“ความทันสมัยแบบจีน” ในสายตาของผู้เชี่ยวชาญ

2022-12-09 14:23:09 | CMG
Share with:

ตอนที่ 2 นัยยะและความหมายเชิงยุกสมัยของความทันสมัยแบบจีน

โดย ศ.อี๋ว์ เหมี่ยวเจี๋ย (Yu Miaojie)

อธิการบดีมหาวิทยาลัยเหลียวหนิง

ศาสตราจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยปักกิ่ง

กรรมการคณะกรรมการที่ปรึกษานโยบายเศรษฐกิจและการค้า กระทรวงพาณิชย์จีน

การประชุม “สมัชชา 20” ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีมติว่า นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ภารกิจหลักของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คือ สามัคคีนำประชาชนทุกชนเผ่าทั่วประเทศสร้างประเทศให้เป็นประเทศสังคมนิยมที่มีความเข้มแข็งเกรียงไกรและมีความทันสมัยทุกด้าน บรรลุเป้าหมายการต่อสู้ร้อยปีที่ 2 สร้างความทันสมัยแบบจีนเพื่อเดินหน้าสร้างความเจริญรุ่งเรืองครั้งใหม่ของประชาชาติจีน

จะเข้าใจเค้าโครงที่ยิ่งใหญ่ดังกล่าวอย่างไร?

ปัจจุบัน โลกกำลังเผชิญกับสถานการณ์ผันผวนอย่างไม่เคยมีมาก่อนในรอบศตวรรษ ทั้งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา อันเป็นเหตุให้เศรษฐกิจโลกตกต่ำ ภายใต้สภาพเช่นนี้ การสร้างความทันสมัยแบบจีน ประการแรกก็คือ สร้างความทันสมัยทางเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากจีนเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดของโลก ขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ซึ่งเป็นปัจจัยชี้ขาดว่า ความทันสมัยแบบจีนจะเป็นความทันสมัยทางเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ และเป็น “ความทันสมัยที่มีจำนวนประชากรมหาศาล”

ประการที่ 2 ความทันสมัยแบบจีนเป็นความทันสมัยที่ปวงประชามีความมั่งคั่งด้วยกัน ซึ่งต้องการระบบการแบ่งปันที่ถูกต้องเป็นอย่างยิ่ง ด้านหนึ่งควรส่งเสริมคนกลุ่มหนึ่งร่ำรวยขึ้นก่อน ทำมากได้มาก สร้างความมั่งคั่งด้วยความขยันหมั่นเพียร อีกด้านหนึ่งซึ่งมีความสำคัญกว่าคือ ควรสร้างความเป็นธรรมด้านโอกาส หากไม่ใช่ความเป็นธรรมด้านผลพวง สิ่งสำคัญในปัจจุบันคือ ควรปรับกลไกให้มีความสมเหตุสมผล ให้ผู้คนอีกจำนวนมากมีโอกาสสร้างความมั่งคั่งขึ้นมา ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้สูงขึ้นและเข้าถึงโอกาสการพัฒนาด้วยกันมากขึ้นกว่าเดิม

ประการที่ 3 ความทันสมัยแบบจีนเป็นความทันสมัยที่อารยธรรมทางวัตถุกับจิตใจมีความประสานกลมกลืนกัน การพัฒนาเศรษฐกิจจีนยึดหลักประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยแท้ก็คือ ต้องสะสางปัญหาต่าง ๆ เพื่อสร้างความสมดุลและความเต็มอัตรา ลดความเหลื่อมล้ำด้วยมาตรการต่าง ๆ เช่น การสร้างสถานีวัฒนธรรม การเดินรถสัญจรทางวัฒนธรรมในพื้นที่ชนบททั่วประเทศจีน

ประการที่ 4 ความทันสมัยแบบจีนเป็นความทันสมัยที่ให้มนุษย์และธรรมชาติอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน จีนบัญญัติคำว่า “อารยธรรมทางระบบนิเวศน์” ไว้ในรัฐธรรมนูญ  และคำว่า "เสริมสร้างจิตสำนึกน้ำใสเขาเขียวเป็นภูเขาเงินภูเขาทอง" ไว้ในธรรมนูญของพรรคคอมมิวนิสต์จีนด้วย  จีนให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม   เน้นการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ   ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาการพัฒนาที่ไม่เต็มที่   จีนไม่ใช่เน้นเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจหรือการพัฒนาสังคมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนระหว่างมนุษย์และธรรมชาติด้วย

ประการที่ 5   ความทันสมัยแบบจีนเป็นความทันสมัยที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งการพัฒนาอย่างสันติ   ความทันสมัยแบบจีนไม่ใช่ผลักภัยพิบัติและความยากลำบากให้ประเทศเพื่อนบ้านแบกรับ  และยิ่งไม่ใช่เน้นเฉพาะการพัฒนาของจีนเท่านั้น   แต่เป็นความทันสมัยที่จะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจทั่วโลกโดยผ่านการพัฒนาของจีน    ช่วง 40 กว่าปีนับตั้งแต่จีนดำเนินนโยบายการปฏิรูปและเปิดประเทศเป็นต้นมา  จีนได้กลายเป็นคู่ค้ารายใหญ่ของกว่า 140 ประเทศและภูมิภาค  อัตราส่วนในการสนับสนุนเศรษฐกิจโลกก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน  ทั้งนี้ล้วนแสดงให้เห็นว่า การพัฒนาของจีนที่เป็นประโยชน์ต่อทั่วโลก

ความทันสมัยแบบจีนมีความหมายสำคัญยิ่งต่อทั้งจีนและโลกในปัจจุบัน  ด้านหนึ่ง ความทันสมัยแบบจีนสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างความต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนกับการพัฒนาที่ไม่สมดุลและไม่เต็มที่ที่จีนกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้โดยสิ้นเชิง     และอีกด้านหนึ่ง ยังทำให้เศรษฐกิจจีนได้กลายเป็นหัวรถจักรที่ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของโลกด้วย  

ความทันสมัยแบบจีนจะส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อวิวัฒนาการของประวัติศาสตร์โลก และเป็นแผนการพัฒนาของจีนที่มีส่วนช่วยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโลก   กาแฟจากเคนยา มะม่วงจากฟิลิปปินส์ นมวัวจากยุโรป และผลิตผลการเกษตรสีเขียวจากโอเชียเนีย ได้รับความนิยมมากจากผู้บริโภคชาวจีน  นี่เป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจมหาศาลให้แก่เกษตรกรและบริษัทในประเทศเหล่านี้   ประชากร 1.4 พันล้านคนของจีนจะเข้าสู่สังคมความทันสมัย   นี่นับเป็นเหตุการณ์สำคัญยิ่งที่จะก่อเกิดผลประโยชน์อย่างลึกซึ้งและยาวไกลต่อประวัติศาสตร์แห่งมนุษยชาติ 


(Yim/CAI/LING/SUN)

  • เสียงข่าวประจำวัน (21-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (21-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (21-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (20-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (20-11-2567)