ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”ขับเคลื่อนการพัฒนาสิทธิมนุษยชนในระดับโลก

2023-12-14 08:55:33 | CMG
Share with:

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญในประวัติศาสตร์สิทธิมนุษยชนได้ประกาศและมีผลบังคับใช้มาเป็นเวลา 75 ปีแล้ว แต่ปัจจุบัน  สิทธิมนุษยชนและการพัฒนาของโลกยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายในประเด็นปัญหาที่ยืดเยื้อและน่ากังวลต่างๆ  เช่น ความหิวโหย สงคราม มลพิษทางสิ่งแวดล้อม และความเหลื่อมล้ำในการพัฒนา 

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางที่จีนเสนอได้กลายเป็นเวทีความร่วมมือระดับโลก และเป็นเส้นทางที่นำไปสู่ความผาสุก  โดยช่วยเหลือประเทศหุ้นส่วนในการส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น จึงได้รับความนิยมอย่างสูงจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก

ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”ตอบสนองความต้องการในทางปฏิบัติของประชาคมระหว่างประเทศในการ“ส่งเสริมการพัฒนาผ่านความร่วมมือและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนผ่านการพัฒนา”  

นับตั้งแต่จีนเสนอข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”ที่ดำเนินงานบนพื้นฐานความร่วมมืออย่างสันติและได้ผลประโยชน์ร่วมกันเมื่อปี 2013 เป็นต้นมา  ได้ดึงดูดประเทศต่างๆ ทั่วโลกมากกว่า 3 ใน 4 และองค์การระหว่างประเทศกว่า 30 องค์การมามีส่วนร่วมในโครงการนี้  

ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”มีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมสิทธิในการมีชีวิต การอยู่รอดและการพัฒนา ซึ่งเป็นสิทธิที่มีความสำคัญยิ่งและจำเป็นอย่างเร่งด่วนสำหรับประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีสัดส่วนประชากรมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก 

ข้อริเริ่ม“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”ได้สร้างคุณูปการสำคัญในการคุ้มครองสิทธิการมีชีวิตและสิทธิการอยู่รอดของทั่วโลก โดยผ่านการดำเนินโครงการความร่วมมือต่างๆ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศหุ้นส่วน สร้างงานและเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนของประเทศเหล่านี้ ทำให้พวกเขามีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่และการรักษาพยาบาลที่ดีขึ้น   เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการเกษตรของจีนได้ช่วยประเทศบุรุนดีขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าว เพื่อทำให้ประเทศดังกล่าวมีอาหารเพียงพอสำหรับคนในท้องถิ่น    และที่ประเทศเซเนกัล  โครงการเจาะบ่อน้ำบาดาลที่ได้รับทุนสนับสนุนจากจีนได้ตอบสนองความต้องการน้ำดื่มของประชากรหนึ่งในเจ็ดของประเทศนี้  ทั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”ในการแก้ไขปัญหาความหิวโหย  ปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่ม และปัญหาระดับโลกอื่นๆ  

ด้านการบรรเทาความยากจน  รายงานการวิจัยของธนาคารโลกระบุว่าโครงการความร่วมมือ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” จะช่วยให้ประชากร 7.6 ล้านคนในประเทศหุ้นส่วนหลุดพ้นจากความยากจนขั้นรุนแรง และประชากร 32 ล้านคนหลุดพ้นจากความยากจนระดับปานกลางภายในปี   2030

การดำเนินความร่วมมือ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ยังทำให้บริการทางการแพทย์ในประเทศหุ้นส่วนได้รับการยกระดับอย่างมีนัยสำคัญ ดังที่เห็นได้จากโครงการความร่วมมือต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงโครงการก่อสร้างสำนักงานใหญ่ของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งแอฟริกาที่ได้รับความช่วยเหลือจากจีน สำนักงานใหญ่แห่งนี้เป็นศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งแรกในทวีปแอฟริกาที่มีการติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกและห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย

ในขณะเดียวกัน สิทธิในการทำงานของประชาชนในประเทศหุ้นส่วน  ก็ได้รับการคุ้มครองผ่านความร่วมมือ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เช่น โครงการความร่วมมือ“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”ช่วยให้โรงงานเหล็กและเหล็กกล้าสเมเดเรโว (Smederevo) ในประเทศเซอร์เบียพ้นจากวิกฤตการล้มละลาย รถไฟจีน-ลาวเริ่มเปิดบริการอย่างเป็นทางการ ซึ่งล้วนได้สร้างงานจำนวนมากให้กับคนในท้องถิ่น 

การศึกษาซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอีกประการหนึ่งก็ได้รับการส่งเสริมผ่านความร่วมมือ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เช่นกัน ตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา จีนได้จัดตั้งหลู่ปัน เวิร์กชอบ (Luban Workshops) ขึ้นในประเทศหุ้นส่วนกว่า 20 ประเทศในเอเชีย แอฟริกา และยุโรป โดยจัดทำโครงการและหลักสูตรฝึกอบรมด้านต่างๆ เช่น หุ่นยนต์อุตสาหกรรม พลังงานใหม่ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง จนถึงขณะนี้หลู่ปัน เวิร์กชอป  ได้ฝึกอบรมบุคลากรมากกว่า 12,000 คน 

สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีก็มีการให้ความสำคัญเช่นกัน โดยข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”เน้นการพัฒนาสีเขียวและความร่วมมือทางนิเวศวิทยา  โครงการต่างๆ เช่น รถไฟมาตรฐานมอมบาซา-ไนโรบี ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”เน้นย้ำถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และให้คำมั่นสัญญาว่าจะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และระบบนิเวศอย่างกลมกลืนกัน     

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา จีนและประเทศหุ้นส่วนได้ดำเนินความร่วมมือด้านนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมภายใต้กรอบ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เช่น จีนได้เสนอข้อริเริ่มความร่วมมือด้านการพัฒนาสีเขียว “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”กับประเทศหุ้นส่วน 31 ประเทศ และดำเนินความร่วมมือด้านพลังงาน “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”กับประเทศหุ้นส่วน 32 ประเทศ  นอกจากนี้ โครงการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมได้ฝึกอบรมบุคลากรมากกว่า 3,000 คนจากประเทศหุ้นส่วนมากกว่า 120 ประเทศ

สรุปได้ว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ข้อริเริ่ม“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสิทธิมนุษยชนระดับโลก ประชาชนประเทศต่างๆ ทั่วโลกคาดหวังว่า ในช่วง 10 ปีข้างหน้า จีนจะสร้างคุณูปการใหม่ๆ มากขึ้น เพื่อสร้างสรรค์โลกให้ดียิ่งขึ้น  และช่วยคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนประเทศต่างๆ มากขึ้น  เพื่อบรรลุการพัฒนาแบบครบวงจรในระดับที่สูงขึ้น     


(IN/cai)

 

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)