ในช่วงจัดงานแสดงสินค้าภาคบริการนานาชาติจีน (CIFTIS)ปี 2022 กระทรวงพาณิชย์ไทย สมาคมนักธุรกิจปักกิ่งประเทศไทย หอการค้าไทยในจีน และหน่วยงานต่างๆ รวมถึงบริษัทไทยจำนวนมาก ได้จัดคณะผู้แทนเข้าร่วมงาน งานของปีนี้เน้นประเด็นความเป็นดิจิทัล พลังงานทดแทน รถยนต์พลังงานใหม่ และเศรษฐกิจสีเขียว เป็นต้น ได้ร่วมกันสร้างเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างวิสาหกิจจีน-ไทย และได้ร่วมกันส่งเสริมความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจสีเขียวระหว่างสองประเทศ
งาน CIFTIS เป็นงานแสดงสินค้าภาคบริการขนาดใหญ่ระดับประเทศ ระดับนานาชาติและเชิงเอนกประสงค์ เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกในการจับคู่และการเจรจาอย่างต่อเนื่องระหว่างผู้แสดงสินค้าของจีนและต่างประเทศ งานครั้งนี้ยังได้สร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลออนไลน์ บริษัทบ่อทอง อินดัสทรี เทคโนโลยี จำกัด จากไทย ได้เข้าร่วมการเจรจา CIFTIS ทางออนไลน์เป็นเวลาสามปีติดต่อกัน งานในปีนี้บริษัทบ่อทอง ได้เข้าร่วม "งานสัมมนาว่าด้วยความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสีเขียวไทย-จีนในกรอบ RCEP" ซึ่งจัดโดยสมาคมนักธุรกิจปักกิ่งประเทศไทย
สมาคมนักธุรกิจปักกิ่งประเทศไทยได้จัดให้มีวิสาหกิจจีนและไทยเข้าร่วมงานออนไลน์ เป็นเวลาสามปีติดต่อกัน ช่วยผู้ประกอบการไทยเช่น นิคมอุตสาหกรรมบ่อทอง33 ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารกรุงเทพ ได้จัดการเจรจาความร่วมมือกับวิสาหกิจจีนหลายแห่ง ใน "งานสัมมนาว่าด้วยความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสีเขียวไทย-จีนในกรอบ RCEP" หน่วยงานภาครัฐ สมาคมและองค์กรต่างๆ ที่ร่วมงานได้จัดการแลกเปลี่ยนเชิงลึก เกี่ยวกับนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและความร่วมมือทางอุตสาหกรรมในด้านเศรษฐกิจสีเขียว
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลไทยให้ความสำคัญอย่างใกล้ชิดกับผลกระทบจากความหลากหลายทางชีวภาพ และการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศทั่วโลก ในขณะที่จีนมีความโดดเด่นทางด้านเทคโนโลยีต่างๆ เช่น การใช้พลังงานสะอาด เศรษฐกิจดิจิทัล เป็นต้น นายหวัง ลี่ผิง อัครราชทูตที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจและการพาณิชย์ของสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย กล่าวว่าความร่วมมือระหว่างจีนและไทยในด้านยานยนต์พลังงานใหม่ เศรษฐกิจดิจิทัล อุตสาหกรรมไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ และด้านอื่นๆ ประสบความสำเร็จอย่างมาก เขากล่าวด้วยว่า "ปัจจุบัน การลงทุนของบริษัทจีนในประเทศไทยส่วนใหญ่รวมอยู่ใน 3 ด้าน หนึ่งคือด้านการผลิตรถยนต์ ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบัน SAIC Motor และ Great Wall Motor ของจีนได้ลงทุน และสร้างโรงงานในไทย พวกเขาต่างประสบความสำเร็จในการผลิต ปีที่แล้ว สัดส่วนทางตลาดของแบรนด์จีนในตลาดรถยนต์พลังงานใหม่ของไทยมามากกว่า 60% ประการที่สองคือ ความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล บริษัทจีนได้ช่วยประเทศไทยในการส่งเสริมการก่อสร้างระบบดิจิทัลอย่างแข็งขัน บริษัท Huawei ได้ก่อตั้งศูนย์ข้อมูลสามแห่งในประเทศไทย และ Alibaba Cloud ก็ได้ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทย โดยจะเปิดให้บริการภายในปีนี้ ประการที่สามคือ อุตสาหกรรมการผลิต OEM บริษัทจีนได้ลงทุนและสร้างโรงงานในไทย ด้านการผลิตไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ ยาง ยางรถยนต์ และเครื่องไฟฟ้าใช้ในบ้าน ไทยได้กลายเป็นสะพานเชื่อมระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทั่วโลก”
Bo/Lei/Cui