วันที่ 3-15 มีนาคมนี้ ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจกับการประชุมสภาปรึกษาการเมืองประชาชนจีนชุดที่ 11 ครั้งที่ 5 และการประชุมสภาที่ปรึกษาการเมืองแห่งชาติจีนชุดที่ 11 ครั้งที่ 5 เช่นเดียวกัน โดยวาระการประชุมใช้ระยะเวลาเกือบสิบวัน
ทางซีอาร์ไอจึงจัดรายการพิเศษส่องสองสภาจีนเพื่อติดตามรายงานผลการดำเนินนโยบายในปี 2011 การประชุมของทั้งสองสภาและการวางแผนการดำเนินนโยบายในปีถัดไป โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1-16 มีนาคม ผู้อ่านสามารถติดตามรับฟังได้จากสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเครือข่ายพันธมิตรระดับภูมิภาคของไทย แต่หากพลาดการรับฟังก็สามารถฟังย้อนหลังได้ที่ https://thai.cri.cn/221/2012/02/28/Zt242s195271.htm
รูป a
เมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา เป็นวันเปิดประชุมอย่างเป็นทางการของสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนหรือเอ็นพีซี(NPC- National People's Congress) โดยมีนายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีจีนได้กล่าวรายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาลในปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นในด้านเศรษฐกิจ สังคมและประเด็นการเมืองต่าง เช่น การปราบปรามคอรัปชั่น การรักษาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ทั้งนี้ประเด็นนโนบายต่างประเทศจีนยังเป็นประเด็นที่ทั้งชาวจีนและชาวต่างชาติได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษด้วย ไม่ว่าทิศทางการดำเนินนโยบายต่างประเทศจีนจะเดินไปทางใดนั้น แน่นอนย่อมมีผลต่อประเทศในอาเซียน เอเชียจนไปถึงระดับโลกเลยก็ว่าได้
สำหรับรายการส่องสองสภาจีนประจำวันที่ 6 มีนาคมนี้ ทางรายการได้เชิญแขกรับเชิญพิเศษเข้ามานั่งพูดคุยและแสดงความคิดเห็นในการประชุมสองสภา เน้นประเด็นที่นโยบายต่างประเทศของจีน บุคคลนี้ยังเป็นคนรุ่นใหม่ไทยที่สนใจเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการต่างประเทศจีนมาตั้งแต่สมัยเรียนระดับปริญญาตรีที่เมืองไทย เรามารู้จักและฟังความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ไทยเกี่ยวกับการประชุมสองสภาจีนกันเลยค่ะ
นายพงศ์พิสุทธิ์ วงศ์วีรสิน อายุ 25 ปี นักศึกษาทุนรัฐบาลจีน ระดับปริญญาโท สาขาการต่างประเทศจีน คณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง
ทำไมถึงสนใจด้านการต่างประเทศจีน และมีอะไรเป็นแรงจูงใจให้ศึกษาต่อด้านนี้โดยตรง
- ก่อนหน้านี้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ(เน้นด้านจีนและเอเชียตะวันออก) คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แรงจูงใจคือมองว่า ในศตวรรษที่ 21 อาจจะเรียกได้ว่า โลกไม่ได้มีเพียงฝั่งตะวันตกเพียงฝั่งเดียว อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา หรือทางฝั่งยุโรปที่มีอังกฤษหรือฝรั่งเศษเป็นผู้นำของโลกแต่เพียงกลุ่มเดียว แต่ทว่าอำนาจของโลกตะวันออกภายใต้การนำของจีนเป็นที่น่าจับตามองมากๆ โดยเฉพาะการก้าวกระโดดขึ้นเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของจีน ส่งผลให้ที่นั่งในระดับการเมืองระหว่างประเทศของจีนได้รับการพัฒนาและโดดเด่นมากขึ้น
นโยบายการต่างประเทศจีนของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 12 (2011-2015) การดำเนินงานของทั้สองสภามีการร่าง วางแผนหรือดำเนินแนวทางสอดรับกันอย่างไรบ้าง
- สภาแรกคือ สภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนหรือ NPC และสภาที่สองคือ สภาที่ปรึกษาการเมืองแห่งชาติหรือ CPPCC ทั้งสองสภามีคณะกรรมการที่ดำเนินการเรื่องการต่างประเทศ แต่มีลักษณที่แตกต่างกันคือ ในสภาแรกหรือ NPC นั้นจะเน้นด้านการบริหารและออกกฏหมาย ส่วนสภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนนั้นก็มีคณะกรรมาธิการเฉพาะด้านการต่างประเทศเหมือนกัน แต่ในปัจจุบันที่เน้นอยู่คือ นโยบายด้านการทูตสาธารณะ ให้คำปรึกษาและการทำวิจัยด้านอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับฝ่ายบริหาร ส่วนสภานี้มีเอกลักษณ์ของจีนก็ว่าได้
ทางด้านสื่อมวลชนต่างประเทศให้ความสนใจกระประชุมสองสภาจีนเพราะจีนมีเอกลักษณ์พิเศษ อยากทราบว่า เอกลักษณ์พิเศษอย่างไรบ้าง
- เป็นที่ทราบกันดีว่า จีนเป็นระบอบสังคมนิยม เพราะฉะนั้นความหลากหลายทางด้านศาสนา ชาติพันธุ์และพรรคการเมืองต่างๆ อาจจะไม่ได้เข้าไปอยู่ในรัฐสภาแต่จะมารวมกันอยู่ที่สภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนเพื่อที่จะให้มีความครอบคลุมทุกด้าน ถึงแม้จีนจะเป็นสังคมนิยมแต่ไม่ได้หมายความว่าจีนละทิ้งในด้านอื่นๆ เช่น จีนก็มีพรรคประชาธิปไตย ซึ่งหลายท่านอาจจะยังไม่ทราบหรือจีนก็ยังมีพรรคการเมืองที่ไม่ได้มีแนวคิดแบบสังคมนิยมด้วยเช่นกัน แต่ก็สามารถเข้าไปอยู่ในสภานี้ได้ ถือเป็นลักษณะพิเศษถึงแม้จะนำโดยระบบสังคมนิยมซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของจีน แต่ก็มีความเป็นสากลอยู่ด้วย และมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน ทุกแวดวงอาชีพ
หากจะเปรียบสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนเหมือนการทำงานเชิงกลไก และทางสภาที่ปรึกษาฯนั้นเหมือนฝ่ายวางยุทธศาสตร์ สามารถเทียงเคียบเช่นนั้นได้ไหม
- ใช่ครับ เป็นส่วนหนึ่ง ในสภาที่ปรึกษาฯ นี้จะมีนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ที่มีทั้ง
คุณวุฒิที่สามารถให้คำปรึกษาแก่รัฐบาลหรือสภาได้
โปรดติดตามบทสัมภาษณ์รายการพิเศษส่องสองสภาจีน "ส่องนโยบายการต่างประเทศจีน ผ่านมุมมองคนรุ่นใหม่ไทย (ตอนจบ)" ในวันพฤหัสบดีหน้า (15 มีนาคม)
สุชารัตน์ สถาพรอานนท์