3 ทศวรรษ ที่จีนมีส่วนร่วมขับเคลื่อนความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก (เอเปค)

2022-11-15 10:57:54 | CMG
Share with:

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก (เอเปค) จัดตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2532  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าในระดับพหุภาคี และสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลก มีสมาชิกเริ่มแรก 12 ประเทศ

นายอรรถยุทธ์ ศรีสมุทร เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปักกิ่ง กล่าวถึงบทบาทของจีนกับเอเปคว่า จีนเข้ามาเป็นสมาชิกเอเปคเมื่อปีพ.ศ. 2534 นับเป็นกรอบเศรษฐกิจความร่วมมือในภูมิภาคกรอบแรกๆ  ที่จีนเข้าร่วมเป็นสมาชิก โดยผู้นำจีนจะเข้าร่วมการประชุมเอเปคด้วยตัวเองทุกครั้ง เพื่อแสดงวิสัยทัศนาและแลกเปลี่ยนแนวทางความร่วมมือระหว่างจีนมีกับเขตเศรษฐกิจต่างๆ ในภูมิภาค

ที่ผ่านมา จีนเคยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมผู้นำเอเปคมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2544 ที่นครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งปีนั้นเป็นปีที่มีเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมที่อาคารเวิร์ดเทรด สหรัฐอเมริกา การประชุมผู้นำเอเปคในปีนั้นได้ร่วมกันออกแถลงการณ์ต่อต้านการก่อการร้าย  รวมถึงจีนได้แสดงวิสัยทัศน์ในฐานะเจ้าภาพจัดประชุมผู้นำเอเปคด้วยการวางรูปแบบความร่วมมือในอนาคต  ที่จีนผลักดันผลักดันยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล

ครั้งที่ 2 จีนเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคเมื่อ ปีพ.ศ. 2557 ที่กรุงปักกิ่ง โดยพลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทยร่วมประชุมด้วย มีการผลักดันความร่วมมือเรื่องการจัดตั้งเขตการค้าเสรีในเอเชียแปซิฟิก  โดยจีนให้ความสำคัญคือเรื่องการเชื่อมโยงกันของเอเปค มีการออกเอกสาร APEC Connectivity Blueprint เป็นเอกสารซึ่งวางแนวทางเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจต่างๆ ในภูมิภาคให้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด  นอกจากนี้เจีนยังผลักดันเรื่องเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ในยุคนั้น รวมถึงการส่งเสริมนวัตกรรม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 

จนถึงปีนี้  จีนยังคงสนับสนุนความร่วมมือตามกรอบเอเปค โดยเมื่อประเมินจากสิ่งที่จีนผลักดันในช่วงที่จีนเป็นเจ้าภาพจัดประชุมเอเปค จะเห็นว่าจีนให้ความสำคัญเรื่องการอำนวยความสะดวกในด้านการค้าการลงทุน โดยเฉพาะการจัดตั้งเขตการค้าเสรี FTAAP ในเอเชียแปซิฟิก ที่จีนหวังให้เกิดการรวมตัว  นอกจากนี้ จีนให้ความสำคัญเรื่องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล นวัตกรรม อีคอมเมิร์ซ  เพราะเป็นอนาคตของการค้าในภูมิภาค และการผลักดันเศรษฐกิจสีเขียว การใช้พลังงานสะอาด ที่จีนเป็นผู้นำเทคโนโลยีด้านนี้และมีบทบาทเรื่องนี้อย่างมาก  รวมทั้งการเชื่อมโยงเรื่องกฎระเบียบ กติกา มาตรฐาน หลักการต่างๆ การเปิดกว้างการค้าเสรี ในมิติต่างๆ

สอดคล้องกับที่ดร. ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร  รองประธานหอการค้าไทยในจีนให้ความเห็นว่า จีนให้ความสำคัญกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก (เอเปค) อย่างมาก เพราะเอเปคมีความหมายต่อของการพัฒนาของจีนในระยะยาว  การประชุมเอเปคครั้งนี้จัดขึ้นที่ประเทศไทย ที่เป็นมิตรประเทศสำคัญของจีน  และการที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนเดินทางมาร่วมประชุมเอเปค เป็นการเยือนประเทศไทยครั้งแรกนับตั้งแต่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 20 เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา  ถือเป็นการแสดงจุดยืนอย่างชัดเจน ว่าจีนให้ความสำคัญกับเอเปคอย่างมากและสนับสนุนการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยมาโดยตลอด

การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในปีนี้  จีนยังคงมีบทบาทอย่างสร้างสรรค์ในการร่วมหารือเรื่องการพัฒนา ทิศทางความร่วมมือ กับผู้นำเขตเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต่อไป


บทความ : ประวีณมัย บ่ายคล้อย

ขอบคุณภาพ : CGTN

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)