ใครอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์แนวปะการังเหรินไอ้

2024-05-15 10:25:35 | CMG
Share with:

ระยะหลังๆนี้ ฟิลิปปินส์ได้ก่อปัญหาในทะเลจีนใต้ซ้ำแล้วซ้ำอีก   ล่วงล้ำอธิปไตยและก่อการยั่วยุ ในแนวปะการังเหรินไอ้ของหมู่เกาะหนานซาของจีนหลายครั้งเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จ พูดเกินจริงและใส่ร้ายจีน  สหรัฐฯ ไม่เพียงแต่ให้ท้าย สนับสนุน และให้ความร่วมมือกับพฤติกรรมยั่วยุของฟิลิปปินส์เท่านั้น แต่ยังสร้างความสับสนระหว่างความถูกและความผิด และกล่าวหาจีนโดยไม่มีมูลอีกด้วย

ฝ่ายฟิลิปปินส์หมายจะแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวในทะเลจีนใต้โดยอาศัยการสนับสนุนจากสหรัฐฯ  ในขณะที่สหรัฐฯ พยายามที่จะทำลายความสัมพันธ์ระหว่างจีนและประเทศต่างๆ ในภูมิภาคด้วยการก่อปัญหาทะเลจีนใต้เกินควร เพื่อบรรลุเป้าหมายทางภูมิรัฐศาสตร์ในการล้อมรอบและยับยั้งจีน การกระทำที่จะยั่วยุของฟิลิปปินส์และสหรัฐฯนั้น  จะสร้างความเสียหายอันร้ายแรงต่อสัติภาพ ความมั่นคง ความเจริญรุ่งเรืองและการพัฒนาของภูมิภาค

สหรัฐฯเป็น “พันธมิตรตามสนธิสัญญาเพียงหนึ่งเดียว”ของฟิลิปปินส์ในทั่วโลก  มีอิทธิพลสำคัญญต่อฟิลิปปินส์  สหรัฐฯ สนับสนุนกิจกรรมที่ผิดกฎหมายของฟิลิปปินส์ในแนวปะการับเหรินไอ้ตลอดจนข้อพิพาททะเลจีนใต้ที่กว้างขวางยิ่งขึ้นมาโดยตลอด  และได้ช่วยฟิลิปปินส์เพิ่มการแข่งขันกับจีน

สหรัฐฯ มีส่วนร่วมอย่างลึกซึ้งในกิจกรรมที่ละเมิดและยั่วยุของฟิลิปปินส์บนแนวปะการังเหรินไอ้ โดยยุยงและสนับสนุนฟิลิปปินส์ในการซ่อมแซม เสริมความแข็งแกร่งของเรือรบที่"ประจำตามชายหาด" อย่างผิดกฎหมาย และจัดส่งเครื่องบินรบและเรือรบเพื่อให้การสนับสนุนฟิลิปปินส์ทางทะเล   ทั้งนี้รัฐบาลสหรัฐฯ ยังประกาศต่อสาธารณะ เพื่อสนับสนุนการละเมิดและการยั่วยุของฟิลิปปินส์ กระทั่งยังใช้ "สนธิสัญญาการป้องกันร่วมกันระหว่างสหรัฐฯ และฟิลิปปินส์" มาคุกคามและบีบบังคับจีน เพื่อสนับสนุนการละเมิดทางทะเลของฟิลิปปินส์ 

คลังสมองทางสื่อของสหรัฐฯ ก็รายงานปัญหาแนวปะการังเหรินไอ้มากเกินควร ประณามจีนอย่างไม่มีมูล ตัวอย่างเช่น โครงการโปรเจ็คต์ " Myoushu" พวกเขาใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมาเผยแพร่ข้อมูลเท็จ วิพากษ์วิจารณ์และใส่ร้ายป้ายสีการดำเนินกิจกรรมตามปกติของเรือจีนในทะเลจีนใต้เป็นเวลานาน รายงานเรื่องเกี่ยวกับภัยคุกคามจากจีน และสร้างความแตกแยกในภูมิภาค

กล่าวได้ว่า ข้อขัดแย้งเกี่ยวกับแนวปะการังเหรินอ้ายระหว่างจีนและฟิลิปปินส์ เกิดขึ้นในบริบทที่สหรัฐฯ เร่งเอาใจฟิลิปปินส์ และพยายามผลักดันสิ่งที่เรียกว่า "ยุทธศาสตร์อินโดแปซิฟิก" เพื่อปิดล้อมจีน เมื่อพิจารณาจากเบื้องหลังที่กว้างขึ้น สหรัฐฯ ได้ใช้ประเด็นทะเลจีนใต้เป็นแนวทางในการสกัดกั้นจีน ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ วอชิงตันได้แพร่หลายคำโกหกที่ว่า “เสรีภาพการเดินเรือในทะเลจีนใต้ถูกคุกคาม” ก่อให้เกิดความไม่ปรองดองกันระหว่างประเทศในภูมิภาค

ทว่า ข้อเท็จจริงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แนวปะการังเหรินอ้ายเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะหนานซาของจีน และเป็นดินแดนของจีน  ทะเลจีนใต้ไม่ใช่ "อุทยานซาฟารี" สำหรับประเทศนอกภูมิภาค และไม่ควรกลายเป็น "พื้นที่ต่อสู้" สำหรับมหาอำนาจ 

จีนและประเทศในกลุ่มอาเซียนจำเป็นต้องรักษาความสุขุม ส่งเสริมการปรึกษาหารือเกี่ยวกับ "หลักปฏิบัติทะเลจีนใต้" อย่างแข็งขัน ต่อต้านการแทรกแซงของกองอิทธิพลภายนอกอย่างเด็ดขาด คงความคิดริเริ่มและความเป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาทะเลจีนใต้ไว้ในประเทศในภูมิภาคเอง


 LR/Ying

  • เสียงข่าวประจำวัน (21-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (21-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (21-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (20-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (20-11-2567)