ส่งเสริมให้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึมลึกเข้าสู่ชนบทโดยตรง -- เส้นทางสี จิ้นผิง (131)

2024-11-21 07:59:17 | CMG
Share with:

เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1998 คณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนและเมืองหนานผิงได้จัดให้มีการสำรวจข้อมูลเพื่อประกอบการวิจัยครั้งใหญ่โดยระดมกำลังเจ้าหน้าที่นับพันคนอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนตามคำแนะนำของนายสี จิ้นผิง โดยเจ้าหน้าที่เกือบ 1,000 คนภายใต้การนำของผู้นำ"สี่องค์กร"("สี่องค์กร" หมายถึงคณะกรรมการพรรคฯ สภาผู้แทนประชาชน รัฐบาล และสภาปรึกษาการเมือง)ของเมืองหนานผิงได้เดินทางไปยังหมู่บ้านและครัวเรือนต่างๆ เพื่อแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหา " 3 เกษตร"

นายพัน เจี้ยนไฉ ได้ติดตามนายหลี่ ชวน ซึ่งขณะนั้นเป็นรองเลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์และนายกเทศมนตรีเมืองหนานผิงไปประจำอยู่ที่หมู่บ้านซีโฮ่ว ตำบลหวังไถ เขตเหยียนผิง เพื่อการสำรวจโดยใช้เวลาสามวันสามคืน

“ไม่นานก่อนที่เราจะไป สหายสี จิ้นผิงก็ได้ไปสำรวจเพื่อประกอบการวิจัย โดยหมู่บ้านซีโฮ่วก็เป็นหนึ่งในจุดแวะพัก ก็คือที่นั่นแหละท่านได้กล่าวถึงประเด็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร” นายพัน เจี้ยนไฉ กล่าว

พวกเขาอยากรู้จริงๆ ว่าอะไรที่โดนใจนายสี จิ้นผิง

หมู่บ้านซีโฮ่วมีภูเขาที่สวยงามและสายน้ำที่ใสสะอาด และอุดมไปด้วยทรัพยากรภูเขาและป่าไม้ แต่โครงสร้างอุตสาหกรรมการเกษตรนั้นเรียบง่าย นอกจากธัญพืชแล้วก็คือผลไม้บางชนิดเท่านั้น

บนภูเขาที่ปลูกส้มแห่งหนึ่ง เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ร่วมเดินทางในครั้งนี้ได้สนทนากับนายเว่ย เจิ้งกุย ผู้เป็นชาวไร่รายใหญ่------

“ส้มขายดีไหม?”

"มันขายยากจริงๆ!"

"ทำไม?"

“คุณภาพไม่ดี ทั้งเปรี้ยวและแข็ง หากหล่นจากต้นมาโดนหัวอาจทำให้หัวแตกได้”

“ไม่มีใครแนะนำคุณเหรอ?”

“หัวหน้าสถานีเทคโนโลยีการเกษตรไม่ได้มาบ่อย พอมาสิ่งที่เขาพูดพวกเราก็ไม่เข้าใจและจำไม่ได้เป็นส่วนใหญ่ ผมได้ซื้อหนังสือมาเล่มหนึ่งชื่อ‘เทคโนโลยีการเพาะปลูกส้ม’เพื่อศึกษาด้วยตนเอง”

เมื่อเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อ่านก็พบว่าเป็นหนังสือเก่าที่เรียบเรียงโดยคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของอีกมณฑลหนึ่ง “สภาพอากาศที่นั่นแตกต่างจากของเรามาก ย่อมใช้ไม่ได้แน่นอนหากทำการเพาะปลูกตามหนังสื่อเล่มนี้” นายเว่ย เจิ้งกุยจึงตาสว่างในบัดดล!

ผลไม้คุณภาพต่ำทำให้ขายยากแม้ราคาถูกมาก รายได้ของชาวบ้านก็ลดลงต่อเนื่องทุกปี ซึ่งเป็นเรื่องน่ากังวล

คำบรรยายภาพ : ช่วงบ่ายของวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ.2021 นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน โบกมือทักทายนักท่องเที่ยวระหว่างการตรวจเยี่ยมสวนจูซี ในเมืองอู่อี๋ซาน มณฑลฝูเจี้ยน (ภาพโดยสำนักข่าวซินหัว)

เมื่อการสำรวจลงลึกยิ่งขึ้น ปัญหาที่พบนั้นร้ายแรงกว่าที่คิดไว้มาก! หลังจากประสบอุทกภัย ชาวบ้านที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างธัญพืชและเศรษฐกิจต่างมีความปรารถนาที่จะก้าวสู่ความมั่งคังอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน และมีความต้องการที่จะใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ในเวลานั้น เครือข่ายส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรกลับอยู่ในสภาวะที่ "สายขาด เครือข่ายพัง คนแยกย้าย”

“ในเวลานั้น 'เจ็ดสำนักแปดสถานี' (มีความหมายกว้างๆ ซึ่งหมายถึงสำนักงานประจำตำบลหรือหมู่บ้านที่ส่งไปโดยหน่วยงานระดับอำเภอ เช่น สถานีเครื่องจักรกลการเกษตร สถานีเทคโนโลยีการเกษตร สำนักงานกำกับดูแลที่ดิน สถานีตำรวจ สำนักงานบริหารจัดการที่อยู่อาศัย และสถานีอนามัย ฯลฯ)ระดับรากหญ้าในพื้นที่ชนบทกำลังเผชิญกับการปฏิรูปองค์กร เจ้าหน้าที่จำนวนไม่น้อยหาทางออกด้วยตนเอง ทำให้พลังส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่เพียงพอ แถมยังมีบางคนทุ่มแรงกายแรงใจไปที่การขอตำแหน่งทางวิชาการและการเขียนวิทยานิพนธ์โดยไม่ได้ให้ความสนใจกับการส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรเลย จึงไม่น่าแปลกที่ชาวบ้านบ่นว่าพวกเขาไม่เห็นเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีการเกษตรมาระยะหนึ่งแล้ว” นายพัน เจี้ยนไฉ กล่าว

หลังระดมเจ้าหน้าที่นับพันคนออกสำรวจ ได้มีการวิเคราะห์เชิงลึกโดยประมวลข้อมูลที่ได้รับจากกลุ่มสำรวจและวิจัยต่างๆ เมืองหนานผิงพบว่า “ปม”ที่เชื่อมต่อกัน 5 ประการจำกัดการพัฒนา “3 เกษตร” ได้แก่ บริการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ล้าหลัง การลงทุนด้านการเกษตรที่อ่อนพลัง เกษตรกรที่ปรับตัวเข้ากับตลาดได้ยาก ระบบผู้นำที่ขาดช่วง และความต้องการของเกษตรกรต่อระบอบประชาธิปไตยและระบบกฎหมายไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง

เป็นที่น่าสังเกตว่าการสำรวจครั้งนี้ยังได้ "อุ้ม" "ทฤษฎีลูกบอล " กลับมาจากเกษตรกรด้วย------"วิธีแนะนำการทำงานของพวกคุณก็เหมือนกับการขว้างลูกบอลลงน้ำ เวลาพวกคุณดูมันจากฝั่ง ลูกบอลอยู่ในน้ำ แต่เมื่อพวกเรามองจากด้านล่าง ลูกบอลก็ยังลอยอยู่บนผิวน้ำ ไม่ได้จมลงแต่อย่างใด”

หลังการอภิปรายกันครั้งใหญ่ เมืองหนานผิงได้บรรลุฉันทามติว่า การขาดแคลนพลังทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของระดับรากหญ้าในชนบทและการขาดบริการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้นำไปสู่ความล้าหลังด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชนบททางเหนือของฝูเจี้ยน และความล้าหลังทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้นำไปสู่คุณภาพที่ไม่ดี ผลผลิตทางการเกษตรต่ำและการล้นเกินเชิงโครงสร้างของสินค้าเกษตร ภายใต้เงื่อนไขของเศรษฐกิจแบบตลาดเกษตรกรยากที่จะปรับตัวเข้ากับการพัฒนาอุตสาหกรรมการเพาะปลูกและการเพาะพันธุ์สมัยใหม่ได้ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องยากที่จะส่งเสริมการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมการเกษตรและกระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร

จาก "ปม" ทั้งห้านั้นเห็นได้ชัดเจนว่าควรแก้อันไหนก่อน!

จำเป็นต้องดำเนินการตามคำแนะนำที่นายสี จิ้นผิง ให้ในระหว่างการตรวจเยี่ยมเมืองหนานผิง คือส่งเสริมให้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึมลึกเข้าสู่ชนบทโดยตรงเป็นมาตรการนำ จัดส่งสหายที่มีความรู้ ความสามารถ และมีคุณภาพสูงจำนวนหนึ่งเข้าสู่องค์กรระดับรากหญ้าให้เพียงพอ


IN/LU

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)