มุมมองของนางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ต่อเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน
  2011-03-28 13:30:15  cri

สำหรับประเทศไทย นักลงทุนจีนได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยเพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2551 การลงทุนจากจีนมีมูลค่า 1,505 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็น 43,189 ล้านบาทในปี 2552

อย่างไรก็ดี ในปีที่ผ่านมาการลงทุนจากจีนลดลงเหลือ 10,698 ล้านบาท ซึ่งอาจเป็นผลสืบเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและการเมืองของไทยในช่วงที่ผ่านมา แต่ ตัวเลขการลงทุนดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า จริงๆ แล้วจีนให้ความสนใจที่จะมาลงทุนในไทยเป็นอย่างมาก โดยหลังวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2552 ปริมาณการลงทุนจากจีนในไทยได้เพิ่มสูงขึ้นเกือบ 3 เท่าตัว ในขณะที่ตัวเลขการลงทุนของนักลงทุนไทยในจีนยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งดิฉันมองว่าศักยภาพโอกาสของนักลงทุนไทยในตลาดจีนมีสูงมาก จึงอยากจะใช้โอกาสนี้กระตุ้นนักลงทุนและผู้ประกอบการให้หันมาให้ความสนใจกับตลาดจีนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีความตกลงอาเซียน-จีน เราควรใช้ความตกลงดังกล่าวเป็นแต้มต่อในการเข้าสู่ตลาดจีน

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับจีน เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-จีน รวมทั้งไทย-จีนมีความเข้มแข็งและใกล้ชิดมากขึ้น โดยครอบคลุมสาขาการเกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาบุคลากร การลงทุน การพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง เป็นต้น ซึ่งดิฉันจะขอยกตัวอย่าง 3 โครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับจีนที่สำคัญอย่างยิ่ง ได้แก่

(1) โครงการ ASEAN-China Business Portal ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ ของความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน ข้อมูลผู้ประกอบการในสาขาต่างๆ รวมถึงกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ภายใต้ความตกลงฯ และในอนาคตจะพัฒนาไปสู่การค้าในลักษณะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ต่อไป ซึ่งจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะสนับสนุนการขยายตัวทางด้านการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียน-จีนเพิ่มมากขึ้น (ซึ่งผู้ประกอบการที่สนใจอาจเข้าไปดูรายละเอียดของเว็บไซต์ได้ที่ http://b2b.asean-cn.org)

(2) โครงการ ASEAN-CHINA SME Conference ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 8-9 มิถุนายน 2554 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้ผู้ประกอบการ และนักลงทุนจากอาเซียนและจีน เกี่ยวกับข้อมูลและปัจจัยที่มีความสำคัญในการประกอบธุรกิจนำเข้า-ส่งออก รวมถึงกฎ ระเบียบ พิธีการศุลกากรระหว่างประเทศอาเซียนและจีนด้วย นอกจากนั้น ยังเป็นเวทีสำคัญที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ ภาคเอกชนในอาเซียนและจีนมีได้มีโอกาสพบปะ แลกเปลี่ยนทัศนะต่อกัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างกันด้วย

(3) โครงการ ASEAN – China Workshop on Operational Procedure under the ASEAN-China FTA ซึ่งเป็นโครงการที่ไทยเสนอ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรอาเซียนต่อการทำงานด้านกฎระเบียบทางด้านพิธีการศุลกากรของจีน ซึ่งปัจจุบันประสบปัญหาในด้านความเข้าใจที่ไม่ตรงกันระหว่างศุลกากรอาเซียนและจีน โดยคาดว่าจะจัดขึ้นในช่วงเดือนตุลาคม 2554 นี้

ความตกลงอาเซียน-จีน ที่ดำเนินมากว่า 6 ปีแล้วนั้น ได้มีการพัฒนาความตกลงให้มีความทันสมัย รองรับความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของภาคธุรกิจมากยิ่งขึ้น โดยล่าสุด อาเซียนได้ลงนามพิธีสารเพื่อแก้ไขความตกลงฉบับที่ 2 เพื่อปรับปรุงกฎระเบียบว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า ซึ่งจะทำให้การซื้อขายผ่านนายหน้าในประเทศที่สาม และการผ่องถ่ายสินค้าในประเทศหนึ่งก่อนไปถึงประเทศปลายทางสามารถทำได้และได้รับสิทธิภายใต้ความตกลงฯ

1 2 3 4
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040