บทวิเคราะห์ : รัฐบาลญี่ปุ่นไร้ความรับผิดชอบ เตรียมปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีลงสู่ทะเล

2023-04-03 10:52:02 | CMG
Share with:

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่หน้าสำนักงานใหญ่บริษัทไฟฟ้าโตเกียว  และสำนักนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ประชาชนญี่ปุ่นจำนวนมากมารวมตัวประท้วงรัฐบาลที่เตรียมปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีลงสู่ทะเล    ผู้ชุมนุมประท้วงแสดงความคิดเห็นว่า  การปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีลงสู่มหาสมุทรนั้นเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย  

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลญี่ปุ่นกลับเพิกเฉยต่อความเห็นทางวิชาการขององค์การระหว่างประเทศ และเสียงคัดค้านทั้งในและต่างประเทศ  โดยเร่งดำเนินการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้อง และย้ำว่า จะไม่เปลี่ยนแผนปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีลงสู่มหาสมุทรในฤดูใบไม้ผลิหรือฤดูร้อนนี้  แผนดังกล่าวของญี่ปุ่นมองข้ามสิ่งแวดล้อมทางทะเลและสุขภาพของประชาชนทั่วโลก จึงเป็นการกระทำที่ขาดความรับผิดชอบอย่างยิ่ง 

มีรายงานเปิดเผยว่า การดำเนินการตามแผนปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีของญี่ปุ่นอาจต้องใช้เวลานานถึง 30 ปี อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ ญี่ปุ่นยังไม่ได้ให้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์และข้อเท็จจริงที่เพียงพอในการสนับสนุนความถูกต้องของแผนดังกล่าวและยังไม่ได้ให้คำตอบต่อข้อห่วงกังวลของประชาคมระหว่างประเทศเกี่ยวกับความชอบธรรมของแผนปล่อยน้ำปนเปื้อน  ความน่าเชื่อถือของข้อมูล และประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่ใช้ในการกำจัดน้ำปนเปื้อน  ตลอดจนความไม่แน่นอนของผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม  

บริษัทไฟฟ้าโตเกียวที่เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินแผนดังกล่าวมีประวัติฉาวโฉ่เกี่ยวกับการปกปิดความจริง และบิดเบือนข้อมูล ในช่วงต้นเดือนเมษายนและพฤษภาคมปี 2011 นอกจากนี้ ยังเคยปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีบางส่วนลงสู่มหาสมุทร การกระทำดังกล่าวทำให้ญี่ปุ่นขาดความน่าเชื่อถือมานานแล้ว  

สิ่งแวดล้อมทางทะเลมีส่วนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประชาชนประเทศต่างๆ ทั่วโลก การปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีลงสู่มหาสมุทรจึงไม่ใช่กิจการภายในประเทศของญี่ปุ่นเอง  หลังจากญี่ปุ่นประกาศแผนดังกล่าว  หลายๆประเทศ รวมถึงจีน เกาหลีใต้ รัสเซีย ฟิลิปปินส์ และองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องต่างได้ออกมาแสดงความกังวลต่อแผนปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีของญี่ปุ่น 

รัฐบาลญี่ปุ่นและบริษัทไฟฟ้าโตเกียวเคยให้คำมั่นว่า จะไม่ปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีลงสู่มหาสมุทรจนกว่าฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะมีความมั่นใจ  แต่ขณะนี้ ญี่ปุ่นกลับไม่ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาของตน  และยืนกรานจะปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีลงสู่มหาสมุทร 

ญี่ปุ่นเป็นภาคีของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเล อนุสัญญาว่าด้วยการแจ้งอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์โดยเร็ว   อนุสัญญาว่าด้วยความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ และอนุสัญญาว่าด้วยความปลอดภัยในการจัดการเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วและความปลอดภัยในการจัดการกากกัมมันตรังสี   ดังนั้น  การเดินหน้าแผนปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีลงสู่มหาสมุทรนั้นจึงเป็นการกระทำที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง  

ขณะนี้ ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศยังไม่เสร็จสิ้นกระบวนการประเมินแผนปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีของญี่ปุ่น   ยิ่งไม่ต้องพูดถึงข้อสรุปอย่างเป็นรูปธรรม  จนถึงขณะนี้  ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศได้เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ 3 ฉบับโดยชี้ให้เห็นว่า แผนปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีของญี่ปุ่นยังไม่เข้าขั้นมาตรฐานความปลอดภัย และได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับปรุงแผนกำจัดน้ำเสียที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี

การกำจัดน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีของญี่ปุ่นต้องใช้เวลานาน และยังมีปัจจัยที่ไม่แน่นอนหลายประการ  ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่นจึงต้องเปิดให้องค์การระหว่างประเทศกำกับดูแลกระบวนการกำจัดน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีอย่างใกล้ชิดและมีประสิทธิภาพ หากญี่ปุ่นยืนกรานที่จะปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีลงสู่มหาสมุทรโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  ญี่ปุ่นก็จะไม่มีวันได้รับความไว้วางใจจากประชาคมระหว่างประเทศ

ญี่ปุ่นต้องคำนึงถึงข้อกังวลที่สมเหตุสมผลของทุกฝ่าย ปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศอย่างแท้จริง ต้องปรึกษาหารือและคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแก่ฝ่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ยังต้องกำจัดน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ที่เปิดเผย โปร่งใส และปลอดภัย เพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเลและสุขภาพของประชาชนทุกประเทศอย่างแท้จริง   ญี่ปุ่นต้องไม่ปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีลงสู่มหาสมุทรก่อนที่จะบรรลุฉันทามติผ่านการปรึกษาหารืออย่างเต็มที่กับประเทศเพื่อนบ้าน หน่วยงานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และฝ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง


(in/cai)

  • เสียงข่าวประจำวัน (16-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (16-05-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (16-05-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-05-2567)