห้องทดลอง “เวิ่นเทียน” ถูกปล่อยสู่อวกาศเป็นเวลากว่า 10 วันแล้ว และได้เชื่อมต่อเข้ากับโมดูลหลัก “เทียนกง” กลายเป็นส่วนหนึ่งของสถานีอวกาศจีน เมื่อเร็ว ๆ นี้ นักบินอวกาศยานเสินโจว-14 ทั้งสามคน ได้เริ่มติดตั้งระบบการทำงานในโมดูลเวิ่นเทียนแล้ว  ขณะเดียวกัน แขนหุ่นยนต์ขนาดเล็กด้านนอกโมดูล ก็ได้เสร็จสิ้นการทดลองสมรรถภาพใช้งาน โดยดัชนีต่างๆอยู่ในสภาพดีพร้อมทุกอย่างบรรลุผลที่คาดการณ์ไว้

อนึ่ง เมื่อเทียบกับแขนหุ่นยนต์ขนาดใหญ่ที่มีความยาว 10 เมตร รองรับน้ำหนักได้ถึง 25 ตัน ซึ่งติดตั้งอยู่ที่โมดูลหลักนั้น แขนหุ่นยนต์ขนาดเล็กของโมดูลเวิ่นเทียน ดูเหมือนเล็กกะทัดรัดยิ่งขึ้น เพราะมีความยาวประมาณ 5 เมตร รองรับน้ำหนักได้ 3 ตัน แต่ถือเป็นแขนหุ่นยนต์ที่มีความแม่นยำมากที่สุดในสถานีอวกาศ โดยสามารถจับถืออุปกรณ์ขนาดกลางและขนาดเล็กได้ สามารถดำเนินงานที่ละเอียดได้ ดังนั้น ถึงจะดูเล็กแต่สามารถทำงานติดตั้งเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ได้โดยที่นักบินอวกาศไม่ต้องออกจากโมดูล สามารถช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้กับการทำงานของนักบินอวกาศ

นอกจากนี้ แขนหุ่นยนต์ขนาดเล็กนี้สามารถใช้งานได้โดยลำพัง หรือจะนำมาประกอบรวมเข้ากับแขนหุ่นยนต์ขนาดใหญ่ก็ได้ โดยมีบทบาทสำคัญหลายประการ เช่น สนับสนุนนักบินทำภารกิจนอกโมดูล, ตรวจสอบสภาพความปกติภายนอกโมดูล, เคลื่อนย้ายติดตั้งอุปกรณ์นอกโมดูล, ซ่อมบำรุงอุปกรณ์ทางทัศนศาสตร์ เป็นต้น 

แขนหุ่นยนต์ขนาดเล็กและใหญ่ต่างมีความโดดเด่นเฉพาะตัว และเพราะสามารถทำงานร่วมกันได้ด้วย ทำให้ระยะรัศมีการทำงานเพิ่มเป็นถึง 15 เมตร ครอบคลุมพื้นผิวของสถานีอวกาศทั้งหมด


(Yim/Cui/Patt)

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)