บทวิเคราะห์ : วันคุ้มครองโลก มหาสมุทรแปซิฟิกไม่ควรกลายเป็นถังขยะของญี่ปุ่น

2023-04-23 14:59:46 | CMG
Share with:

วันที่ 22 เมษายน เป็นวันคุ้มครองโลก (Earth Day) และเป็นวันกฎหมายโลก กลุ่มเอกชนและกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องที่ต่างๆ ของโลกพากันจัดงานประท้วงการที่รัฐบาลญี่ปุ่นวางแผนปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในฟุกุชิมะลงสู่ทะเล เมื่อเร็วๆ นี้ องค์การสีเขียวและสันติภาพก็ได้ออกบทความประณามว่าการยินยอมที่จะปล่อยน้ำปนเปื้อนฯ ลงสู่ทะเลของรัฐบาลญี่ปุ่นนั้น ฝ่าฝืนกับกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น “กติกาสัญญากฎหมายว่าด้วยท้องทะเลแห่งสหประชาชาติ” เป็นต้น และชี้ว่าฝ่ายญี่ปุ่นไม่ได้ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ระหว่างประเทศ คือไม่มีการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  

ภายใต้เสียงคัดค้านจากประชาคมโลก รัฐบาลญี่ปุ่นยังคงมุ่งผลักดันแผนการปล่อยน้ำปนเปื้อนฯ ลงสู่ทะเลภายใต้สภาพที่องค์กรพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศยังไม่ได้ประกาศรายงานประเมินผล วันที่ 20 เมษายน รัฐมนตรีว่าการกระทวงอุตสาหกรรมญี่ปุ่นกล่าวเน้นว่าจะเริ่มต้นการปล่อยน้ำปนเปื้อนลงทะเลในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนปีนี้ 

วันที่ 23 เมษายน นายอำเภอฟุกุชิมะจะเดินทางเยือนยุโรป โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะใช้วิธีต่างๆ เช่น การประชาสัมพันธ์และล็อบบี้ เป็นต้น เพื่อขอรับการสนับสนุนจากกลุ่มจี 7 ที่มีต่อแผนการปล่อยน้ำปนเปื้อนลงทะเล 

หัวข้อของวันคุ้มครองโลกในปีนี้คือ  “ลงทุนในโลกของเรา” เว็บไซต์สหประชาชาติออกบทความขอร้องให้ทั่วโลกสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและสุขภาพ การปล่อยน้ำปนเปื้อนฯ นั้น ไม่ใช่เรื่องของญี่ปุ่นเพียงประเทศเดียว แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนของมวลมนุษย์ มหาสมุทรแปซิฟิกไม่ใช่ถังขยะของญี่ปุ่น แต่เป็นทรัพยากรสาธารณะที่หลายประเทศพึ่งพาอาศัยในการดำรงชีวิต ฝ่ายญี่ปุ่นควรพิจารณาจากมุมมองทางวิทยาศาสตร์ ใช้วิธีที่ปลอดภัยจริงในการจัดการกับน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสี

  • เสียงข่าวประจำวัน (02-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (02-05-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (02-05-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (01-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (01-05-2567)